ก่อนที่จะเริ่มต้นวิจารณ์โครงการก่อสร้างที่หาดวอนนภา Beach for life อยากชวนทุกคนลงลึกไปกับโครงการนี้ว่าคืออะไร โครงการที่กำลังเป็นกระแสวิจารณ์อยู่ออนไลน์ในช่วงก่อนหน้านี้ คือ “โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะชายหาดบางแสนล่าง เทศบาลเมืองแสนสุข” ความยาว 730 เมตร งบประมาณ 98,236,000 บาท ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยเป็นการก่อสร้างด้วยการวางหินแกรนิตสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นขั้นบันได 4 ชั้น ยืนลงไปในทะเล 3 เมตร เซื่อมต่อกันด้วยปูน หน้ากำแพงกันตลิ่งเดิม และการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหลังโครงสร้าง ซึ่งบประมาณเฉลี่ยต่อกิโลเมตรอยู่ที่ เฉลี่ยกิโลเมตรละ 134,569,863 บาท
การก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะหาดบางแสนล่าง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ทำให้เกิดคำถามสำคัญหลายประการ ดังนี้
เมื่อพิจารณาตามแบบแปลนโครงการแล้ว พบว่าโครงสร้างภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะหาดบางแสนล่าง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ด้วยรูปแบบการวางหินแกรนิตตัดรูปสี่เหลี่ยมเป็นขั้นบันไดต่อเนื่องกัน ผสานด้วยปูนเพื่อเชื่อมต่อ มีความยาว 3 เมตรจากแนวกำแพงกันดินเดิมนั้น คือ โครงสร้างกำแพงกันคลื่น เพราะวางตัวอยู่บนชายหาดอย่างชัดเจน ดังนั้นแล้วโครงการนี้ แต่ในเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง รวมถึงชื่อโครงการนั้น ไม่ระบุถึงโครงสร้างกำแพงกันคลื่นเลย จึงทำให้มีข้อสังเกตว่านี่คือการเลี่ยงบาลีหรือไม่ ?
หาดวอนนภา มีการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นจริงและตลอดแนวชายหาดในพื้นที่โครงการนั้นมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอยู่เดิม แต่ด้วยลักษณะชายหาดวอนนภา ซึ่งเป็นชายหาดท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดชลบุรี อยู่ติดต่อเนื่องกับชายหาดบางแสน ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ชายหาดท่องเที่ยวที่มีการสร้างกำแพงกันคลื่นนั้น ถูกพิสูจน์แล้วว่ากำแพงกันคลื่นไม่เหมาะกับชายหาดท่องเที่ยว เพราะทำให้เกิดตะไคร่น้ำลื่น เข้าใช้พื้นที่ชายหาดไม่ได้ เกิดการกระโจนของคลื่นเข้ามาทำให้เกิดความเสียหายด้านหลังกำแพงกันคลื่น ทั้งหมดนี่ คือ ผลกระทบที่ทำให้กำแพงกันคลื่นไม่เหมาะสมกับชายหาดท่องเที่ยว
เมื่อหน้าตา โครงสร้างที่หาดวอนนภา คือกำแพงกันคลื่น แต่ไม่ออกแบบตามแบบฉบับตามหลักวิชาการว่าด้วยการออกแบบกำแพงกันคลื่นที่ต้องรับแรงคลื่น ป้องกันการกระเซ็นของคลื่น และต้องมีความมั่นคงแข็งแรง โครงสร้างหาดวอนนภา ที่เลี่ยงบาลีนี่จะอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่ หรือเกิดความเสียหายก่อน เราไม่ได้อยากให้มีกำแพงกันคลื่น แต่ถ้าจำเป็นจะต้องทำกำแพงกันคลื่น กำแพงกันคลื่นนั้นจะต้องถูกศึกษาออกแบบอย่างรอบครอบ ไม่สร้างผลกระทบต่อเนื่อง และป้องกันชายฝั่งได้ แต่เมื่อไม่ถูกศึกษาออกแบบเพราะเลี่ยงบาลี จะมั่นใจอย่างไรว่า กำแพงกันคลื่นนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ ?
ไม่ว่าอย่างไร การก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะหาดบางแสนล่าง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เกิดขึ้นแล้ว คงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่า โครงการนี้จะเปลี่ยนภูมิทัศน์ของหาดวอนนภา และส่งผลกระทบต่อชายหาดวอนนภาหรือไม่ ?
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการนี้ ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง