วิเคราะห์-ข้อสังเกตโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดมหาราช จ.สงขลา

Picture of Beach

โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการนี้ ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง  ลักษณะของโครงการ “ก่อสร้างกำแพงกันคลื่น แบบขั้นบันได พร้อมการปรุงภูมิทัศน์ด้านหลังกำแพงกันคลื่น ” วัตถุประสงค์โครงการ คือ เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง และปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช

image-4.webp

การดำเนินโครงการดังกล่าว กรมโยธาธิการฯ ได้แบ่งโครงการดังกล่าวออกเป็น 3 เฟสโครงการ

  • การดำเนินโครงการดังกล่าว กรมโยธาธิการฯ ได้แบ่งโครงการดังกล่าวออกเป็น 3 เฟสโครงการ
  • เฟสที่ 2 ระยะทาง 1,102  เมตร (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
  • เฟสที่ 3 ระยะทาง 555 เมตร (ลงนามในสัญญาจ้างแล้วเตรียมดำเนินการ)
image.webp

โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยกรมโยธาธิการฯ โครงการดังกล่าวนั้นมีข้อสังเกตหลายประการที่สะท้อนให้เห็นความผิดปกติ และความไม่สมเหตุสมผลในการดำเนินโครงการดังกล่าว เช่น ความไม่จำเป็นในการดำเนินโครงการ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชายหาดอย่างรุนแรง หรือ ข้อท้วงติงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อโครงการดังกล่าว เป็นต้น ข้อสังเกตในประเด็นต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้เขียนจะอธิบายขยายความให้เห็นละเอียดชัดเจนขึ้น เพื่อสรุปว่าโครงการดังกล่าว มีความผิดปกติและไม่สมเหตุสมผลตามประเด็นต่างๆ ดังนี้

ประการที่ 1 ความไม่จำเป็นในการดำเนินโครงการ

เครือข่ายประชาชนรักษ์หาดสทิงพระ ได้ยื่นหนังสือให้ตรวจสอบการดำเนินการโครงการ และตรวจสอบพื้นที่ชายหาดมหาราช ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ตอบหนังสือและยืนว่า “ชายฝั่ง” ในพื้นที่ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในช่วง 3-5 ปี ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง ชายหาดมีสภาพสมดุล แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างในช่วงมรสุม และกลับเข้าสู่สมกุลในช่วงหลังมรสุม

image-3.webp

ข้อมูลแสดงการกัดเซาะชายฝั่งจากรายงานเอกสารสรุปโครงการฯ ของกรมโยธาธิการฯ จัดทำโดย บริษัท แมโครคอนซัลแตนท์ จำกัด ระบุว่า พบการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่โครงการ อยู่ในช่วง 0.59 – 2.68 เมตรต่อปี เมื่อเทียบกับเกณฑ์การกัดเซาะชายฝั่ง ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นั้นพบว่า อยู่ในระดับการกัดเซาะปานกลาง มีมาตรการเขียว ขาว เทา ซึ่งให้ใช้มาตรการหลักคือการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง และเมื่อพิจารณาอัตราการกัดเซาะชายฝั่งตลอดแนวชายหาดมหาราช จะพบว่า การกัดเซาะชายฝั่งสูงสุด 2.68 เมตร ในระยะที่ 2+100 – 2+200 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การกัดเซาะชายฝั่งที่เป็นการกัดเซาะในระดับสูงไม่ได้ได้เกิดขึ้นทุกๆตำแหน่งของชายหาด

image-5.webp

บริเวณชายหาดมหาราช มีถนนขนานกับชายหาด ซึ่งถนนนั้น ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของทะเล คลื่นสามารถเข้ามาถึงถนนในบางฤดูกาล ภาพถ่ายที่กรมโยธาธิการฯ กล่าวอ้างว่ามีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงจนเป็นเหตุให้ต้องดำเนินการสร้างกำแพงกันคลื่น เป็นการกัดเซาะชายฝั่งในปี 2557 ซึ่งเกิดขึ้นปีเดียว และหลังจากนั้นหากก็ไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาถึงถนน ภาพที่กรมโยธาธิการนำเสนอนั้น หากพิจารณาแล้วจะพบว่ามีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ทำไมมีร่องรอยกัดเซาะเพียงบริเวณจุดเดียว บริเวณปากท่อระบายน้ำ ในตำแหน่งอื่นๆไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง ชายหาดยังพบหญ้าริมชายหาดปกคลุมพื้นที่อยู่ ซึ่งการกัดเซาะบริเวณปากท่อระบายน้ำเช่นนี้ ชาวบ้านมักเรียกกันว่า วะแตก หรือปากระวะแตก คือ ปรากฎการณ์ที่น้ำแผ่นดินในช่วงฤดูฝนไหลลงสู่ชายหาด ทำให้เกิดทางระบายน้ำขนาดใหญ่ การที่มีถนนกั้นน้ำไว้ และมีท่อขนาดเล็กทำให้บริเวณปากท่อระบายน้ำได้รับความเสียหายจากแรงดันของน้ำจากแผ่นดินที่พยายามไหลลงสู่ชายหาดและทะเล ปัญหาเช่นนี้สามารถแก้ไขได้โดยการซ่อมถนนที่ได้รับความเสียหาย และสร้างหูช้างเพื่อทำให้ปากท่องระบายน้ำความแข็งแรงมากขึ้นก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องสร้างกำแพงกันคลื่น

ข้อสังเกตการกัดเซาะชายฝั่งที่กรมโยธาธิการ นำมากล่าวอ้างนั้น เกิดจากน้ำเเผ่นดินที่ไหลลงสู่ชายหาด ไม่ได้เกิดจากคลื่นทะเลimage-7.webpimage-8.webp

การสำรวจพื้นที่โครงการในระยะที่ 3 ความยาว 555 เมตรนั้น ยิ่งชี้ชัดให้เห็นว่าชายหาดบริเวณหาดมหาราชนั้นมีเสถียรภาพ ไม่พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง โดยจะสังเกตได้จากชายหาดมีแนวหญ้า ผักบุ้งทะเล ต้นรัก ที่ขึ้นอยู่บนชายหาดซึ่งสะท้อนความมีเสถียรภาพของชายหาดได้เป็นอย่างดี

image-10.webpimage-12.webp

การสำรวจพื้นที่โครงการในระยะที่ 3 ความยาว 555 เมตรนั้น ยิ่งชี้ชัดให้เห็นว่าชายหาดบริเวณหาดมหาราชนั้นมีเสถียรภาพ ไม่พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง โดยจะสังเกตได้จากชายหาดมีแนวหญ้า ผักบุ้งทะเล ต้นรัก ที่ขึ้นอยู่บนชายหาดซึ่งสะท้อนความมีเสถียรภาพของชายหาดได้เป็นอย่างดี

การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมหาดมหาราช ไม่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เเละเป็นการเอาภาษีประชาชนมาใช้เกินความจำเป็น

ประการที่ 2 โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งนี้ในทางวิศวกรรม คือ การก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได  การก่อสร้างในลักษณะนี้หลายพื้นที่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงในทางด้านท้ายน้ำของโครงการ และหาดทรายด้านหน้ากำแพงกันคลื่นหายไป ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต การใช้ประโยชน์หาดทรายที่ประชาชนเคยได้ใช้ประโยชน์

การดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมหาดมหาราชนั้น เมื่อพิจารณาโครงสร้างแล้วจะพบว่าเป็นโครงสร้างกำแพงกันคลื่น ที่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของคลื่น โดยสังเกตได้จากลูกศรสีแดง ชี้ระดับน้ำสูงสุดในสภาวะปกติ ระดับน้ำทะเลจะอยู่บริเวณตีนเขื่อนพอดี นั้นหมายความว่า โครงสร้างดังกล่าวจะล่วงล้ำลงไปทะเล เมื่อโครงสร้างอยู่ในเขตอิทธิพลของทะเลย่อมทำให้คลื่นที่วิ่งเข้ามาปะทะโครงสร้างเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป โดยจะก่อให้เกิดการกระชากทรายหน้ากำแพงออกนอกชายฝั่ง และเกิดผลกระทบด้านท้ายน้ำหรือด้านเหนือของโครงการทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่องไป ดังภาพ

image-13.webpimage-14.webp

การก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย และในหลายพื้นที่นั้นกำแพงกันคลื่นได้สร้างผลกระทบต่อชายหาดในลักษณะของการสูญเสียพื้นที่ชายหาดด้านหน้ากำแพงกันคลื่นไปอย่างถาวร รวมถึงการสร้างผลกระทบด้านท้ายน้ำของกำแพงกันคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่องไปทางด้านเหนือ จนเป็นเหตุให้ต้องก่อสร้างกำแพงกันคลื่นต่อไปเรื่อยๆ ดังตัวอย่าง ชายหาดหาดทรายแก้ว อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา หาดปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หาดพระแอะ จังหวัดกระบี่ เป็นต้น

Author

authorPhoto

Beach For Life

แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด

บทความวันที่ 4 พฤษภาคม 2567

แบ่งปันสิ่งนี้

โพสต์ที่แนะนำ

blog thumbnail
15 กรกฎาคม 2567

หลายคนอาจสับสนระหว่างคำว่า “เขื่อนกันคลื่น” กับ “กำแพงกันคลื่น” ในทางวิชาการ “เขื่อนกันคลื่นหรือ Breakwater” กับ “กำแพงกันคลื่นหรือ Seawall” นั้น เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งคนละประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ และการออกแบบการก่อสร้างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Beach for life ชวนไปรู้จักเขื่อนกันคลื่นด้วยกัน

อ่านเพิ่มเติม...
blog thumbnail
30 กรกฎาคม 2567

การเดินทางไปเกาะสุกร เพื่อดูชายหาดเเตงโม ก่อนที่จะสิ้นชื่อชายหาดเเตงโม เพราะการมาถึงของกำเเพงกันคลื่น ที่จะทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นเเค่ไร่เเตงโม

อ่านเพิ่มเติม...
blog thumbnail
4 พฤษภาคม 2567

โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการนี้ ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง

อ่านเพิ่มเติม...