กระแส “ทวงคืนชายหาด” หรือ #คืนหาดให้สาธารณะ กำลังมาแรงจากกรณีที่ฝรั่งเตะหมอ หาดแหลมยามู จังหวัดภูเก็ต ทำให้เกิดกระเเสสาธารณะออกมาทวงคืนชายหาดเเหลมยามูจากวิลล่าหรูที่ฝรั่งเตะหมอ มาสู่ชายหาดอื่นๆในจังหวัดภูเก็ต รวมถึงหาดปากบารา จังหวัดสตูล ที่เกิดกรณีพิพาทเอกชนอ้างสิทธิ์ในที่ดิน นส.3ก จำนวน 4 แปลง บนชายหาดปากบารา เอกชนอ้างว่าพื้นที่ชายหาด ดังกล่าวมีสภาพเป็นที่ดินและสามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ นส.3ก ได้ รวมถึงมีหน่วยงานต่างๆในระดับจังหวัดสตูล ทั้งที่ดินจังหวัดสตูล ท้องถิ่น เเละสำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาคสาขาสตูล ออกมาตอบว่า ที่ดินดังกล่าวนั้นมีสภาพเป็นที่ดิน มีการหวงกัน
ล่าสุด กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตอบกลับหนังสือกลุ่ม Beach for life ตามที่ร้องเรียนให้กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งตรวจสอบ จากการตรวจสอบกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งระบุว่า
พื้นที่ร้องเรียนมีเอกสารสิทธิ์ น.ส3 ก เลขที่ 1772 ออกเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเปลี่ยนจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส 3 เลขที่ 199 ในวันเดียวกันมีการแบ่งแอกออกเป็น น.ส.3 ก เลขที่ 1773,1774,1775 และ 1776 โดย น.ส.3 นั้นอ้างอิงแบบอ้างการครอบครองที่ดิน(สค.1)
ดังนั้นที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงมีสภาพเป็นชายหาดโดยถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนกลายเป็นชายทะเลเป็นเวลา 47 ปี ตั้งแต่ปี 2518
จากข้อเท็จจริงของกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งที่ได้เเปลภาพถ่ายทางอากาศบริเวณที่ดินเเปลงที่พิพาทเเละพบว่ามีสภาพเป็นชายหาดไม่ปรากฎการทำประโยชน์นั้น จึงมีการทำหนังสือส่งไปยังกรมที่ดินเเละกรมเจ้าท่า เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
เมื่อข้อเท็จจริงใหม่ ปรากฏว่า ที่ดินริมชายหาดปากบาราที่เอกชนอ้างสิทธิ์ นส.3 ก. ซึ่งทำการออกโดยเจ้าพนักที่ดินจังหวัดสตูล สาขาละงู เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 นั้น มีสภาพเป็นชายหาด ไม่มีการทำประโยชน์มา 47 ปีแล้วนั้น ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกของเจ้าพนักงานรังวัดที่ดินที่ระบุในบันทึกข้อความรังวัดว่า “มีสภาพเป็นชายหาด น้ำทะเลท่วมถึง ไม่ปรากฎการทำประโยชน์ และมีการคัดค้านการรังวัดโดยผู้ใหญ่บ้าน”นั้น ทำให้เกิดคำถามว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวนั้น ออกเอกสารสิทธิ์ได้อย่างไร ?
สังคมต้องช่วยกันจี้ถาม กรมที่ดินว่าเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวออกมาได้อย่างไร ?
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
บทความวันที่ 15 มิถุนายน 2567
แบ่งปันสิ่งนี้
Land bridge ชุมพร - ระนอง กำลังกลับมาถูกพูดถึงอีกครั้งท่ามกลางความเคลื่อนไหวของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่ได้มีการผลักดันโครงการ รับฟังความคิดเห็นประชาชน และเตรียมผลักดันร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้(SEC)
เปิดข้อเท็จจริงใหม่ที่ทำให้การอ้างสิทธิ์บนชายหาดปากบารา จังหวัดสตูลของเอกชนรายหนึ่งนั้นอาจทำไม่ได้ เเละกรมที่ดินไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินได้ ข้อเท็จจริงใหม่นั้นคืออะไร ชวนหาคำตอบกับ Beach for life
ย้อนไปเมื่อปี 2537 เรือ Genar-II เกยหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา การเกยตื้นของเรือในครั้งนั้นทำให้ชายหาดชลาทัศน์เปลี่ยนเเปลงไปอย่างน่าสนใจ เพราะเรือทำตัวเป็นเหมือน "รอดักทราย" ชายหาดที่มีเรือมาเกยตื้นกว่า 2 ปีจะเป็นอย่างไร ชวนติดตามอ่านด้วยกัน