สรุปประเด็น "เขื่อนกันน้ำเซาะคลองหนัง" ที่อาจผิดกฎหมาย เเละ ทำลายชายหาดสทิงพระ

Picture of Beach

กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกันน้ำเซาะบริเวณปากคลองระบายน้ำคลองหนัง ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มูลค่า 10,000,000 บาท เพื่อป้องกันคลื่นกัดเซาะพนังกันตลิ่งริมคลอง โดยโครงสร้างเขื่อนกันน้ำเซาะนั้น มีลักษณะเป็นกล่องกระชุหินวางตั้งฉากกับชายหาด ยื่นทับชายหาด 30 เมตร จำนวน 2 ตัว โครงการดังกล่าวนี้ดำเนินการภายใต้งบประมาณประจำปี 2567

DJI_0552 (1).JPG

Beach for life จะขอสรุปประเด็นเพื่อชวนทำความเข้าใจว่าทำไม่โครงการดังกล่าวของกรมชลประทาน อาจเป็นโครงการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ส่งผลกระทบต่อชายหาดอย่างรุนแรง

ชายหาดปากคลองหนัง เป็นหาดสมดุล

การก่อสร้างเขื่อนกันน้ำเซาะของกรมชลประทานที่ยื่นตั้งฉากกับชายหาดบริเวณปากคลองหนังนั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ชายหาดที่มีสถานภาพสมดุล ตามรายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ความหมายคือ ชายหาดบริเวณดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งหากมีโครงการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นอาจทำให้ชายหาดบริเวณนี้เสียสมดุลไป

ชายหาดด้านเหนือจะกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง

โครงการดังกล่าวเป็นการสร้างโครงสร้างตั้งฉากกับชายหาดยื่นทับชายหาด 30 เมตร ซึ่งเป็นการขัดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทรายที่เคลื่อนตัวตามแนวชายฝั่ง และ ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งด้านท้ายน้ำ หรือ End Effect

เขื่อนกันน้ำเซาะ ต้องทำ EIA

โครงสร้างเขื่อนกันน้ำเซาะนั้น เข้าข่ายโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ก่อนการดำเนินการ แต่กลับพบว่าโครงการดังกล่าวนั้นไม่มีการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนดำเนินการ

ออกใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป้นการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ จึงต้องมีการขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำก่อนการดำเนินการ และก่อนการขออนุญาตจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายที่กำหนด เช่น การทำ EIA แต่เมื่อกลับพบว่าโครงการดังกล่าวไม่ทำ EIA ก่อนการดำเนินการ การให้อนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์

การก่อสร้างโครงการดังกล่าวดำเนินการไปเพื่อป้องกันพนังกันตลิ่งไม่ให้เกิดความเสียหาย แต่ภายหลังการก่อสร้างได้เพียงสองเดือนกลับพบว่า พนังกันตลิ่งด้านหนึ่งทรุดตัว พังเสียหาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า โครงสร้างเขื่อนกันน้ำเซาะไม่ได้ช่วยทำให้พนักกันตลิ่งไม่พังทลายไป

โครงสร้างอาจไม่ได้มาตรฐาน

การก่อสร้างพนังกันตลิ่ง และ เขื่อนกันน้ำเซาะคลองหนัง ผ่านไปเพียง 2 เดือนกลับพบว่า พังเสียหาย ส่วนหัวของเขื่อนกันน้ำเซาะถูกคลื่นซัดจนทรุดตัว และพนังกันตลิ่งก็พังทรุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนั้น อาจไม่ได้มาตรฐานการก่อสร้างตามหลักวิชาการ

DJI_0557.JPG

นี่คือประเด็นสำคัญของโครงการก่อสร้าง “เขื่อนกันน้ำเซาะ” ของกรมชลประทานที่ส่อแวว “ผิดกฎหมาย” และ “ทำลายชายหาด” หลังจากนี้ต้องติดตามต่อไปว่ากรมชลประทานจะดำเนินการอย่างไรกับโครงสร้างดังกล่าว หรือจะปล่อยให้โครงสร้างนี้ทำลายชายหาดสทิงพระต่อไปเรื่อยๆ

บทความวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567

แบ่งปันสิ่งนี้

โพสต์ที่แนะนำ

blog thumbnail
17 กรกฎาคม 2567

ชายหาดจอมเทียนกลับมากว้างอีกครั้ง ท่ามกลางคำถามว่าการเติมทรายชายหาดจอมเทียนเเบบนี้จะได้ผลหรือไม่ Beach for life ชวนไปรู้จักโครงการเติมทรายชายหาดจอมเทียนร่วมกัน

อ่านเพิ่มเติม...
blog thumbnail
15 มิถุนายน 2567

เปิดข้อเท็จจริงใหม่ที่ทำให้การอ้างสิทธิ์บนชายหาดปากบารา จังหวัดสตูลของเอกชนรายหนึ่งนั้นอาจทำไม่ได้ เเละกรมที่ดินไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินได้ ข้อเท็จจริงใหม่นั้นคืออะไร ชวนหาคำตอบกับ Beach for life

อ่านเพิ่มเติม...
blog thumbnail
29 กรกฎาคม 2567

มกราคมของทุกปี เป็นช่วงที่ความกดอากาศสูงกำลังแรงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานครมีอากาศหนาวเย็น และเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ทะเลในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยแปรปรวนและคลื่นลมแรง ซึ่งนับเป็นธรรมชาติของชายหาดและฤดูกาลของทะเลในแถบนี้ ช่วงเวลานี้ อ่าวประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ พื้นที่ที่ถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับ “คลื่นคลั่ง” หรือ “คลื่นยักษ์” ซึ่งมีความสูงมากถึง 4-5 เมตร ที่ปะทะชายฝั่งและกระโจนข้ามถนนตลอดแนวอ่าวประจวบฯ เกิดอะไรขึ้นทำไมคลื่นจึงคลั่ง ชวนไขคำตอบไปด้วยกัน

อ่านเพิ่มเติม...