ในทศวรรษ 1950 มีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก Port Canaveral ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา โดยท่าเรือแห่งนี้มีความลึกกว่า 15 เมตร และมีเจ็ทตี้ (Jetty) ซึ่งเป็นเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำที่ยื่นออกไปในทะเล
เป็นที่ทราบกันดีกว่า "เขื่อนกันทรายเเละคลื่น หรือ Jetty" นั้น ทำให้สมดุลตะกอนทรายชายฝั่งเปลี่ยนเเปลงไป จากการก่อสร้าง Jetty ทำให้ปีค.ศ. 1954-1990 ชายหาดทางทิศใต้ของเจ็ทตี้ถูกกัดเซาะลึกเข้าไปในฝั่งมากกว่า 200 เมตร ในขณะที่ชายหาดทางทิศเหนือของเจ็ทตี้กลับมีการทับถมของตะกอนทรายยื่นออกไปในทะเลมากกว่า 300 เมตร ส่งผลให้ต้องมีการขุดลอกตะกอนทรายออกมากกว่า 5.3 ล้านลูกบาศก์เมตร
รัฐฟลอริดา แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเเละตะกอนทรายที่สะสมนี้ ในปี 1992 มีการพัฒนาแผนการจัดการทราย (IMP: Inlet Management Plan) โดย 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กองทัพบกและกองทัพอากาศสหรัฐฯ การท่าเรือ เมืองเบรวาร์ด และรัฐฟลอริดา แผนนี้มุ่งคืนสมดุลของการถ่ายเททราย ฟื้นฟูชายหาดที่ถูกกัดเซาะ และลดการขุดลอก โดยมีองค์ประกอบหลักๆ เช่น การถ่ายเททราย (sand bypassing) การนำทรายที่ขุดลอกไปทิ้งใกล้ชายฝั่ง การปรับปรุงเจ็ทตี้ การสร้างบ่อทราย (deposition basins) และการเติมทราย (beach nourishment)
หลังจากที่รัฐฟลอริดาอนุมัติแผน IMP ในปี 1996 องค์ประกอบทั้ง 24 ส่วนได้ถูกนำมาใช้จนเสร็จสิ้นในปี 2011 และบางส่วนยังคงดำเนินต่อไป การถ่ายเททรายตั้งแต่ปี 1995 จนถึงปัจจุบันเกิดขึ้น 4 ครั้ง โดยได้ถ่ายเททรายจากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ของเจ็ทตี้ รวมทั้งสิ้นเกือบ 2.6 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้การสูญเสียทรายลดลงจากกว่า 250,000 ลูกบาศก์เมตรเหลือน้อยกว่า 15,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
การปรับปรุงกระบวนการขุดลอก การเพิ่มประสิทธิภาพ Jetty และการสร้างกับดักตะกอน (sediment trap) ช่วยลดการกัดเซาะและความถี่ในการขุดลอก ปัจจุบันหาดทรายบริเวณ Port Canaveral ได้รับการคุ้มครองภายใต้โครงการที่รัฐบาลกลางอนุมัติแล้วเป็นเวลา 50 ปี โดยจะมีการร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลาง รัฐฟลอริดา และหน่วยงานท้องถิ่นในการบำรุงรักษาชายหาดอย่างต่อเนื่อง
ผลการจากดำเนินการตามเเผน IMP ทำให้ชายหาดฟื้นฟูกลับมาเเละลดปัญหาการสะสมตัวของตะกอนทรายได้
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 29 มีนาคม 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
การเติมทรายชายหาด Beach Nourishment ใครต่อใครก็บอกว่าเป็นมาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาดมากที่สุดในบรรดาโครงสร้างทางวิศวกรรมป้องกันชายฝั่ง Beach for life ชวนมารู้จักมาตรการเติมทรายไปด้วยกัน
รอดักทราย คืออะไร ? เวลาเห็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในทะเลที่ตั้งฉากกับชายหาดนั้นเรียกว่า รอดักทราย เเล้วผลกระทบเป็นอย่างไร มีที่ไหนบ้าง ชวนอ่านในบทความ
กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างที่เรียกว่า "เขื่อนกันน้ำเซาะ" บริเวณปากคลองหนัง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการดังกล่าวทำให้เกิดข้อสังเกตว่าอาจเป็นโครงการที่ผิดกฎหมาย เเละ อาจทำให้ชายหาดพังทั้งสทิงพระ