หลายคนคงเคยไปตามปากเเม่น้ำในฝั่งอ่าวไทยเเละเห็นโครงสร้างที่ยื่นออกไปตั้งฉากกับเเนวชายฝั่งคู่กัน โครงสร้างนั้นคือ "เขื่อนกันทรายเเละคลื่น" หรือที่เรียกว่า Jetty
เขื่อนกันทรายและคลื่น(Jetty) เป็นโครงการป้องกันปากร่องน้ำ มีหน้าที่ในการป้องกันปากร่องน้ำไม่ให้มีตะกอนทรายมาทับถม เป็นโครงสร้างที่ล็อคปากร่องน้ำไม่ให้เกิดการเปลี่ยนเเปลง เพื่อการเดินเรือเข้าออกปากร่องน้ำได้โดยสะดวก
ในอดีตนั้นปากร่องน้ำมักเปลี่ยนเเปลงไปตามกระบวนการชายฝั่ง เเละตะกอนที่มาทับถมบริเวณปากร่องน้ำ เเละปากร่องน้ำเปลี่ยนเเปลงไปมา ทำให้การเข้าออกบริเวณปากร่องน้ำนั้นเป็นไปด้วยความลำบาก กรมเจ้าท่าจึงได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นบริเวณปากร่องน้ำขึ้นเพื่อการเดินเรือ
ภายหลังจากการมีนโยบายในการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่น โดยกรมเจ้าท่าเป็นหน่วยงานหลักนั้น ทำให้ประเทศไทยมีเขื่อนกันทรายและคลื่นจำนวน 65 ตัวตลอดเเนวชายฝั่งในประเทศไทย โดยเขื่อนกันทรายเเละคลื่นทั้งหมด เกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยทั้งสิ้น
สำหรับฝั่งอันดามันนั้น มีความพยามในการศึกษาการสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นบริเวณปากร่องน้ำบ้านน้ำเค็ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมเเละผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อม
เขื่อนกันทรายเเละคลื่น หรือ Jetty นั้น เป็นโครงสร้างชายฝั่งทะเล ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการชายฝั่งเเละการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งมากที่สุด มีรายงานในประเทศไทยพบว่า การก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำทำให้ตะกอนทรายชายฝั่งเสียสมดุล เป็นต้นเหตุสำคัญในการกัดการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบัน เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นนั้นทำให้ตะกอนทรายชายฝั่งที่พัดพาตามเเนวชายฝั่งนั้นถูกดักไว้สะสมตัวบริเวณด้านหนึ่งของเขื่อนกันทรายเเละคลื่นทำให้ไม่สามารถไหลไปหล่อเลี้ยงชายฝั่งอีกด้านได้ จนเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง
กรณีการเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า ภายหลังจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นเเล้วเสร็จในปี 2510 เขื่อกันทรายเเละคลื่นได้ทำหน้าที่ดักตะกอนทรายไว้ ส่งผลให้ทำให้เเผ่นดินบริเวณแหลมสนอ่อน อำเภอเมืองสงขลา เกิดการงอกสะสมอย่างต่อเนื่อง ภายในระยะเวลาตั้งเเต่ปี พ.ศ 2510 - 255 พบพื้นที่งอกจาการสะสมกว่า 497.42 ไร่
กรณีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำสะกอม จังหวัดสงขลา พบว่า ภายหลังจากก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำสะกอม ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง จนทำให้เกิดชายหาดที่มีความชันเป็นหน้าผาสูงกว่า 4 เมตรตลอดเเนวชายฝั่งตั้งเเต่บ้านบ่อโซน บ้านโคกสัก จนถึงลานหอยเสียบ รวมระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร ในขณะที่พื้นที่ด้านทิศตะวันออกของเขื่อนกันทรายเเละคลื่น(หาดสะกอม อำเภอเทพา) เกิดการงอกสะสมตัวอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นผลจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำสะกอม ทำให้ประชาชนในพื้นที่นำคดีไปฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ในปี 2551 เนื่องจากการดำเนินโครงการดังกล่าวทำให้ชายหาดเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง เเละส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
เขื่อนกันทรายเเละคลื่น เป็นโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่ง ระบบนิเวศเเละชุมชน จึงทำให้โครงการดังกล่าวนั้นถูกกำหนดให้เป็นโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA) ก่อนการดำเนินโครงการ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม
การศึกษาการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นในหลายพื้นที่นั้น กำหนดให้มีการบรรเทาผลกระทบจากการดำเนินโครงการก่อสร้างโดยการถ่ายเททรายข้ามฝั่งในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อรักษาสมดุลตะกอนทรายชายฝั่ง เเละลดผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงหากไม่มีการถ่ายเทรายในระยะยาวอาจส่งผลให้ตะกอนที่งอกสะสมในอีกฝั่งตกลงสู่ปากร่องน้ำได้
รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อม กรณีก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นห้วยยาง อำเภอทับสะเเก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กำหนดให้ภายหลังการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่น กรมเจ้าท่าต้องดำเนินการถ่ายเทรายข้ามปากร่องน้ำ เพื่อลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
เเต่อย่างไรก่อตามการก่อสร้างเขื่อนกันทรายทั้ง 65 ตัวทั่วชายฝั่งในประเทศไทย กลุ่ม Beach for life พบว่ามีโครงการถ่ายเททรายเกิดขึ้นในปี 2558 เเละมีเพียงปีละ 2-3 พื้นที่เท่านั้น เมื่อเทียบกับการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นที่เกิดขึ้น 65 เเห่ง ถือว่ามาตรการบรรเทาผลกระทบด้วยการถ่ายเททรายเป็นมาตรการที่ไม่สามารถดำเนินการให้เกิดขึ้นจริงได้ตามรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อมที่กำหนด ทำให้ชายฝั่งในประเทศไทยเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลจากเขื่อนกันทรายเเละคลื่น
สำรวจโครงสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นทั่วประเทศไทยได้ที่ https://beachforlife.org/situation?jetty=true
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 19 พฤษภาคม 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
หาดวอนนภา จังหวัดชลบุรี กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงรูปลักษณ์ชายหาดที่เปลี่ยนไปกลายเป็นกำแพงกันคลื่น Beach for life ชวนย้อนตั้งคำถามเเละเปิดข้อมูลเชิงลึกโครงการกำแพงกันคลื่นหาดวอนภาไปด้วยกัน
จากชายหาด 8 กิโลเมตรของปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กลายเป็นกำเเพงกันคลื่นไป 5 กิโลเมตรเเล้ว เหลือเพียงชายหาดเเค่ 3 กิโลเมตรสุดท้าย เเละที่นี่การปกป้องชายหาดผืนสุดท้ายได้เริ่มต้นขึ้น "For The Last Beach"
โครงการท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ท่าเรือขนาดใหญ่ที่มีการถมทะเล ทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงของชายฝั่งตลอดเเนวชายหาดสุชาดา หาดเเสงจันทร์ ถึงหาดปากน้ำระยอง ชวนสำรวจผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นจากท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด