หายนะสิ่งเเวดล้อมภายใต้ พ.ร.บ EEC ก่อนโคลนนิ่งมาเป็น พ.ร.บ SEC
และอีกหลายเหตุการณ์ปัญหาทางสิ่งเเวดล้อม มลพิษที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง เเละ ฉะเชิงเทรา ภายหลังการรบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ 2561 ซึ่งประกาศให้พื้นที่ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษ(EEC)
ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวมาและอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึงได้ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดในพื้นที่ EEC อันเป็นผลจาก พ.ร.บ EEC ที่รวบอำนาจ ละเว้นกฎหมายปกติ และ หย่อนยานกระบวนการควบคุมและตรวจสอบเอกชนที่เข้ามาดำเนินการในพื้นที่ EEC
การแก้ไขผังเมืองเดิม เป็นผังเมือง EEC ที่ใช้อำนาจของ พ.ร.บ. EEC ในการละเว้นกฎหมายผังเมืองเดิม และออกประกาศผังเมืองใหม่ ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภูมิประเทศ ระบบนิเวศ และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาอตุสาหกรรมในพื้นที่ EEC คือ ฉนวนสำคัญที่ทำให้สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม เนื่องจากผังเมือง EEC เปลี่ยนที่ดินสำหรับเกษตรกรรมให้กลายเป็นที่ดินประเภทชุมชนชนบท (เขตสีเหลืองอ่อน) และที่ดินประเภทที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (เขตสีเหลืองมีเส้นทแยงสีเขียว) โดยที่ดินทั้งสองประเภทนี้สามารถตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ นับเป็นเพียง 8 ประเภท จากทั้งหมด 107 ประเภท
นอกจากนั้น ผังเมือง EEC ยังมีข้อกำหนดที่เปิดกว้างให้ประกอบโรงงานกำจัดขยะและโรงงานรีไซเคิลขยะได้ในเกือบทุกพื้นที่ แม้แต่บนที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม และที่ดินประเภทชุมชนชนบท ข้อมูลสถิติปี 2560-2564 โดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ พบว่า ในประเทศไทยมีการลักลอบทิ้งน้ำเสียและกากอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 280 ครั้ง โดยจุดที่มีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมหนาแน่นคือพื้นที่จังหวัดอีอีซีและจังหวัดใกล้เคียง
ด้วยข้อกำหนดผังเมือง EEC ที่เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศ คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ EEC จึงทำให้การลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมกลายเป็นคู่เวรคู่กรรมของคนภาคตะวันออกที่ต้องเผชิญและแบกรับปัญหามลพิษ จากการบังคับใช้ พ.ร.บ. EEC
กรณีน้ำมั่วรั่ว มีเหตุการณ์ใหญ่สำคัญ 2 ครั้ง คือ น้ำมันดิบของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) รั่วไหลที่จุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง 25 มกราคม 2565 และเหตุการณ์น้ำมันดิบของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) รั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 3 กันยายน 2566 จากกรณีน้ำมันรั่วไหลในจังหวัดระยอง ประชาชนในพื้นที่ต้องรวมตัวกันฟ้องคดีกันเอง โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ และการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นไม่ครอบคลุมประชาชนทั้งหมด
บทเรียนจากการบังคับใช้ พ.ร.บ. EEC สะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมโดยใช้กลไกทางกฎหมายจาก พ.ร.บ. EEC เพื่อเอื้อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม อาทิ การแก้ไขผังเมืองเดิมเป็นผังเมือง EEC การละเว้นกฎหมายปกติในกระบวนการตรวจสอบ ควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งผลของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมในทิศทางเดียว ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นทวีความรุนแรงมากขึ้น สะท้อนผ่าน เหตุน้ำมั่นรั่วไหลครั้งใหญ่ 2 ครั้ง การลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผลจากการแก้ไขผังเมืองให้เกิดอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้โดยง่าย และการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกิจการที่ต้องทำ EIA และ EHIA การมีกฎหมาย อย่าง พ.ร.บ. EEC ที่สร้างระบบยกเว้นกฎหมาย การรวบอำนาจ การตรวจสอบที่มีปัญหาจนเรียกได้ว่าหย่อนยานนั้น ทำให้เกิดคำถามว่าหาก พ.ร.บ EEC ถูกโคลนนิ่งมาเป็น พ.ร.บ. SEC ที่กำลังจะถูกผลักดันให้เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้จะก่อให้เกิดหายนะทางสิ่งแวดล้อมแบบที่ EEC เคยเกิดขึ้นหรือไม่ และ คงเป็นคำถามตัวโตว่า การพัฒนาภาคใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราจะนำพาผู้คน ทรัพยากรที่สมบูรณ์นี้ไปเดินซ้ำรอยหายนะทางสิ่แงดล้อมแบบบภาคตะวันออกอย่างนั้นหรือ ?
.
อ้างอิงข้อมูล
[1] ในน้ำมีมลทิน ในดินมีสารพิษ: โครงการ EEC ฝันร้ายของคนภาคตะวันออก? https://www.the101.world/eec/
[2] บทวิเคราะห์ ร่าง พ.ร.บ. SEC ในหนังสือ Land bridge Effect ผลกระทบท่าเรือน้ำลึกแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง โดย ผศ.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ เเละ อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย
[3] สมนึก จงมีวศิน และพรพนา ก๊วยเจริญ, บทเรียนการพัฒนาผ่านแนวนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย กรณีศึกษาการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, 2567
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 9 มีนาคม 2568
แบ่งปันสิ่งนี้
การเกิดขึ้นของกำแพงกันคลื่นหาดแก้วมาพร้อมกับการกล่าวอ้างว่า หาดแก้วแห่งนี้เป็นชายหาดท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสงขลา กำลังเกิดการกัดเซาะชายฝั่งในระดับที่รุนแรงกว่า 5-6 เมตรต่อปี จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างกำแพงกันคลื่น เเต่ท้ายที่สุดหาดเเก้วกลับพังไม่เหลือสภาพชายหาด
หาดวอนนภา จังหวัดชลบุรี กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงรูปลักษณ์ชายหาดที่เปลี่ยนไปกลายเป็นกำแพงกันคลื่น Beach for life ชวนย้อนตั้งคำถามเเละเปิดข้อมูลเชิงลึกโครงการกำแพงกันคลื่นหาดวอนภาไปด้วยกัน
กำเเพงกันดินเเละทางเท้าบนเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ พังเสียหายรุนเเรงหลังมรสุมซัดฝั่งภายในคืนเดียว Beach for life ชวนทำความเข้าใจพฤติกรรมของคลื่นที่ส่งผลต่อชายหาดหลังจากมีกำเเพงกันคลื่น จากบทเรียนที่เกิดขึ้นบนเกาะพีพี