คลองวัดเล เป็นพื้นที่ปากคลองที่ไหลลงสู่ทะเล บริเวณชายหาดแม่น้ำเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณปากคลองวัดเลนั้นมีโครงสร้างปากคลองที่ตั้งฉากกับชายฝั่งทั้งสองด้าน มีความยาวประมาณ 10 เมตร ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวนั้นดำเนินการโดยเอกชน เพื่อดักตะกอนไว้เเละเพื่อการระบายน้ำลงสู่ทะเล
การสร้างโครงสร้างปากคลองวัดเล ส่งผลกระทบทำให้ตะกอนทรายที่เคลื่อนตัวตามเเนวชายฝั่งนั้นไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ตามปกติ ทำให้บางฤดูพื้นที่ชายฝั่งด้านหนึ่งเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง
ผลกระทบของโครงสร้างปากคลองวัดเล ทำให้สมดุลตะกอนทรายของหาดเเม่น้ำเปลี่ยนเเปลงไป ภาคประชาชนในเกาะสมุยจึงเริ่มพูดคุย เเละหาทางออกร่วมกันจนได้ข้อยุติให้รื้อถอนโครงสร้างปากคลองทั้งสองฝั่งออกเพื่อคืนสมดุลชายฝั่ง
ภาคประชาชนในพื้นที่เกาะสมุย ได้มีหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรม สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง เจ้าท่า เเละปลัดอำเภอเกาะสมุย ได้ลงพื้นที่รวจสอบข้อเท็จจริงเเละพบว่า การก่อสร้างโครงสร้างปากคลองวัดเล หรือ ที่เรียกว่า Jetty ปากคลองวัดเล ขัดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทรายชายฝั่ง ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหนึ่งเเละทำให้ตะกอนทรายในหาดเเม่น้ำมีสมดุลเปลี่ยนเเปลงไป
ผลจากการลงพื้นที่เเละการพูดคุยร่วมกัน จึงมีความเห็นให้รื้อถอนโครงสร้างดังกล่าวออกไป เเละให้สำนักบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเเละชายฝั่งร่วมกับชุมชนติดตามผลกระทบหลังจากการรื้อถอนโครงสร้างออกไป
Beach for life ได้เก็บภาพเปรียบเทียบก่อนเเละหลังการรื้อ พบว่า ช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ก่อนการรื้อถอน โครงสร้างปากคลองได้ขัดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทำให้มีทรายสะสมด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้นเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
ภายหลังการรื้อถอน พบว่า 6 เดือนผ่านมา (สิงหาคม 2567) ชายหาดกลับมาคืนสภาพมีทรายสะสมทั้งสองฝั่ง
Beach for life ได้ลงพื้นที่พูดคุยกับ คุณพะโยม บุญทัน ประชาชนเกาะสมุย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ริเริ่มติดตามผลกระทบของโครงสร้างปากคลองวัดเล เเละผลักดันให้เกิดการรื้อถอนโครงสร้างปากคลองวัดเล พบว่า "หลังจากการรื้อโครงสร้างออกไปนั้น ตะกอนทรายที่เคยสะสมด้านหนึ่งจำนวนมากได้ไหลคืนสู่ชายหาดอีกฝั่ง ทำให้ชายหาดฝั่งที่เคยมีการกัดเซาะชายฝั่งนั้นมีทรายกลับมาหน้าหาดจำนวนมาก ผู้ประกอบการเเละประชาชนในพื้นที่ต่างยินดีกับผลหลังจากการรื้อถอนโครงสร้างออกไป" คุณพะโยม กล่าว
"โครงสร้าง Jetty ทั้งหมดยังคงมีส่วนที่เป็นฐานรากที่ฝั่งอยู่ ซึ่งไม่สามารถรื้อถอนออกไปได้ทั้งหมด เนื่องจากมีท่อใยเเก้วอยู่บริเวณฐานรากของ Jetty ซึ่งหากใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ทำการรื้อถอนอาจส่งผลกระทบต่อท่อใยเเก้วได้ เเต่อย่างไรก็ตาม ถึงเเม้จะรื้อถอนโครงสร้างออกไปทั้งหมดเเต่ 80 % ของโครงสร้างถูกรื้อถอนออกไปทำให้ตะกอนทรายไหลได้ทั้งสองฝั่ง ไม่ถูกกีดกั้นโดยโครงสร้างตัวนี้" คุณพะโยม กล่าวเพิ่มเติม
การรื้อถอนโครงสร้างปากคลองวัดเล ถือเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าในการคืนสมดุลตะกอนทรายชายฝั่งให้กับหาดทราย โดยการรื้อถอนโครงสร้างที่ไม่จำเป็นเเละส่งผลกระทบต่อชายหาด
หลังจากนี้คงต้องช่วยกันติดตามการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งบริเวณนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการนำมาตรการรื้อถอนโครงสร้างลักษณะนี้ไปใช้กับชายหาดอื่นๆต่อไป
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 16 มิถุนายน 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
จากชายหาด 8 กิโลเมตรของปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กลายเป็นกำเเพงกันคลื่นไป 5 กิโลเมตรเเล้ว เหลือเพียงชายหาดเเค่ 3 กิโลเมตรสุดท้าย เเละที่นี่การปกป้องชายหาดผืนสุดท้ายได้เริ่มต้นขึ้น "For The Last Beach"
7 พฤศจิกายน 2555 เป็นวันที่คุณพีระ ตันติเศรษณี อดีตนายกเทศมนตรีนครสงขลาถูกลอบสังหารกลางเมืองสงขลา ก่อนการจากไปของคุณพีระ ได้ทิ้งเรื่องราว คุณูปการต่อเมืองสงขลา ผ่านสิ่งที่เรียกว่า "สงขลานิเวศนคร" ผ่านมา 12 ปีที่จากไป ชวนรำลึกถึงพีระ ตันติเศรษณีร่วมกัน