คดีชายหาดคลองวาฬ ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นี้ Beach for life ชวนย้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชายหาดคลองวาฬและการนำมาสู่การฟ้องคดีปกครองของชุมชนคลองวาฬ
แน่นอนว่า หากวันนี้เราไปเที่ยวหาดคลองวาฬจะเห็นว่าเต็มไปด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งมากมาย ทั้งเขื่อนกันทรายและคลื่น(Jetty) กำแพงกันคลื่น และเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง ซึ่งหากโฟกัสโครงสร้างที่อยู่ในคดีพิพาทนี้ จะมี 2 โครงสร้างหลัก ดังนี้
เมื่อประมาณปี 2547 เทศบาลคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ความยาว 300 เมตร และปรับปรุงสวนสาธารณะ จนชายหาดหายไปและเริ่มเกิดการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่อง ต่อมาปี 2552 กรมเจ้าท่า ได้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง จำนวน 11 ตัว เพื่อการป้องกันชายฝั่ง
การดำเนินการโครงการทั้งสองทำให้ส่งผลกระทบต่อชายหาดคลองวาฬอย่างรุนแรง ชายหาดหายไปและเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง กระทบต่อการใช้ประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ทำให้นำมาสู่การฟ้องคดี “ชายหาดคลองวาฬ” ว่าด้วยการดำเนินการขอองหน่วยงานรัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ กระทำละเมิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
การฟ้องคดีของประชาชนเห็นว่า การดำเนินการโครงการนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการดำเนินโครงการดังกล่าวไม่มีการขออนุญาตตามขั้นตอนทางกฎหมาย กล่าวคือ ไม่ได้ดำเนินการขออนุญาตเจ้าท่าในการดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นก่อนการดำเนินโครงการ และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ดินสาธารณะจากชายหาดจนกลายเป็นถนน ซึ่งทำให้ลักษณะการใช้ประโยชน์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการดำเนินการโครงการดังกล่าวนั้น เป็นการทำละเมิดต่อชุมชนจนทำให้วิถีชีวิต การใช้ประโยชน์ของชุมชนเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
และขอให้ศาลมีคำสั่งให้โครงการดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งรื้อถอนโครงสร้างทั้งสองโครงการและฟื้นฟูสภาพชายหาดให้ใกล้เคียงสภาพเดิม และให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
ภายหลังจากากรฟ้องคดี ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559 ว่า (1) เพิกถอนใบอนุญาตขอเทศบาลคลองวาฬที่อนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล้ำลำน้ำประเภทเขื่อนกันน้ำกัดเซาะ เพื่อสร้างเขื่อนกันคลื่นและปรับปรุงภูมิทัศน์ และให้ยื่นของเจ้าท่าอื่นภายใน 30 วัน นับแต่คำพิพากษาถึงที่สุด (2) ให้กรมเจ้าท่า ยืนคำขออนุญาตต่อเจ้าท่าอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่คำพิพากษาถึงที่สุด และ (3) คำขอนอกจากนี้ให้ยก
หลังจากนี้ต้องจับตาต่อว่าศาลปกครองสูงสุดจะคำพิพากษาออกมาเป็นอย่างไร นี่ถือเป็นคดีที่ 3 ของคดีที่เกี่ยวข้องกับชายหาดและการดำเนินการของรัฐในการป้องกันชายฝั่ง
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 30 ตุลาคม 2567
แบ่งปันสิ่งนี้
ถอดบทเรียนปัญหาสิ่งเเวดล้อมภายใต้การบังคับใช้ พ.ร.บ. EEC ก่อนจะถูกโคลนนิ่งมาเป็น พ.ร.บ. SEC ร่าง พ.ร.บ. SEC ที่ถูกเสนอเข้าไป และคาดว่าร่างของรัฐบาลที่กำลังจะมีมติ ครม. มอบให้ สนข.เป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. SEC Beach for life ชวนถอดบทเรียนดูปัญหาสิ่งแวดล้อมเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย EEC ที่เป็นร่างโคลนนิ่งของ พ.ร.บ. SEC
กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างที่เรียกว่า "เขื่อนกันน้ำเซาะ" บริเวณปากคลองหนัง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการดังกล่าวทำให้เกิดข้อสังเกตว่าอาจเป็นโครงการที่ผิดกฎหมาย เเละ อาจทำให้ชายหาดพังทั้งสทิงพระ
การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นภัยที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติเเละฝีมือของมนุษย์ ประเทศไทยมีชายฝั่ง 3,151 กิโลเมตร เเต่เราไม่เคยรู้เลยว่า ตรงไหนมีความเสี่ยวต่อการกัดเซาะชายฝั่ง บทความนี้จะชวนทุกคนไปทำความเข้าใจ เเผนที่เสี่ยงภัย เเละ การทำเเผนที่เสี่ยงภัยการกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดสงขลา ที่ริเริ่มด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน