“ภาคใต้จะถูกยึด” หลายคนเริ่มได้ยินประโยคนี้ และมีข้อสงสัยว่า พูดกันเกินไปไหม ภาคใต้จะถูกยึดจริงหรอ ?
Beach for life สรุปสั้นๆเพื่อความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับการเสนอ พ.ร.บ. SEC กฎหมายยึดภาคใต้
ร่าง พ.ร.บ. SEC หรือ ชื่อเต็มคือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ร่าง พ.ร.บ. SEC กำลังถูกเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร โดย คุณอนุทิน ชาญวีรกุล และ คุณสฤษฎ์พงษ์ เกี่ยวข้อง จากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งทั้งสองคนได้เสนอร่างคนละร่างที่มีเนื้อหาเหมือนกัน และ ปัจจุบันผ่านการรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านระบบกฎหมายกลาง และ ประเมินผลกระทบกฎหมายไปแล้ว
หลายคนอาจคุ้นๆ ชื่อ ร่าง พ.ร.บ. SEC เพราะจริงๆแล้ว เนื้อหาภายในร่างทั้งหมดเรียกกว่า “Copy” มาจาก พ.ร.บ. EEC ที่ถูกบังคับใช้ในภาคตะวันออก และ คนภาคตะวันออกที่ถูกกฎหมาย EEC บังคับใช้มาแล้วได้ตั้งสมญานามให้กับกฎหมายฉบับนี้ ว่าเป็น “บิดาแห่งการเร่งรัด ละเว้น และหย่อนยาน” เพราะการออกกฎหมายฉบับนี้ทำให้คณะบุคคลกลุ่มหนึ่งมีอำนาจในการเร่งรัดกระบวนการทางฎหมายที่กำหนด ละเว้นกฎหมายกว่า 10 ฉบับ และ หย่อนยานในการตรวจสอบทำให้ระบบตรวจสอบต่างๆนั้นไร้ประสิทธิภาพ
คราวนี้เรามาทำความรู้จัก ร่าง พ.ร.บ. SEC ที่ Copy มาจาก EEC ซึ่งหากเราจะทำความเข้าใจง่ายๆ แบบรวบรัด สามารถสรุปได้ดังนี้
ร่าง พ.ร.บ. SEC กำหนดพื้นที่จังหวัดในภาคใต้ 4 จังหวัดหลัก ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และจะถูกแบ่งออกเป็น นำร่อง 2 รูปแบบ คือ “พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” และ “พื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ”
ร่าง พ.ร.บ. SEC จะมีคณะกรรมการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนางยกรัฐมนตรีคนที่ 1 เป็นรองประธาน และรัฐมนตรีทุกกระทรวงเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ประธานสามคมธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ และมี สำนักงานคณะกรรมการ SEC เป็นหน่วยเลขานุการของคณะกรรมการนโยบาย
ร่าง พ.ร.บ. SEC ให้อำนาจพิเศษ ในการเปลี่ยนผังเมือง สามารถให้พื้นที่ที่กำหนดเป็นเกษตรกรรม กลายเป็น อุตสาหกรรมได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนทางกฎหมายผังเมือง รวมถึงมีอำนาจในการปรับปรุงกฎหมายทุกฉบับที่ก่อให้เกิดความล่าช้า ซ้ำซ้อน และเป็นอุปสรรคในการลงทุน คณะกรรมการ SEC แก้ไขได้ ตามมาตรา 8
ร่าง พ.ร.บ. SEC ให้อำนาจคณะกรรมการ พ.ร.บ. SEC และ เลขานุการ ในการพิจารณาอนุมติ อนุญาต ให้สิทธิสัมปทาน และ ให้ความเห็นชอบตามกฎหมาย เสนอให้แก้กฎเกณฑ์ เพื่อเอื้อการลงทุน ตามมาตรา 36 และ มาตรา 42 ของร่าง พ.ร.บ. SEC จำนวน 16 ฉบับ ได้แก่
ร่าง พ.ร.บ. SEC ให้สิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุน เกิดกระบวนการกว้านซื้อ และเวนคืนที่ดินของประชาชน โดยหน่วยงานของรัฐ และให้ที่ดินของรัฐ เช่น ที่ราชพัสดุ เพื่อเช่าทำอุตสาหกรรม ภาคใต้จะกลายเป็นแห่งอุตสาหกรรมและที่อยู่ใหม่ของนักลงทุนและแรงงานต่างชาติ ดังที่เขียนไว้ตามกฎหมาย
ยังมีเรื่องอื่นๆอีก เช่น กฎหมายแรงงานต่างด้าว และการเว้นภาษีศุลกากร ภายใต้ ร่าง พ.ร.บ. SEC มีแต่กระบวนการในการเร่งรัด ละเว้น และการก่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบที่หย่อนยาน ไร้ประสิทธิภาพได้ รวมถึงคำถามสำคัญว่า ประชาชนอยู่ตรงไหนในการออกฎหมายฉบับนี้ แค่นี้ก็เพียงพอแล้วว่า “ร่าง พ.ร.บ. SEC” เป็นกฎหมายที่ออกมายึดทรัพยากรในพื้นที่ภาคใต้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการนี้ ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง