กลางทะเลระนอง ชาวบ้านเล่าระหว่างการลงพื้นที่สำรวจภายใต้งานศึกษา Land bridge Effect : ผลกระทบโครงการท่าเรือน้ำลึกเเลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง ว่า กลางอ่าวระนองมีดอนเเห่งหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำ ทั้งกุ้ง กั้ง ปลานานาชนิด เเละปูม้า คราวฤดูกุ้งกุ้งจะกระโดดเป็นเเพ ชาวบ้านจับกันไม่หมด ชาวบ้านเรียกขนาดพื้นที่ตรงนี้ว่า "ดอนตาเเพ้ว" ความสมบูรณ์เเละชุกชุมของสัตว์น้ำทำให้ชาวประมง นักประดาน้ำในพื้นที่ตั้งฉายาให้กับดอนตาเเพ้วว่า "ป่าดงดิบใต้ทะเลระนอง"
ดอนตาเเพ้ว เป็นสันดอนกลางอ่าวระนอง เป็นดอนที่มีลักษณะเป็นทรายปนโคลนเเละมีเศษซากปะการัง ตั้งอยู่หลังเกาะพยามกับ เกาะทรายเเดง หาดทรายดำ เเละไล่ลงมาทางใต้จนถึงเเหลมอ่าวอ่าง(เเหลมไผ่) ดอนตาเเพ้วมีความลึกท้องน้ำที่ 4-6 เมตร เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ด้วยความที่เป็นดอนขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังเกาะ มีสัตว์น้ำจำนวนมากหลากหลาย ทำให้ดอนตาเเพ้ว เหมาะสมต่อการจับสัตว์น้ำ
ชาวประมงพื้นบ้านจากบ้านหาดทรายดำ เล่าว่า ดอนตาเเพ้ว คือเเหล่งที่กุ้งเเช่บ๊วยชุกชุมที่สุด กุ้งจะขึ้นเป็นเเพ ทำให้ชาวบ้านได้กุ้งจำนวนมาก สามารถขายได้วันละเป็นหมื่น หรือเเม้เเต่ในฤดูปูม้าก็จะวางอวนปูมาได้จำนวนมากบริเวณดอนตาเเพ้วเเห่งนี้
เช่นเดียวกับชาวประมงพื้นบ้านจากท่าเรือบ้านม่วงกลวงที่เล่าว่า ในช่วงหน้าปูม้าชาวประมงจะขับเรือมาวางอวนปูกันบริเวณดอนตาเเพ้ว เเละในช่วงนั้นอาจมีหอยลูกหมากติดมาด้วย
ไม่เพียงชาวประมงพื้นบ้านจากเเผ่นดินใหญ่ที่ใช้ประโยชน์จากดอนตาเเพ้ว ชาวเลมอเเกนจากเกาะพยาม เกาะช้าง ต่างก็มาจับสัตว์น้ำโดยใช้วิถีดั้งเดิมด้วยการดำลงไปฟังเสียงปลา ชาวมอเเกนบนเกาะพยามเล่าว่า เสียงปลาที่ได้ยินบริเวณดอนตาเเพ้วจะไม่เหมือนจุดอื่น เพราะมีเสียงปลาหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มปลาจวดที่มีเสียงเฉพาะ เเละดังกว่าเสียงปลาชนิดอื่นๆ
ด้วยลักษณะของดอนตาเเพ้ว ที่เป็นดอนทรายหลังเกาะทำให้เหมาะสมกับการทำประมง คลื่นลมไม่เเรงเท่าทะเลเปิด อีกทั้งยังมีสัตว์น้ำหลากหลายชนิดให้ตักตวง ดอนตาเเพ้วจึงมีความสำคัญต่อชาวประมงพื้นบ้านตลอดเเนวอ่าวระนองตั้งเเต่ปากน้ำกระบุรี จนถึงปากน้ำคลองกะเปอร์ที่มีกว่า 2,000 ลำ
ข้อมูลการสำรวจรายได้ของประมงพื้นบ้าน 2 อำเภอ คือ อำเภอเมือง เเละอำเภอกะเปอร์ โดย Beach for life ภายใต้รายงาน Land bridge Effect พบว่า มูลค่าจากการทำประมงพื้นบ้าน 2 อำเภอดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 559.80 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยครัวเรือนละ 31,670.85 บาทต่อเดือน สูงกว่ารายได้ครัวเรือนภาพรวมของจังหวัดระนอง 15 %
มูลค่าการทำประมงพื้นบ้านที่อิงอาศัยใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลจากอ่าวระนอง โดยเฉพาะพื้นที่ดอนตาเเพ้วนี้ สะท้อนให้เห็นว่าดอนตาเเพ้วคือต้นทุนทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจังหวัดระนอง
อย่างไรก็ตาม ดอนตาเเพ้ว กำลังเผชิญกับการคุกคามครั้งใหญ่เมื่อโครงการท่าเรือน้ำลึกเเลนด์บริจด์ระนอง กำลังเกิดขึ้น ซึ่งท่าเรือน้ำลึกนี่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 6,975 ไร่ (ขนาดใหญ่กว่าเกาะหลีเป๊ะ 3.4 เท่า) ตั้งอยู่บริเวณเเหลมอ่าวอ่าง ซึ่งกินพื้นที่ส่วนของดอนตาเเพ้วครึ่งหนึ่ง
ท่าเรือน้ำลึกนี้หากเกิดจะทำให้ชาวประมงต้องเดินทางอ้อมท่าเรือเพื่อเข้ามาจับสัตว์น้ำบริเวณดอนตาเเพ้ว อีกทั้งการดำเนินการก่อสร้างท่าเรือจากดำเนินการเกิดขึ้นจึงจากการศึกษา Land bridge Effect พบว่า ความเร็วของกระเเสน้ำบริเวณดอนตาเเพ้วจะลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการตกตะกอน ทำให้น้ำตื้นได้ ซึ่งอาจกระทบต่อลักษณะทางกายภาพของดอนตาเเพ้วที่อาจเปลี่ยนไปตลอดกาล
ดอนตาเเพ้ว คือ หัวใจเเละขุมทรัพย์กลางอ่าวระนอง ที่ผู้คนนับพันต่างใช้ประโยชน์ดอนนี้มาช้านาน เเต่ดอนตาเเพ้วกำลังจะเปลี่ยนไปจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เเต่อาจละเลยคนตัวเล็กตัวน้อยไป ดอนตาเเพ้วจะเป็นอย่างไรในอนาคตหากมีเเลนด์บริดจ์ คือสิ่งที่ต้องร่วมกันติดตามเเละจับตา
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 14 มีนาคม 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดได้นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งเเรก ในคดีชายหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา ตุลาการผู้เเถลงคดีได้อ่านคำเเถลงของตน ก่อนที่องค์คณะของตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา
กำแพงกันคลื่นหาดท่าบอน จังหวัดสงขลา โดยกรมเจ้าท่า ความยาวกว่า 5 กิโลเมตร กลายเป็นมรดกบาปที่หน่วยงานรัฐทิ้งไว้ให้กับชุมชน เเละผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งที่ทำให้พื้นที่ด้านหลังกำเเพงกันคลื่นพังเสียหาย บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่น
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง