กรมชลประทาน ได้ดำเนินการได้มีโครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา งบประมาณ ปี 2562- 2565 โครงการดังกล่าวมีการขุดขยายคลองเพื่อการระบายน้ำบริเวณชายหาดซึ่งมีการเปิดหน้าดิน และก่อสร้างกล่องกระชุหิน โดยวางเรียงยื่นตั้งฉากกับแนวชายฝั่งที่น้ำทะเลท่วมถึง รูปแบบคล้ายโครงสร้างรอดักทรายหรือเขื่อนกันทรายและคลื่นบังคับกระแสน้ำ
การดำเนินการของกรมชลประทาน Beach for life มีข้อห่วงกังวลว่า โครงการดังกล่าวนั้น อาจส่งผลกระทบต่อสภาพชายหาดอย่างรุนแรง และ อาจเป็นโครงการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีข้อห่วงกังวล 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
พื้นที่ชายหาดปากคลองหนัง ฝั่งทะเลอ่าวไทย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี 2562-2564 มีสภาพเป็นหาดทรายมีสถานภาพสมดุล คือ ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง การมีโครงการดังกล่าวนั้นอาจทำให้เกิดการกัดเซาะและการเปลี่ยนแปลงสมดุลชายฝั่งทะเลได้
โครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา งบประมาณ ปี 2562- 2565 โครงการดังกล่าวมีการขุดขยายคลองเพื่อการระบายน้ำบริเวณชายหาดซึ่งมีการเปิดหน้าดิน และก่อสร้างกล่องกระชุหิน โดยวางเรียงยื่นตั้งฉากกับแนวชายฝั่งที่น้ำทะเลท่วมถึง ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวนั้น มีลักษณะ คล้าย รอดักทราย หรือ คันบังคับกระแสน้ำ ซึ่งทำให้ขัดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทรายชายฝั่งที่ไปหล่อเลี้ยงชายหาด จนทำให้สมดุลชายหาดนั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยด้านหนึ่งจะเกิดการทับถมด้านทิศใต้ และ เกิดการกัดเซาะชายฝั่งด้านท้ายน้ำอย่างรุนแรง(ทิศเหนือ) และเป็นเหตุให้เกิดการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อเนื่องได้ในอนาคต
เนื่องจากโครงการดังกล่าว มีลักษณะคล้ายรอบังคับกระแสน้ำ หรือ รอดักทราย ซึ่งเป็นโครงการหรือกิจการที่เข้าข่ายโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ก่อนการดำเนินโครงการ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่โครงการดังกล่าวนั้นไม่มีการดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โครงการดังกล่าวจึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ
แน่นอนว่า ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จไปแล้ว และทำให้เกิดความเสียหายต่อชายหาดแล้ว รวมถึงอาจทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้นี้ ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่ากรมชลประทานจะทำให้ชายหาดสงขลาอีกแห่งพังต่อหน้าต่อตาหรือไม่ ?
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
กำแพงกันคลื่นหาดท่าบอน จังหวัดสงขลา โดยกรมเจ้าท่า ความยาวกว่า 5 กิโลเมตร กลายเป็นมรดกบาปที่หน่วยงานรัฐทิ้งไว้ให้กับชุมชน เเละผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งที่ทำให้พื้นที่ด้านหลังกำเเพงกันคลื่นพังเสียหาย บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่น
สำนักงบประมาณได้เผยแพร่พระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2567 เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา Beach for life ได้รวบรวมข้อมูลงบประมาณโครงการป้องกันชายฝั่ง ปี 2567 จาก 4 หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
เปิดข้อเท็จจริงใหม่ที่ทำให้การอ้างสิทธิ์บนชายหาดปากบารา จังหวัดสตูลของเอกชนรายหนึ่งนั้นอาจทำไม่ได้ เเละกรมที่ดินไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินได้ ข้อเท็จจริงใหม่นั้นคืออะไร ชวนหาคำตอบกับ Beach for life