การเติมทรายเป็นมาตรการที่ในระยะหลังมานี้ถูกพูดถึงมากขึ้น และมีความพยายามอย่างยิ่งในการใช้มาตรการเติมทรายเพื่อการฟื้นฟูชายหาดต่างๆในประเทศไทย หาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี ก็เช่นกัน หาดจอมเทียนถือได้ว่าเป็นหาดท่องเที่ยวสำคัญอีกเเห่งของประเทศไทย หาดจอมเทียน เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง ตลอดเเนวชายหาดจอมเทียน 6 กิโลเมตร มีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งจำพวกกำแพงกันคลื่นตลอดแนวชายหาด ในบางช่วงของหาดจอมเทียนนั้นสภาพชายหาดเเทบไม่เหลือสภาพหาดทรายให้ใช้ประโยชน์
การเติมทรายชายฝั่งนั้นนับเป็นมาตรการเดียวที่เพิ่มมวลทรายให้กับชายหาดได้ เเละเหมาะสมกับหาดที่มีมูลค่าการท่องเที่ยวเเละการใช้ประโยชน์ที่สูง
การเติมทรายชายหาดจอมเทียน โดยกรมเจ้าท่านั้น แบ่งออกเป็น 2 ระยะโครงการ ระยะที่ 1 ความยาว 3,575 เมตร ดำเนินการบริเวณร้านอาหารลุงไสว ถึง ซอยบุญย์กัญจนา งบประมาณ 590,000,000 บาท ระยะที่ 2 ความยาว 2,885 เมตร ดำเนินการบริเวณ ซอยบุญย์กัญจนา ถึง พัทยาปาร์ควอเตอร์เวิล์ด งบประมาณ 400,000,000 บาท ดำเนินการโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ สำหรับโครงการระยะที่ 1 นั้นเริ่มดำเนินการ 900 วัน งบประมาณปี 2563 เริ่มปฏิบัติงาน 30 พฤษภาคม 2563 สิ้นสุดสัญญา 15 พฤศจิกายน 2565 การออกแบบการเติมทรายครั้งนี้โดยสถาบันทรัพยากรน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายละเอียดการเติมทรายหาดจอมเทียนนั้น กรมเจ้าท่าได้ใช้ทรายจากแหล่งทราบริเวณด้านทิศตะวันตกของเกาะรางเกียน ห่างจากบริเวณจุดเสริมทราย 15 กิโลเมตร โดยดำเนินการใช้เรือดูดทรายจากแหล่งทรายมายังจุดพักทราย เพื่อคัดแยกสิ่งปะปน และซากสัตว์ทะเล จากนั้นก็จะนำมาพ่นบนชายหาดพร้อมกับทำการบดอัดแน่น และปรับให้ได้รูปแบบตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยในพื้นที่ดำเนินโครงการมีการกั้นม่านดักตะกอน และควบคุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตลอดการดำเนินโครงการ
การเสริมชายหาดหาดนั้นจะเสริมให้ได้หน้ากว้างของชายหาด 50 เมตร ไม่รวม Slope ชายหาด มีการบดอัดทรายที่เติมในบางส่วนของหน้าตัด และมีการรับรูปตัดให้เป็นไปตามการออกแบบศึกษาเพื่อให้การเติมทรายนั้นสามารถรับแรงคลื่นได้ โดยการเสริมทรายนั้นในระยะที่ 1 ใช้ทรายทั้งสิ้น 634,817 ลูกบากศ์เมตร
การเติมทรายชายหาดจอมเทียนนับเป็นการโครงการป้องกันชายฝั่งที่มีพื้นที่ดำเนินการขนาดใหญ่ และถือได้ว่าเป็นแห่งที่ 3 จากหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา และหาดพัทยา ซึ่งการเติมทรายหาดจอมเทียนนั้นจะประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูชายหาดจอมเทียนกลับมาหรือไม่ คงต้องช่วยกันติดตามอย่างต่อเนื่อง
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 17 กรกฎาคม 2567
แบ่งปันสิ่งนี้
หลายคนอาจสับสนระหว่างคำว่า “เขื่อนกันคลื่น” กับ “กำแพงกันคลื่น” ในทางวิชาการ “เขื่อนกันคลื่นหรือ Breakwater” กับ “กำแพงกันคลื่นหรือ Seawall” นั้น เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งคนละประเภทกัน และมีวัตถุประสงค์ และการออกแบบการก่อสร้างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Beach for life ชวนไปรู้จักเขื่อนกันคลื่นด้วยกัน
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
หลายคนอาจเคยได้ยิน "กำแพงกันคลื่น" "เขื่อนกันคลื่น" หรือเเม้แต่ "รอดักทราย" ชื่อเหล่านี้คือโครงสร้างป้องกันคชายฝั่งซึ่งเป็นโครงสร้างแข็ง หรือที่กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งเรียกว่า โครงสร้างสีเทา Beach for life ชวนมารู้จักเเละสำรวจโครงสร้างเหล่านี้ที่กระจายตัวทั่วชายฝั่งประเทศไทยด้วยกัน