สำนักงบประมาณ เผยเเพร่ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 พบว่า มีโครงการจ้างศึกษาป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 30 ล้านของกรมโยธาธิการเเละผังเมือง ที่มีข้อสังเกตว่าอาจเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมาย
ก่อนหน้านี้ระหว่างที่สมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร อภิปรายร่าง พ.ร.บ งบประมาณประจำปี 2568 วาระที่ 2 - 3 นั้น Beach for life ได้โพสข้อสังเกตว่า มีโครงการจ้างศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อมเเละออกเเบบรายละเอียดเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 1 " ในเล่มงบประมาณประจำปี 2568 เล่มที่ 8 หน้า 248 กระทรวงมหาดไทย ซึ่งตั้งงบประมาณตั้งงบ 2568 -2569 ที่อาจไม่ผ่านขั้นตอนที่กำหนดให้หน่วยงานดำเนินการก่อนการขอรับงบประมาณประจำปี 2568
คณะกรรมการนโยบายเเละเเผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งเเห่งชาติ ได้มีการตั้ง"คณะทํางานเพื่อพิจารณากลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่อ โครงการ มาตรการ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติสําหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งในภาพรวมและเชิงพื้นที่” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง พ.ศ.2558 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการป้องกันเเละเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
โดยคณะกรรมการนโยบายเเละเเผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งเเห่งชาติ ได้มีมติให้โครงการศึกษา(งบศึกษา) เเละ โครงการป้องกันเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง(งบดำเนินการ) นั้นต้องผ่านความเห็นชอบของคณะทำงานกลั่นกรองฯ เสียก่อน จึงจะเสนอไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อก่อนที่จะมีการเสนอโครงการไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ซึ่งทำให้ทุกปี หน่วยงานที่จะเสนอขอรับงบประมาณจะนำโครงการทั้งที่เป็นโครงการศึกษาเเละโครงการป้องกันเเก้ไข(ดำเนินงาน) เข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานฯ เมื่อโครงการที่ผ่านความเห็นชอบจะถูกเสนอไปยังสำนักงบประมาณเพื่อการจัดทำงบประมาณในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในการพิจารณาของสภาผู้เเทนราษฎร
เมื่อตรวจสอบโครงการ จ้างศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อมเเละออกเเบบรายละเอียดเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 1 " ในเล่มงบประมาณประจำปี 2568 เล่มที่ 8 หน้า 248 กระทรวงมหาดไทย ซึ่งตั้งงบประมาณตั้งงบ 2568 -2569 พบว่า ไม่ปรากฎว่า กรมโยธาธิการเเละผังเมือง ได้เสนอโครงการดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาให้ความเห็นชอบจาก "คณะทํางานเพื่อพิจารณากลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่อ โครงการ มาตรการ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติสําหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งในภาพรวมและเชิงพื้นที่” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง พ.ศ.2558 ก่อนขอรับงบประมาณ
เท่ากับว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ลักไก่ เลี่ยงไม่เอาโครงการจ้างศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อมเเละออกเเบบรายละเอียดเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 1 งบประมาณ 30,000,000 บาทนี้ เข้าขอความเห็นชอบก่อนเสนอสำนักงบประมาณ
คำถามสำคัญ จึงตกอยู่ที่ว่า เมื่องบประมาณผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ออกมาเป็นพระราชบัญญัติแล้ว แต่กลับพบว่ามีโครงการที่ได้รับงบประมาณแต่ไม่ทำตามกฎหมายผู้เสนอโครงการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นมีความผิดหรือไม่ และต้องคืนงบประมาณหรือไม่อย่างไร
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 2 ตุลาคม 2567
แบ่งปันสิ่งนี้
7 พฤศจิกายน 2555 เป็นวันที่คุณพีระ ตันติเศรษณี อดีตนายกเทศมนตรีนครสงขลาถูกลอบสังหารกลางเมืองสงขลา ก่อนการจากไปของคุณพีระ ได้ทิ้งเรื่องราว คุณูปการต่อเมืองสงขลา ผ่านสิ่งที่เรียกว่า "สงขลานิเวศนคร" ผ่านมา 12 ปีที่จากไป ชวนรำลึกถึงพีระ ตันติเศรษณีร่วมกัน
หลายคนอาจสับสนระหว่างคำว่า “เขื่อนกันคลื่น” กับ “กำแพงกันคลื่น” ในทางวิชาการ “เขื่อนกันคลื่นหรือ Breakwater” กับ “กำแพงกันคลื่นหรือ Seawall” นั้น เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งคนละประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ และการออกแบบการก่อสร้างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Beach for life ชวนไปรู้จักเขื่อนกันคลื่นด้วยกัน
การรื้อรอดักทราย โครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งบริเวณชายหาดหน้าพระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ จังหวัดเพชรบุรี นับเป็นความพยามที่เเรกของไทยในการฟื้นฟูชายหาด ด้วยการรื้อโครงสร้างชายฝั่งเพื่อคืนสมดุลให้หาดทราย เเละจะเป็นความเเรงบันดาลใจฟื้นฟูชายหาดอื่นๆทั่วประเทศไทย