ตลอดห้วงเวลา 10 ปีที่สังคมไทยรับรู้เเละถกเถียงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงปรากฎการณ์กำเเพงกันคลื่นที่ระบาดอย่างรุนเเรงจนหลายพื้นที่กลายเป็นกระเเสทางสังคมที่ถูกพูดถึง จวบจนการเรียกร้องให้กำเเพงกันคลื่นกลับมาทำเป็นโครงการที่ต้องทำ EIA จนสำเร็จ Beach for life ชวนคุณอภิศักดิ์ ทัศนี มาสนทนาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เเละ สิ่งที่ซ้อนอยู่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็ง
ปรากฎการณ์กำเเพงกันคลื่นระบาด เป็นผลพวงโดยตรงจากการที่ สำนักงานนโยายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม เพิกถอนกำเเพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม ในปี 2556 ทำให้หลังจากนั้นกำเเพงกันคลื่นระบาดทั่วชายหาดในประเทศไทย ซึ่งการเพิกถอนกำเเพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA ในครั้งนั้น คือ การเปิดช่องว่างทางกฎหมายครั้งสำคัญที่ทำให้การสร้างกำเเพงกันคลื่นทำลายชายหาดเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายโดยมีไม่มีกฎหมายควบคุม
ข้อมูลกลุ่ม Beach for life ได้รวบรวมจากเว็บไซต์การจัดซื้อจัดจ้างของกรมเจ้าท่า และกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งเป็น สองหน่วยงานหลักที่ดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นบริเวณชายฝั่งทะเล ภายหลังจากการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA นั้น ในปี 2558-2566 พบว่า มีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นจำนวน 125 โครงการ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นรวม 8,487,071,100 บาท ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เมื่อเทียบกับงบประมาณในการป้องกันชายฝั่งก่อนการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจาก EIA พบว่า มีการใช้ประมาณเพียง 1,992,679,000 ล้านบาท
ข้อมูลการใช้งบประมาณในปี 2554 – 2565 พบว่า ภายหลังจากการที่โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น กรมโยธาธิการได้ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากปี 2556 ซึ่งใช้งบประมาณในการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น 163,930,000 บาท ปี 2562 ใช้งบประมาณ 774,640,000 บาท และปี 2564 ใช้งบประมาณ 1,261,720,000 บาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นการใช้งบประมาณที่สูงขึ้นเรื่อยอย่างก้าวกระโดด และเห็นได้ว่าการใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้นนั้นย่อมสะท้อนว่าการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้ลดลงแต่อย่างไร และสะท้อนปรากฎการณ์การระบาดของกำแพงกันคลื่นบนชายหาดจากตัวเลขงบประมาณที่นำมาใช้เพื่อการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นได้อย่างชัดเจน
ระหว่าง สนทนา คุณอภิศักดิ์ ได้กล่าวว่า “เราต้องไม่มองเเค่ปรากฎการณ์ กำเเพงกันคลื่นระบาดบนชายหาดต่างๆ ชาวบ้านประท้วงมากขึ้น หรือ การกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มขึ้น เพราะเหล่านั้นคือปรากฎการณ์ที่อยู่บนยอดภูเขาน้ำเเข็ง เเต่ด้านล่างภายใต้ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ เเละสิ่งเหล่านั้นทำงานอยู่ตลอดเวลา”
เวลาเราเห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ในมุมทางสังคมวิทยาหรือการเคลื่อนไหว เราจะมองให้ลึกลงไปด้านล่างปรากฎการณ์เพื่อทำความเข้าใจให้ถ่องเเท้ อะไรคือเเรงผลักทำให้เกิดปราการณ์ที่เรามองเห็น โดยทฤษฎีภูเขาน้ำเเข็ง ซึ่งมี สองส่วน ส่วนด้านบนที่เรามองเห็นในเชิงปรากฎการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นที่เราเห็นได้ด้วยตา เเละมีส่วนที่สองคือสิ่งที่อยู่ใต้ ลึกลงไปเป็นชั้นของเเรงผลักดันที่ก่อเกิดปรากฎการณ์นั้นๆ ซึ่งมันซ่อนอยู่ มองไม่เห็นเเต่เป็นส่วนที่ทำงานเเละผลักดันให้เกิดปรากฎการณ์ ในกรณีกำเเพงกันคลื่น การประท้วงของชุมชนคัดค้านกำเเพงกันคลื่น เเละการกัดเซาะชายฝั่ง ทั้งสามส่วนนี้รวมๆกันเป็นระดับชั้นของปรากฎการณ์ที่เรามองเห็นอย่างชัดเจน ในส่วนด้านล่างที่มองไม่เห็นอันนี้ต้องอาศัยการวิเคราะห์ เเละค่อยเเกะออกมาดู เพื่อเข้าใจปรากฎการณ์มากขึ้น หากลองประมวลดูในระดับล่างใต้ภูเขาน้ำเเข็งที่ทำงานอยู่ในปรากฎการณ์ “กำเเพงกันคลื่นระบาด” มีประเด็นสำคัญๆดังนี้
ทั้งสี่ประเด็นโดยความเข้าใจเเล้ว คือ ส่วนที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำเเข็ง เป็นส่วนที่เรามองไม่เห็นเเต่ผลักดัน ให้ปรากฎการณ์มันเกิดขึ้น เป็นรากฐานของปัญหาเชิงโครงสร้าง นโยบาย และกฎหมายที่อยู่ด้านใต้ภูเขาน้ำแข็ง เป็นส่วนสำคัญที่ซ้อนเร้นอยู่ทำให้ปรากฎการณ์นั้นปรากฏชัดเจน หากเราไม่พิจารณาเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่หรือเป็นแรงผลักให้เกิดปราฎการณ์เราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างทะลุทะลวงปัญหา
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการนี้ ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง