ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด คงเป็นชื่อที่ใครหลายคนคุ้นหู จากการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคยุคโชติช่วงชัชวาล เเละภาพชายหาดเเสงจันทร์ หาดสุชาดา ที่มีลักษณะเว้าเเหว่งไม่เป็นธรรมชาติ คือ มรดกที่ตกทอดให้เห็นถึงผลกระทบของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ภาพหาดเว้าๆเเหว่ง คล้ายพระจันทร์เสี้ยวเเบบนี้ปรากฎต่อสายตาของใครหลายคน นี่คือ หาดแสงจันทร์ หาดที่เต็มไปด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมในการป้องกันชายฝั่ง ทั้ง เขื่อนกันคลื่น รอดักทราย เเละกำเเพงกันคลื่น ถือได้ว่าเป็นชายหาดที่มีโครงสร้างทางวิศวกรรมหลากรูปเเบบให้ชม
หาดแสงจันทร์ ถึง ปากน้ำระยอง เดิมเคยเป็นหาดเส้นตรงตามธรรมชาติเหมือนหาดอื่นๆ เเต่ด้วยก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุด เริ่มก่อสร้างในปี 2532 แล้วเสร็จในปี 2535 การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ซึ่งเป็นการถมทะเล ทำให้ท่าเรือน้ำขัดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทรายชายฝั่ง เเละรบกวนสมุทรศาสตร์บริเวณนี้ ส่งผลให้ชายหาดสุชาดา หาดแสงจันทร์ จนถึงปากน้ำระยอง เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง
เเละด้วยขนาดท่าเรือที่ใหญ่มาก ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง มีความจำเป็นต้องใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งหล่ดหลายรูปเเบบในการป้องกันการกัดเซาะที่เกิดขึ้น
ชายหาดตั้งเเต่หาดสุชาดา หาดเเสงจันทร์ จนถึงเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากน้ำระยอง ความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร จึงถูกป้องกันด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่ง ข้อมูสำรวจพบว่า มีโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ได้เเก่ เขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง 65 ตัว รอดักทรายจำนวน 18 ตัว และกำแพงกันคลื่น รวมถึงโครงสร้างอื่นๆของเอกชนเเละท้องถิ่นที่นำมาป้องกันชายฝั่ง ชายหาดเว้าเเหว่งที่เราเห็นต่างเป็นผลจากการป้องกันชายฝั่งด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรม
ถึงเเม้ชายหาดสุชาดา ถึง ปากน้ำระยอง จะมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตลอดเเนว เเละดูเหมือนว่าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นผลจากท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดจะจบลงไป เเต่ในความเป็นจริงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดเเห่งนี่ยังคงเกิดขึ้นเเละกลายเป็นปัญหาที่ท้องถิ่นเเละหน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการเเก้ไข
ไม่เพียงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นกับเเนวชายฝั่งทั้ง 12 กิโลเมตร การที่ชายหาดถูกกัดเซาะอย่างรุนเเรงจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ อย่างท่าเรือมาบตาพุด จนต้องใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมจำนวนมาก ทำให้กระทบต่อการท่องเที่ยว มีรายงานเป็นประจำทุกปีว่า "มีนักท่องเที่ยวถูกคลื่นซัดจนเสียชีวิต" ซึ่งเป็นผลกระทบจากการมีโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นนองฝั่งที่ใช้ในการป้องกันชายฝั่ง ซึ่งทำให้คลื่นเเละกระเเสน้ำชายฝั่งเปลี่ยนเเปลงไป
ปัจจุบันโครงการท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการถมทะเลขยายพื้นที่ท่าเรือออกไป ในอนาคตคงไม่อาจขาดเดาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชายฝั่งเเละสมุทรศาสตร์ในพื้นที่บริเวณนี้ว่าจะเปลี่ยนเเปลงอย่างไร
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 14 มีนาคม 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
ภาคใต้กำลังจะถูกยึด SEC กฎหมายยึดภาคใต้ จริงหรือ ? การเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ SEC จะนำไปสู่กการเเย่งยึดทรัพยากรในภาคใต้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจริงหรือ ? Beach for life สรุปให้อ่านกัน
ตลอดห้วงเวลา 10 ปีที่สังคมไทยรับรู้เเละถกเถียงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงปรากฎการณ์กำเเพงกันคลื่นที่ระบาดอย่างรุนเเรงจนหลายพื้นที่กลายเป็นกระเเสทางสังคมที่ถูกพูดถึง จวบจนการเรียกร้องให้กำเเพงกันคลื่นกลับมาทำเป็นโครงการที่ต้องทำ EIA จนสำเร็จ Beach for life ชวนคุณอภิศักดิ์ ทัศนี มาสนทนาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เเละ สิ่งที่ซ้อนอยู่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็ง
โครงการท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ท่าเรือขนาดใหญ่ที่มีการถมทะเล ทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงของชายฝั่งตลอดเเนวชายหาดสุชาดา หาดเเสงจันทร์ ถึงหาดปากน้ำระยอง ชวนสำรวจผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นจากท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด