หลายคนอาจสับสนระหว่างคำว่า “เขื่อนกันคลื่น” กับ “กำแพงกันคลื่น” ในทางวิชาการ “เขื่อนกันคลื่นหรือ Breakwater” กับ “กำแพงกันคลื่นหรือ Seawall” นั้น เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งคนละประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ และการออกแบบการก่อสร้างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Beach for life ชวนไปรู้จักเขื่อนกันคลื่นด้วยกัน
เขื่อนกันคลื่น หรือ Break water เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นก่อนเข้าปะทะชายฝั่ง เขื่อนกันคลื่นโดยทั่วไปจะวางตัวนอกฝั่ง ขนานกับชายฝั่ง มีการออกแบบให้มีมุมของแนวเขื่อนกันคลื่น ที่สอดคล้องกับทิศางของคลื่น และทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนด้านหลังเขื่อนกันคลื่น โดยเขื่อนกันคลื่นนั้นมีทั้งแบบโผล่พ้นน้ำ และ จมอยู่ใต้น้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสลายพลังงานของคลื่นก่อนเข้าสู่ชายฝั่ง
เขื่อนกันคลื่นนั้นมีหน้าที่ป้องกันชายฝั่งก็จริง แต่ก็มีผลกระทบต่อชายหาด ทำให้ชายหาดเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะของหาดเสี้ยวพระจันทร์ เพราะการเลี้ยวเบนของคลื่น และกระบวนการชายฝั่งบริเวณนั้นที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ชายหาดผิดไปจากธรรมชาติ และอาจเกิดอันตรายสำหรับการเล่นน้ำบริเวณใกล้โครงสร้าง และเกิดการกัดเซาะชายฝั่งระหว่างโครงสร้างและจุดสิ้นสุดโครงสร้างอย่างรุนแรง
สำหรับประเทศไทย Beach for life ได้รวบรวมจำนวนของเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งที่โผล่พ้นน้ำ พบว่า มีจำนวน 467 ตัว ตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (สำรวจเขื่อนกันคลื่นได้ที่ลิงค์ https://beachforlife.org/situation?breakwater=true) และพบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเขื่อนกันคลื่นมากที่สุด 233 ตัว ชายหาดที่มีการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง เช่น หาดแสงจันทร์ จังหวัดระยอง หรือ หาดเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา เป็นต้น
สำรวจเขื่อนกันคลื่นในประเทศไทยได้ที่ https://beachforlife.org/situation?breakwater=true
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการนี้ ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง