ศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก คดีชายหาดชลาทัศน์ ในโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ ที่ดำเนินการโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยที่ สงขลาฟอรั่ม กลุ่ม Beach for life กลุ่ม Law long beach และสหกรณ์ประมงพื้นบ้านชุมชนบาลาเซาะเก้าเส้ง ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสงขลา เมื่อปี 2558 ได้ยื่นฟ้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) กรมเจ้าท่า(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4) และเทศบาลนครสงขลา(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5) ภายหลังศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษา ผู้ฟ้องคดีผู้ถูกฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ศาลปกครองสูงสุด นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก และ ตุลาการผู้แถลงคดี รับฟังข้อเท็จจริงได้ตามตุลาการเจ้าของสำนวนสรุปข้อเท็จจริงในคดี โดยตุลาการผู้เเถลงคดีมีความเห็นต่อคดี ดังนี้ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัย 3 ประเด็นดังนี้ (1) การดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งหาดชลาทัศน์-สมิหลา ของผู้ถูกฟ้อองคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (2) การดำเนินการโครงการของผู้ถูกฟ้องคดีนั้นละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ และ(3) การกระทำละเลยของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการละเมิดหรือไม่
ตุลาการผู้แถลงคดี เห็นว่า ประเด็น “การดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งหาดชลาทัศน์-สมิหลา ของผู้ถูกฟ้อองคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจังหวัดสงขลา เป็นการดำเนินการสร้างโครงสร้างแข็งด้วยการหล่อแท่นคอนกรีตวางตั้งฉากกับชายหาด และเติมทรายกลบทับนั้น เป็นการดำเนินการดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดสมิหลา-ชลาทัศน์และเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่รูปแบบโครงการก่อสร้างโครงสร้างแข็งด้วยการหล่อแท่นคอนกรีต วางตั้งฉากกับชายหาด เพื่อดักทรายไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ออกจากชายหาดชลาทัศน์นั้น ลักษณะการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการก่อสร้าง "รอดักทราย" ซึ่งในขณะที่โครงการดังกล่าวดำเนินการนั้น มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยกิจการโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ก่อนการดำเนินโครงการ ซึ่งระบุให้ รอดักทราย ทุกขนาดต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการขออนุญาตและดำเนินโครงการ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องที่ 1 และผู้ถูกฟ้องที่ 2 ไม่ได้ดำเนินการตามที่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดให้ต้องปฏิบัติ โครงการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ประเด็นต่อมาเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีการปรับแก้สัญญาหลายครั้ง จนเหลือเพียงรูปแบบการเติมทรายกลบทับชายหาดเพียงอย่างเดียว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การเติมทรายนั้นเป็นการถมที่ดินในทะเลหรือไม่ การถมที่ดินในทะเลเป็นการถมที่ดินในเขตทะเลที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ดินที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ การดำเนินการเติมทรายที่ได้มีการปรับแก้ไขสัญญาโครงการของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการนำทรายมาถมบนชายหาดที่ถูกกัดเซาะ เป็นน้ำทะเล เพื่อสร้างที่ดินใหม่ ให้เป็นที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ จึงเป็นเป็นการถมที่ดินในทะเล ซึ่งในระหว่างการดำเนินการประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้การถมที่ดินในทะเลทุกขนาดต้องจัดทำการรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ก่อนขั้นตอนการขออนุญาต แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้มีการดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการดำเนินการจึง ไม่ชอบด้วยกฎมาย
ในประเด็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในโครงการ ดังกล่าว ศาลเห็นว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา อ้างการรับฟังความคิดเห็นในโครงการของกรมเจ้าท่า(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4)ในการจัดรับฟังความคิดเห็นโครงการเติมทราย ซึ่งไม่ส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดรับฟังความคิดเห็นในโครงการดังกล่าว จึงไม่สามารถรับฟังได้ว่าเป็นการรับฟังความคิดเห็นประชาชนในโครงการที่ต้องจัดรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ เป็นการรับฟังความเห็นประชาชนในโครงการของรัฐ เห็นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในโครงการของรัฐนั้น จึงเป็นการดำเนินการที่ผ่าฝืนการปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมาย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การดำเนินการโครงการของผู้ถูกฟ้องคดีนั้นละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ตุลาการผู้แถลงคดีรับฟังว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 6 และที่ 2(กลุ่ม Beach for life) ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องที่ 3 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) ให้มีการระงับการดำเนินโครงการดังกล่าวไว้ก่อนเนื่องจากโครงการดังกล่าวไม่ชอบด้วยและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะและชายฝั่ง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า อธิบดีของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 อ้างเพียงว่ามีความสับสนและข้อเท็จจริงไม่ตรงกัน จึงไม่ดำเนินการระงับโครงการไว้ ตุลากรผู้เเถลงคดีเห็นว่าการตอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 นั้น เป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
สำหรับผู้ถูกฟ้องที่ 4(กรมเจ้าท่า) ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ตามคำสั่งเจ้าท่า เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1(ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา)ได้ดำเนินการขุดลอกเพื่อการเดินเรือ รักษาสภาพลำน้ำ และพิจารณาอนุญาตสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ แต่ไม่ได้มอบให้มีอำนาจดูดทรายในทะเลเองได้ การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ดำเนินการเสมือนว่าตนมีอำนาจ และเป็นดำเนินการดูดทรายในทะเล อีกทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นคู่กรณีเอกงในการดำเนินการโครงการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงต้องของอนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อนการดำเนินการ ไม่สามารถอนุญาตตัวเองได้ จึงต้องขออนุญาตเจ้าท่าตามกฎหมาย
ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า ชายหาดชลาทัศน์และหาดสมิหลา เป็นหาดสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การที่ผู้ฟ้องขอให้ศาลมีคำบังคับฟื้นฟูชายหาด จากหลุมทรายที่ขุดไว้ ซึ่งปัจจุบันสภาพหลุมได้ถูกคลื่นกลบไปตามธรรมชาติและ ถึงแม้โครงการจะเป็นดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายมานานแล้ว และวัตถุแห่งคดีสิ้นสุดไปแล้ว การจะบังคับคดีให้กระทำ หรือละเว้นการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเยียวยาความเสียหาย และปัจจุบันข้อเท็จจริงพบว่ายังคงมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นมรสุมอยู่ ซึ่งถูกผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 มีหน้าที่ในการปกป้อง รักษา ป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตามที่อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่
ตุลาการผู้แถลงคดี เห็นว่า ให้ควรพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่ของตน ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษา คำขออื่นให้ยก
หลังจากนี้ศาลตุลาการจะมีการประชุมเพื่อจัดทำคำพิพากษาปกครองสูงสุดจะมีการนัดฟังคำพิพากษาศาลสูงสุดในคดีนี้ต่อไป
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
เปิดข้อเท็จจริงใหม่ที่ทำให้การอ้างสิทธิ์บนชายหาดปากบารา จังหวัดสตูลของเอกชนรายหนึ่งนั้นอาจทำไม่ได้ เเละกรมที่ดินไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินได้ ข้อเท็จจริงใหม่นั้นคืออะไร ชวนหาคำตอบกับ Beach for life
การก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นใน พอร์ต คานาเวอรัล รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ทำให้ชายหาดเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง เเละเกิดการสะสมตัวของตะกอนทราย ทำให้รัฐฟลอริดา ริเริ่มในการทำเเผนจัดการทรายเพื่อฟื้นฟูชายหาดจากการกัดเซาะชายฝั่ง เเละคงรักษาสมดุลตะกอนทรายชายฝั่ง พวกเขาทำสำเร็จอย่างไร ชวนไปติดตาม
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง