โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ที่มีหน้าตาคล้ายๆกับรากโกงกาง ปรากฏหลายพื้นที่ของชายหาด เช่น หาดเเสงจันทร์ หาดสามร้อยยอด เป็นต้น Beach for life ชวนไปรู้จักรากโกงกางเทียมที่ปักริมชายหาด
รากโกงกางเทียมซีออส (C-Aoss/Capsule Arto Ocean Sediment System) เป็นนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยเลียนแบบลักษณะของต้นโกงกาง รากโกงกางเทียมซีออส ประกอบด้วย เสาหลัก ทำจากเนื้อไม้ผสมพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง(High Density Polyethylene : HDPE) และ รากเทียม ออกแบบคล้ายรากต้นโกงกาง ผสมยางพาราธรรมชาติ ร้อยละ 35 ของส่วนผสมทั้งหมด
ในอดีตมีการนำรากโกงกางเทียมซีออส มาใช้ในการดักตะกอน และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยมีพื้นที่ทดสอบ เป็นพื้นที่หาดโคลน บริเวณ สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
ปัจจุบันมีการนำมาทดลองขยายใช้ในพื้นที่หาดทราย โดยการดำเนินงานของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยดำเนินการในพื้นที่ชายหาดใน 3 จังหวัดทั่วทั้งประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพังงา 1 จุด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 จุด และ จังหวัดระยอง 5 จุด
สำหรับพื้นที่ชายหาดแสงจันทร์ จังหวัดระยองนั้น รากโกงกางเทียมซีออสนั้น ถูกติดตั้งบริเวณช่องว่างระหว่างเขื่อนกันคลื่นแต่ละตัว กระจายตลอดแนวชายหาด 12 กิโลเมตรของหาดแสงจันทร์ จากการลงพื้นที่สำรวจเบื้องต้น พบว่า รากโกงกางเทียมยังมีสภาพสมบูรณ์ ไม่ได้รับความเสียหาย
แต่อย่างไรก็ตามการปักรากโกงกางเทียมในการพื้นที่ชายหาดแสงจันทร์ นั้นทำให้เกิดคำถามถึง ประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของรากโกงกางเทียมเนื่องจากพื้นที่โดยรอบของหาดแสงจันทร์นั้นถูกป้องกันด้วยเขื่อนกันคลื่นและรอดักทรายตลอดแนวชายหาด จนมีสภาพเป็นหาดที่มีเสถียรภาพจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่งแล้ว อีกทั้งในบางจุดที่มีการติดตั้งมีโครงสร้างกำแพงกันดิน หรือ กำแพงกันคลื่นด้านหลังของรากโกงกางเทียม
พื้นที่ในการติดตั้งรากโกงกางเทียมนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิสูจน์ถึงความสำเร็จในการป้องกันชายฝั่ง รวมถึงการติดตามผลของการป้องกันชายฝั่งจากโครงสร้างนี้ คงต้องติดตามอย่างต่อเนื่องว่าโครงสร้างนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 22 พฤษภาคม 2567
แบ่งปันสิ่งนี้
การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นภัยที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติเเละฝีมือของมนุษย์ ประเทศไทยมีชายฝั่ง 3,151 กิโลเมตร เเต่เราไม่เคยรู้เลยว่า ตรงไหนมีความเสี่ยวต่อการกัดเซาะชายฝั่ง บทความนี้จะชวนทุกคนไปทำความเข้าใจ เเผนที่เสี่ยงภัย เเละ การทำเเผนที่เสี่ยงภัยการกัดเซาะชายฝั่งจังหวัดสงขลา ที่ริเริ่มด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน
ชายหาดจอมเทียนกลับมากว้างอีกครั้ง ท่ามกลางคำถามว่าการเติมทรายชายหาดจอมเทียนเเบบนี้จะได้ผลหรือไม่ Beach for life ชวนไปรู้จักโครงการเติมทรายชายหาดจอมเทียนร่วมกัน
การเกิดขึ้นของกำเเพงกันคลื่นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเเละส่งเสริมการท่องเที่ยวชายหาดชะอำใต้ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้ชายหาดชะอำ เหลือเพียงชื่อ เพราะทุกวันนี้หากไปเที่ยวชะอำใต้ เเทบจะไม่มีหาดทรายให้เห็น เว้นเเต่ช่วงน้ำลง มิเพียงเเค่ชายหาดที่หายไป เเต่การท่องเที่ยวของชะอำใต้ก็จบลงไปด้วย