จำเป็น เร่งด่วน ท้องถิ่นร้องขอมา
วลีที่กรมโยธาธิการเเละผังเมือง กล่าวอ้างตลอดในช่วงที่ผ่านมา เพื่อผลักดันโครงการกำเเพงกันคลื่นในพื้นที่ริมชายหาดต่างๆ ท่ามกลางการเปิดช่องว่างทางกฎหมายให้ โครงการกำเเพงกันคลื่นไม่ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA)
เเต่เเล้วสิ่งที่กล่าวอ้างในวันนั้นสะท้อนความล้มเหลว เเละข้ออ้าง "จำเป็น เร่งด่วน ท้องถิ่นร้องขอมา" ที่ฟังไม่ขึ้นอีกต่อไป เมื่อ 2 โครงการกำเเพงกันคลื่นจังหวัดระยอง ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง ถูกทิ้งร้าง สร้างไม่เสร็จ เสาเข็มคาบนชายหาดมาตั้งเเต่ปี 2565
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายหาดหนองเเฟบเเละหาดสนกระซิบ ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ความยาว 890 เมตร มูลค่าโครงการ 59,375,000 บาท สัญญาจ้างเลขที่ 43/2565 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 เริ่มสัญญา 30 พฤศจิกายน 2564 สิ้นสุดสัญญา 30 ตุลาคม 2566
ปัจจุบัน ทางผู้รับจ้างได้ก่อสร้างบางส่วนไป เเละ ดำเนินการตอกเสาเข็มไว้บนชายหาดตั้งเเต่ปี 2565 เเละทิ้งงานไป ทางกรมโยธาธิการเเละผังเมืองได้มีหนังสือติดตามโครงการไปยังผู้รับจ้าง เเต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีความคืบหน้าเเต่อย่างใด
อีกทั้งสภาพชายหาดยังเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวเเละประชาชน เนื่องจากมีเสาข็ม เหล็กเเหลม เเละเศษวัสดุก่อสร้างกระจายเต็มชายหาด
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งทะเล หมู่ที่ 3 หาดดวงตะวัน ตำบลเเกลง จังหวัดระยอง ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ความยาว ความยาว 820 เมตร มูลค่าโครงการ 77,760,000 บาทสัญญาจ้างเลขที่ 42/2565 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 เริ่มสัญญา 30 พฤศจิกายน 2564 สิ้นสุดสัญญา 30 ตุลาคม 2566
ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ มีเพียงป้ายโครงการที่ติดไว้สภาพหลุดพังเสียหาย
ที่ผ่านมาโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการเเละผังเมือง อาศัยช่องว่างที่ "กำเเพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA" ในการผลักดันโครงการ โดยอ้างความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันชายฝั่ง เเละ การร้องขอโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากท้องถิ่น
เเต่ในหลายพื้นที่กลับพบว่า ชายหาดไม่ได้กัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง หรือ บางพื้นที่เป็นการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราว มาตรการกำเเพงกันคลื่นจึงไม่เหมาะต่อการป้องกันชายฝั่ง
เเต่ด้วยข้ออ้างของกรมโยธาธิการเเละผังเมือง ที่อ้างความเดือดร้อนของประชาชน อ้างท้องถิ่น จำเป็นต้องป้องกันเเก้ไขปัญหาทันที จึงเกิดโครงการกำเเพงกันคลื่นมากมาย
เเละหลายโครงการกลายเป็นโครงการพิพาทที่ประชาชนฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองด้วยเหตุผลที่ว่าชายหาดไม่ได้กัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง มาตรการกำเเพงกันคลื่นที่กรมโยธาธิการเเละผังเมืองนำมาใช้ในการป้องกันชายฝั่งเป็นมาตรการที่เกินจำเป็น กระทบต่อสิ่งเเวดล้อมเเละชายหาด
เเละวันนี้ เราได้เห็น 2 โครงการมูลค่ารวมกว่า 130 ล้านบาท ถูกทิ้งร้าง สร้างไม่เสร็จ เสาเข็มคาอยู่บนชายหาด ทั้งที่หมดสัญญาก่อสร้างมาเเล้ว 2 ปี
คำถามถึงความจำเป็นเร่งด่วน ชาวบ้านเดือดร้อนต้องป้องกันที่กรมโยธาธิการเเละผังเมือง ยกมาอ้างต่อสาธารณะ เเละขอรับงบประมาณจำนวนมหาศาลตอนนี้คำกล่าวอ้างเหล่านั้นหายไปไหน นี่คือ สิ่งที่ต้องตั้งคำถามกับกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
รวมถึงหน่วยอนุมติงบประมาณตั้งเเต่ สำนักงบประมาณ สมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร หรือเเม้เเต่องค์กรอิสระที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณว่า หลังจากนี้จะปล่อยให้กรมโยธาธิการเเละผังเมือง อ้างความเร่งด่วนเเละความเดือดร้อนประชาชนไปสร้างกำเเพงกันคลื่นเเล้วทิ้งค้าง สร้างไม่เสร็จเเบบนี้อีกต่อไปหรือไม่
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 15 เมษายน 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 พึ่งผ่านสภาผู้เเทนราษฎรไปในวาระที่หนึ่งเมื่อวานนี้ Beach for life ชวนไปส่องไปสำรวจงบประมาณเเผ่นดินที่กำลังจะถูกจัดสรรไปยังหน่วยงานในปีงบประมาณ 2568 จะหลายเป็นงบถล่มชายหาดหรือไม่ ชวนติดตาม
โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ที่มีหน้าตาคล้ายๆกับรากโกงกาง ปรากฏหลายพื้นที่ของชายหาด เช่น หาดเเสงจันทร์ หาดสามร้อยยอด ซึ่งเป็นการทอดลองป้องกันชายฝั่งด้วยนวัตกรรมใหม่ Beach for life ชวนทำความรู้จักสิ่งนี้เเละข้อสังเกตในการป้องกันชายฝั่ง
ภาพเสาเข็มที่ถูกตอกคาบนชายหาดสนกระซิบ เเละ ป้ายชื่อโครงการหาดดวงตะวันที่หลุดพัง คือ หลังฐานว่าสองโครงการกำเเพงกันคลื่นเมืองระยอง ถูกทิ้ง สร้างไม่เสร็จ Beach for life ชวนสำรวจข้ออ้างของกรมโยธาธิการเเละผังเมือง ในการอ้างเผือผลักดันกำเเพงกันคลื่น