“สะท้อนความจริง – ตั้งคำถามเชิงลึก – แบ่งปันร่วมกัน”
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
ตลอดห้วงเวลา 10 ปีที่สังคมไทยรับรู้เเละถกเถียงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงปรากฎการณ์กำเเพงกันคลื่นที่ระบาดอย่างรุนเเรงจนหลายพื้นที่กลายเป็นกระเเสทางสังคมที่ถูกพูดถึง จวบจนการเรียกร้องให้กำเเพงกันคลื่นกลับมาทำเป็นโครงการที่ต้องทำ EIA จนสำเร็จ Beach for life ชวนคุณอภิศักดิ์ ทัศนี มาสนทนาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เเละ สิ่งที่ซ้อนอยู่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็ง
จากชายหาด 8 กิโลเมตรของปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กลายเป็นกำเเพงกันคลื่นไป 5 กิโลเมตรเเล้ว เหลือเพียงชายหาดเเค่ 3 กิโลเมตรสุดท้าย เเละที่นี่การปกป้องชายหาดผืนสุดท้ายได้เริ่มต้นขึ้น "For The Last Beach"
ชายหาดคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งหลากหลายชนิด นับตั้งเเต่ปี 2547 เป็นต้นมา เเละ สภาพชายหาดคลองวาฬปัจจุบันไม่เหลือความเป็นชายหาด เต็มไปด้วยเขื่อนต่างๆ ชายหากลายเป็นโคลน ส่งผลกระทบต่อชุมชนเเละการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
การเดินทางไปเกาะสุกร เพื่อดูชายหาดเเตงโม ก่อนที่จะสิ้นชื่อชายหาดเเตงโม เพราะการมาถึงของกำเเพงกันคลื่น ที่จะทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นเเค่ไร่เเตงโม
กำเเพงกันดินเเละทางเท้าบนเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พังเสียหายรุนเเรงหลังมรสุมซัดฝั่งภายในคืนเดียว Beach for life ชวนทำความเข้าใจพฤติกรรมของคลื่นที่ส่งผลต่อชายหาดหลังจากมีกำเเพงกันคลื่น จากบทเรียนที่เกิดขึ้นบนเกาะพีพี
มกราคมของทุกปี เป็นช่วงที่ความกดอากาศสูงกำลังแรงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานครมีอากาศหนาวเย็น และเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ทะเลในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยแปรปรวนและคลื่นลมแรง ซึ่งนับเป็นธรรมชาติของชายหาดและฤดูกาลของทะเลในแถบนี้ ช่วงเวลานี้ อ่าวประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ พื้นที่ที่ถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับ “คลื่นคลั่ง” หรือ “คลื่นยักษ์” ซึ่งมีความสูงมากถึง 4-5 เมตร ที่ปะทะชายฝั่งและกระโจนข้ามถนนตลอดแนวอ่าวประจวบฯ เกิดอะไรขึ้นทำไมคลื่นจึงคลั่ง ชวนไขคำตอบไปด้วยกัน