เขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำคือต้นเหตุสำคัญของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เเละทำให้ตะกอนทรายชายฝั่งขาดสมดุล
รายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง ระบุว่า เขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำคือต้นเหตุสำคัญของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เเละทำให้ตะกอนทรายชายฝั่งขาดสมดุล นอกจากนั้นในรายงานของกรมเจ้าท่าในการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นยังระบุชัดเจนในทิศทางเดียวกันว่า การก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นทำให้เกิดการทับถมของทรายด้านหนึ่งเเละกัดเซาะชายฝั่งอีกด้านหนึ่ง จำเป็นต้องดำเนินการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำ
ถึงเเม้รายงานของทั้ง 2 กรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งเเละปากร่องน้ำนั้นจะระบุไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงข้อเสนอของนักวิชาการเเละภาคประชาชนให้มีการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ เเต่ทำไมมาตรการดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นอย่างเเพร่หลาย เเละดูเหมือนจะไปไม่ถึงไหน Beach for life ชวนวิเคราะห์ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชายฝั่งเเละปากร่องน้ำในประเทศไทยไปด้วยกัน
ชายฝั่งทะเลมีตะกอนทรายเคลื่อนตัวตามเเนวชายฝั่ง หากมีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นลงไปบนชายฝั่ง จะทำให้เกิดการทับถมฝั่งหนึ่งเเละกัดเซาะฝั่งด้านท้ายน้ำ ดังตัวอย่างปากร่องน้ำนาทับ หรือ ปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งพบว่า หลังจากก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นในปี 2510 ทำให้ชายหาดฝั่งด้านใต้ของเขื่อนกันทรายและคลื่น คือ บริเวณแหลมสน่อน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา แผ่นดินงอกออกไปเรื่อยๆ กว่า 400 ไร่ ในช่วงเวลาเพียง 40 ปี เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนั้นทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนและเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
ในประเทศไทยนั้น กรมเจ้าท่าได้จัดการปากร่องน้ำโดยการใช้วิธีการขุดลอกและการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ แต่เมื่อการพัฒนาริมชายฝั่งทะเลและความต้องการในการใช้ปากร่องน้ำมากขึ้น การขุดลองของกรมเจ้าท่าจึงไม่เพียงพอ แนวคิดการจัดการปากร่องน้ำจากการขุดลอกจึงหันมาใช้การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำต่างๆ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ 65 แห่ง ทั่วชายฝั่งในประเทศไทยโดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย ในรายงานการศึกษาการกัดเซาะชายฝั่งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุชัดเจนว่า เขื่อนกันทรายเเละคลื่นคือสาเหตุสำคัญการกัดเซาะชายฝั่งเเละทำให้สมดุลตะกอนชายฝั่งเปลี่ยนเเปลงไป
ที่ผ่านมากรมเจ้าท่า ของบประมาณย้ายทราย แต่ที่ผ่านมาอาจเป็นความผิดของกรมเจ้าท่าเองที่ไม่สามารถสร้างน้ำหนักให้หน่วยงานที่ให้งบประมาณเข้าใจว่า ทำไมต้องมีการย้ายทรายในเมื่อสร้างเสร็จไปแล้ว ซึ่งฝ่ายนโยบายเข้าไม่เข้าใจในประเด็นนี้
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า การจัดการปากร่องน้ำที่ผ่านมานิยมก่อสร้างเขื่อนกันทราย เพราะไม่สามารถขุดลอกได้ทันถ่วงทีทุกปากร่องน้ำ การสร้างเขื่อนกันทรายจึงเป็นโครงสร้างที่นำมาใช้ เเต่ปัญหาที่ตามมาคือทำให้ตะกอนทรายชายฝั่งขาดสมดุล เนื่องจากตะกอนไปหล่อเลี้ยงหาดด้านท้ายน้ำไม่ได้ เเละที่ผ่านมาการถ่ายเททรายไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย
คุณบัลลังก์ บัวเมี่ยง วิศวกรชำนาญการ กรมเจ้าท่า ได้ให้ความเห็นต่อการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ ในงานเสวนา “หาทางออกการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งระดับนโยบาย” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 ว่า เขื่อนกันทรายปากร่องน้ำสร้างเพื่อวัตถุประสงค์ไม่ให้ทรายปิดปากร่องน้ำ กรมเจ้าท่ามีหน้าที่ดูแลปากร่องน้ำ เขื่อนปากร่องน้ำทุกทีมีการจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมทุกแห่ง โดยเป็นความประสงค์ต้องการของประชาชนที่ร้องขอมา และเล่มรายงานตอนสุดท้าบเขียนชัดเจนว่า “ต้องมีการเคลื่อนย้ายทราจากอีกฝั่งที่ติดอยู่ไปอีกฝั่ง” ที่ผ่านมากรมเจ้าท่าพยายามที่จะทำตามที่เขียนในรายงาน โดยการของบประมาณ แต่ที่ผ่านมาอาจเป็นความผิดของกรมเจ้าท่าเองที่ไม่สามารถสร้างน้ำหนักให้หน่วยงานที่ให้งบประมาณเข้าใจว่า ทำไมต้องมีการย้ายทรายในเมื่อสร้างเสร็จไปแล้ว ซึ่งฝ่ายนโยบายเข้าไม่เข้าใจในประเด็นนี้ จนมาในช่วงหลังที่มีกระแสข่าวและข้อมูล ทำให้กรมเจ้าท่า ได้รับงบประมาณมาอย่างปี 2563 ในการเคลื่อนย้ายทราย เช่น ปากร่องน้ำสะกอม ปากร่องน้ำนาทับ ของสงขลา เป็นต้น
ล่าสุดกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างศึกษาและออกแบบโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากร่องน้ำห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบฯ ซึ่งในรายงานการศึกษาโครงการดังกล่าวระบุมาตรการในการลดผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นผลจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำห้วยยาง คือ การเสริมทรายหรือการถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม การถ่ายเททรายปากร่องน้ำในประเทศไทย ทั้ง 65 ตัวที่มีการก่อสร้างไปแล้วนั้น ปัจจุบันการถ่ายเทรายนั้นยังเป็นมาตรการที่ไม่ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตามผลการศึกษาทำให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นผลจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลนโยบายและงบประมาณยังคงไม่เข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็นในการถ่ายเททราย จึงทำให้มาตรการดังกล่างนั้นไม่สามารถดำเนินการได้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการนี้ ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง