ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา
เมื่อ 10 ปีที่เเล้ว การเติมทราย เป็นมาตรการที่ไม่ถูกนำมาใช้ในการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย ด้วยการอ้างเหตุผลต่างๆของรัฐในการนำมาตรการนี้มาใช้ ทั้งๆที่ต่างประเทศนิยมใช้มาตรการเติมทรายอย่างเเพร่หลาย
อย่างที่ได้เคยอธิบายแล้วว่า มาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้น เป็นมาตรการป้องกันชายฝั่งแบบอ่อน ซึ่งการเติมทรายถือเป็นมาตรการเดียวในบรรดามาตรการป้องกันชายฝั่งทั้งหมดที่เพิ่มมวลทรายให้กับชายหาด ทำให้ชายหาดถูกฟื้นฟูกลับมา และมาตรการเติมทรายนั้นมักใช้กับชายหาดที่มีการใช้ประโยชน์สูงหรือมีมูลค่าของชายหาดสูง เพราะเป็นมาตรการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลได้อย่างดี ในต่างประเทศหาดไวกิกิ ในฮาวาย หาดไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ก็ใช้การเติมทรายชายฝั่งเป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะส่งผลกระทบในด้านลบน้อยกว่าการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง เช่น กำแพงกันคลื่น เขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง หรือรอดักทราย เป็นต้น
ในประเทศไทยเรามีการนำการเติมทรายมาใช้กับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และฟื้นฟูชายหาด โดยมีพื้นที่ที่ดำเนินการเติมทรายดังนี้
ทั้ง 4 โครงการที่กล่าวมา คือ เป็นโครงการเติมทรายที่มีการของบประมาณและดำเนินการไปแล้วในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย และยังมีโครงการศึกษา ออกแบบการเติมทรายในพื้นที่ชายฝั่งต่างๆของประเทศไทยอีกอย่างน้อย 4 โครงการที่น่าจับตามองอย่างใกล้ชิด
ทั้งหมดเป็นการเติมทรายชายฝั่งที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังดำเนินการ รวมถึงมีการศึกษาไว้เพื่อดำเนินการในอนาคต จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา การเติมทรายนับเป็นมาตรการที่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อการป้องกันชายฝั่งมากขึ้น และด้วยมาตรการเติมทรายเป็นมาตรการที่มีผลกระทบต่อชายฝั่งน้อยกว่าโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอื่นๆ หากดำเนินการถูกต้องตามหลักวิชาการ และยังสามารถฟื้นฟูชายหาดให้กลับมาเป็นหาดทรายได้ แต่อย่างไรก็ตามการเติมทรายในพื้นที่ต่างๆก็ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
ภาคใต้กำลังจะถูกยึด SEC กฎหมายยึดภาคใต้ จริงหรือ ? การเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ SEC จะนำไปสู่กการเเย่งยึดทรัพยากรในภาคใต้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจริงหรือ ? Beach for life สรุปให้อ่านกัน
Beach for life เคยได้นำเสนอเรื่องราว “กำแพงกันคลื่นบนชายหาดแตงโม” บนเกาะสุกร จังหวัดตรังไปแล้วครั้งหนึ่ง เรื่องราวของชายหาดที่ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง แต่กรมโยธาธิการและผังเมืองกลับไปสร้างกำแพงกันคลื่นจำนวน 3 ระยะ ความยาวรวม 1,703 เมตร มูลค่าโครงการกว่า 135.17 ล้านบาท การเกิดขึ้นของกำแพงกันคลื่นทั้ง 3 ระยะ ทำให้เจ้าของที่ดินริมชายหาด ซึ่งปัจจุบันคือไร่แตงโมริมชายหาดที่มีชื่อเสียงของเกาะสุกร ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องชายหาดผืนนั้นจากกำแพงกันคลื่น
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว