มาตรการการรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง เป็นมาตรการที่คนรักทะเลและชายหาดหลายคนอยากเห็นให้เกิดขึ้นจริง กรณีการรื้อถอนรอดักทรายบริเวณชายหาดหน้าพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 3 ตัว จากทั้งหมด 8 ตัวและโครงสร้างป้องกันชายฝั่งรูปแบบอื่นๆ ถือเป็นการรื้อถอนโครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งที่แรกของไทย ด้วยความพยามที่จะฟื้นฟูระบบนิเวศชายหาดให้กลับคืนมา
ชายหาดบริเวณหน้าพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตั้งแต่คลองบังตราใหญ่ ถึง คลองบังตราน้อย มีความยาวชายฝั่ง 1.7 กิโลเมตร โดยตลอดแนวชายหาดเต็มไปด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่ง เช่น รอดักทราย จำนวน 8 ตัว เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง จำนวน 6 ตัว กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงและกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง นับว่า เป็นพื้นที่ชายฝั่งเล็กๆแต่เต็มไปด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่ง ซึ่งถูกออกแบบและก่อสร้างโดยกรมเจ้าท่า
การก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมต่างๆนานาตลอดแนวชายฝั่งพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ ทำให้ลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ศาลาลงสรงซึ่งสัมผัสน้ำ กลับถูกป้องกันด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งไม่มีโอกาสได้เจอน้ำอีกเลย พันธุ์ไม้พื้นถิ่นหายไป ความสัมพันธ์ระหว่างชายฝั่งและทะเลนั้นเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ความพยามในการฟื้นฟูชายหาดให้กลับมาสู่สภาพเดิมโดยการรื้อถอนโครงสร้างชายฝั่งทะเลและการอนุรักษ์พันธุ์พืชชายฝั่งและระบบนิเวศดั้งเดิมของพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ คือความพยามในการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งของประเทศไทย
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 คณะกรรมการนโยบายและแผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบแนวทางในการฟื้นฟูระบบนิเวศชานฝั่งในพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ ให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ โดยการรื้อถอนรอดักทราย จำนวน 3 ตัว คือ ตัวที่ 3 ตัวที่ 4 และ ตัวที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ ร่วมกับการใช้มาตรการเสริมอื่นๆที่จำเป็น
มติที่ประชุมดังกล่าว ทำให้กรมเจ้าท่า ในฐานะเจ้าของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ได้ดำเนินการไป ได้ตั้งของบประมาณ สำหรับการรื้อถอนรอดักทรายจำนวน 3 ตัว ในปีงบประมาณ 2565 และได้ดำเนินการรื้อถอนรอดักทรายอยู่ในปัจจุบัน
ความพยามในการฟื้นฟูชายหาดและระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ด้วยมาตรการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีความจำเป็น หรือ ไม่เหมาะสมต่อชายหาดของพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ นับเป็นก้าวย่างสำคัญในการฟื้นฟูชายหาดของประเทศไทย เพราะตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี สังคมไทยคุ้นเคยกับการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและเอาชนะธรรมชาติ จนเกิดความเสียหายต่อชายหาดในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย บทเรียนของการฟื้นฟูชายหาดพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ จึงเป็นสิ่งที่สังคมไทยจะต้องร่วมกันเรียนรู้และติดตามร่วมกัน
ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ ร่วมกันได้ผ่าน www.beachwacththailand.net หรือ ท่านใดผ่านไปเที่ยวพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการติดตามชายหาด โดยการทำ Beach Snap เพื่อเก็บข้อมูลภาพถ่ายการเปลี่ยนแปลงชายหาดร่วมกัน
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 15 พฤษภาคม 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
จากชายหาด 8 กิโลเมตรของปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กลายเป็นกำเเพงกันคลื่นไป 5 กิโลเมตรเเล้ว เหลือเพียงชายหาดเเค่ 3 กิโลเมตรสุดท้าย เเละที่นี่การปกป้องชายหาดผืนสุดท้ายได้เริ่มต้นขึ้น "For The Last Beach"
หลายคนอาจสับสนระหว่างคำว่า “เขื่อนกันคลื่น” กับ “กำแพงกันคลื่น” ในทางวิชาการ “เขื่อนกันคลื่นหรือ Breakwater” กับ “กำแพงกันคลื่นหรือ Seawall” นั้น เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งคนละประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ และการออกแบบการก่อสร้างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Beach for life ชวนไปรู้จักเขื่อนกันคลื่นด้วยกัน
กรมชลประทาน ได้ดำเนินการได้มีโครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา งบประมาณ โครงการดังกล่าวมีการขุดขยายคลองเพื่อการระบายน้ำบริเวณชายหาดซึ่งมีการเปิดหน้าดิน และก่อสร้างกล่องกระชุหิน โดยวางเรียงยื่นตั้งฉากกับแนวชายฝั่งที่น้ำทะเลท่วมถึง การดำเนินโครงการดังกล่าวทำให้มีข้อห่วงกังวลว่าอาจทำให้ชายหาดเปลี่ยนไปอย่างถาวร เเละ โครงการดังกล่าวนั้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย