ท่ามกลางห้วงเวลาที่มีการอภิปรายพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่กำลังอยู่ในสภาผู้เเทนราษฎรนั้น Beach for life ชวนคลี่เเละส่องงบประมาณเพื่อการป้องกันชายฝั่งในร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 งบกำเเพงกันคลื่นเยอะเเค่ไหนในปีงบประมาณนี้ ?
จากการรวบรวมงบประมาณโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ในร่างงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2567 พบว่าจาก 4 หน่วยงานหลัก คือ กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง กรมโยธาธิการเเละผังเมือง กรมเจ้าท่า เเละกลุ่มจังหวัด(ปัตตานี) นั้น มีงบประมาณสำหรับการป้องกันชายฝั่ง ทั้งสิ้น 761,604,500 บาท เพื่อป้องกันชายฝั่ง ในปี 2567
ภายในงบประมาณในการป้องกันชายฝั่ง 761,604,500 บาท ของปี 2567 นั้น กรมโยธาธิการเเละผังเมือง ยังคงเป็นหน่วยงานหลักในการได้รับงบประมาณเพื่อการป้องกันชายฝั่งทั้งงบดำเนินงานเเละศึกษามากที่สุดคิดเป็น 65.91 % รวมงบประมาณ 501,984,000 บาท
รองลงมาคือกรมเจ้าท่า 20.19 % งบประมาณรวม 153,830,000 บาท เเละ กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่กำกับนโยบาย 9.18 % งบประมาณ 70,060,000 บาท และกลุ่มจังหวัด 4.69 % งบประมาณ 35,730,000 บาท
ซึ่งการจัดสรรงบประมาณในลักษณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดสรรงบประมาณที่ยังคงมุ่งเน้น การดำเนินงานป้องกันชายฝั่ง มากกว่าการวางเเผนเเละการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งเเละการกัดเซาะชายฝั่งเชิงระบบ
หากพิจารณา 761,604,500 บาท จาก 4 หน่วยงานนั้น พบว่า “ไม่มีโครงการกำเเพงกันคลื่นที่ตั้งใหม่ ในพื้นที่ใหม่ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567” ภายใต้ร่างงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2567 นั้น พบว่า มีโครงการตั้งใหม่ ของหน่วยงานต่างๆดังนี้
หากพิจารณางบประมาณโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งย้อนหลังตั้งเเต่ปี 2555 ถึงงบประมาณปีปัจจุบันนั้น จะพบว่า ปัจจุบันงบประมาณเริ่มลดลงจากปีที่สูงสุดคือ 2564 ซึ่งมีเเนวโน้มลดลงต่อเนื่อง 3 ปี
อย่างไรก็ตาม การจัดสรรงบประมาณในการป้องกันเเละเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง นั้น Beach for life มีข้อสังเกต 3 ประการ ดังนี้
(1) ในปี 2567 นั้นไม่มีโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นที่ตั้งใหม่ในงบประมาณปี 2567 จากหน่วยงานที่เสนอโครงการเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองโครงการ ซึ่งคณะทำงานกลั่นกรองโครงการมีความเห็นให้ผ่านโครงการ 6 โครงการกำเเพงกันคลื่น(กรมโยธาธิการเเละผังเมือง 4 โครงการ เเละกรมเจ้าท่า 2 โครงการ)
(2) ในงบประมาณเพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ปี 2567 นั้นมีงบประมาณโครงการของพื้นที่ชายหาดมหาราช ระยะที่ 3 ซึ่งศาลปกครองสงขลามีคำสั่งระงับโครงการไปเเล้วอยู่ด้วย ซึ่งเห็นควรว่า กรรมาธิการงบประมาณควรหยิบยกประเด็นนี้เพื่อพิจารณาตัดงบประมาณต่อไป เนื่องจากศาลมีคำสั่งระงับโครงการไปเเล้ว
(3) การตั้งงบประมาณว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาของกรมโยธาธิการเเละผังเมือง 2 โครงการ เเละงบประมาณติดตามการปักไม้เเละการป้องกันชายฝั่งของกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งนั้น ไม่มีรายละเอียดพื้นที่ว่าจะดำเนินการศึกษาที่ไหน เป็นเพียงการตั้งงบประมาณกว้างๆไว้เพียงเท่านั้น
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
ถอดบทเรียนปัญหาสิ่งเเวดล้อมภายใต้การบังคับใช้ พ.ร.บ. EEC ก่อนจะถูกโคลนนิ่งมาเป็น พ.ร.บ. SEC ร่าง พ.ร.บ. SEC ที่ถูกเสนอเข้าไป และคาดว่าร่างของรัฐบาลที่กำลังจะมีมติ ครม. มอบให้ สนข.เป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. SEC Beach for life ชวนถอดบทเรียนดูปัญหาสิ่งแวดล้อมเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย EEC ที่เป็นร่างโคลนนิ่งของ พ.ร.บ. SEC
หลายคนอาจสับสนระหว่างคำว่า “เขื่อนกันคลื่น” กับ “กำแพงกันคลื่น” ในทางวิชาการ “เขื่อนกันคลื่นหรือ Breakwater” กับ “กำแพงกันคลื่นหรือ Seawall” นั้น เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งคนละประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ และการออกแบบการก่อสร้างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Beach for life ชวนไปรู้จักเขื่อนกันคลื่นด้วยกัน
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง