2537 เรือ Genar-II เกยหาดชลาทัศน์ บทเรียนที่ไม่ควรถูกลืม

ปี 2537 เรือ Genar-II เกยตื้นชายหาดชลาทัศน์
ช่วงมรสุมปี 2537 พายุได้ซัดเรือ Genar-II สัญชาติปานามา เข้ามาเกยตื้นบริเวณชายหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา คนสงขลาหลายคนรู้จักเรือลำนี้เเละเรียกง่ายๆติดปากกันว่า “เรือปานามา” การเกยตื้นของเรือปานามา นำมาซึ่งบทเรียนการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งที่สังคมควรเรียนรู้จากบทเรียนนี้เป็นอย่างยิ่ง

การเกยตื้นของเรือ เรือจีน่าร์-2 (Genar-II) ด้านเหนือของชุมชนเก้าเส้ง ชายหาดชลาทัศน์ ไม่นานหลังจากการเกยตื้นเรือลำดังกล่าวได้ทำให้ชายหาดเปลี่ยนเเปลงไป เนื่องจากลำเรือได้ขวางกั้นการเคลื่อนตัวของตะกอนทรายชายฝั่ง ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนทรายชายฝั่งด้านทิศใต้ จำนวนมหาศาล เเละเกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านเหนือของเรือจีน่าร์-2 (Genar-II)
ชายหาดชลาทัศน์เริ่มเปลี่ยนไป
ชายหาดชลาทัศน์ นั้นมีทิศทางการเคลื่อนที่ของตะกอนทรายสุทธิ์ คือ เคลื่อนที่จากทิศใต้ไปยังทิศเหนือ เมื่อเรือจีน่าร์-2 (Genar-II) มาเกยตื้น ซึ่งมีลักษณะตั้งฉากกับเเผ่นดิน ทำให้เรือนั้นเป็นเสมือนรอดักทราย ซึ่งทำให้ตะกอนทรายที่เคลื่อนตัวตามเเนวชายฝั่งนั้นถูกขวางกั้น เเละทำให้เกิดการทับถมของตะกอนทรายจำนวนมหาศาลบริเวณด้านใต้ของเรือจีน่าร์-2 (Genar-II)

หลักฐานจากภาพถ่ายในปี พ.ศ.2538 หลังจากที่เกิดเหตุเรือปานามาได้เกยตื้น ประจักษ์ชัดว่าหาดทรายทางด้านเหนือของซากเรือถูกกัดเซาะอย่างฉับพลัน เเละเกิดการทับทบตะกอนด้านทิศใต้

หลังรื้อเรือ ชายหาดกลับสู่สภาพเดิม
หลังจากนั้นไม่นานหน่วยงานได้รื้อถอนซากเรือ จีน่าร์-2 (Genar-II) ออกจากชายหาด ทำให้ชายฝั่งได้คืนสภาพกลับมาสู่สภาพปกติ ไม่ปรากฎการกัดเซาะชายฝั่งเเละการทับถมของตะกอนทราย ดังภาพถ่ายทางอากาศในปี 2544


ปรากฎการณ์การเกยตื้นของเรือ จีน่าร์-2 (Genar-II) ได้ให้บทเรียนสำคัญของการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่ง อันเกิดขึ้นจากการขัดขวางกระบวนการทางธรรมชาติของหาดทราย เรือ จีน่าร์-2 (Genar-II) ทำตัวเหมือน รอดักทราย หรือ คันดักทราย ทำให้ตะกอนทรายชายฝั่งนั้นทับถมด้านหนึ่งเเเละเกิดการกัดเซาะชายฝั่งด้านหนึ่ง เมื่อรื้อถอนออกชายฝั่งก็กลับคืนสภาพปกติดังเดิม การเกยตื้นของเรือปานามา เป็นบทเรียนสำคัญที่อธิบายการเปลี่ยนเเปลงชายฝั่งทะเลได้ดีที่สุดบทเรียนหนึ่ง
Author

อภิศักดิ์ ทัศนี
รักทะเล เเต่ชอบภูเขา เรื่องสิ่งเเวดล้อม คือ การเมือง
บทความวันที่ 25 กรกฎาคม 2567
แบ่งปันสิ่งนี้
โพสต์ที่แนะนำ

กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

สำนักงบประมาณได้เผยแพร่พระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2567 เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา Beach for life ได้รวบรวมข้อมูลงบประมาณโครงการป้องกันชายฝั่ง ปี 2567 จาก 4 หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

มกราคมของทุกปี เป็นช่วงที่ความกดอากาศสูงกำลังแรงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานครมีอากาศหนาวเย็น และเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ทะเลในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยแปรปรวนและคลื่นลมแรง ซึ่งนับเป็นธรรมชาติของชายหาดและฤดูกาลของทะเลในแถบนี้ ช่วงเวลานี้ อ่าวประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ พื้นที่ที่ถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับ “คลื่นคลั่ง” หรือ “คลื่นยักษ์” ซึ่งมีความสูงมากถึง 4-5 เมตร ที่ปะทะชายฝั่งและกระโจนข้ามถนนตลอดแนวอ่าวประจวบฯ เกิดอะไรขึ้นทำไมคลื่นจึงคลั่ง ชวนไขคำตอบไปด้วยกัน