สำนักงบประมาณได้เผยแพร่พระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2567 เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา Beach for life ได้รวบรวมข้อมูลงบประมาณโครงการป้องกันชายฝั่ง ปี 2567 จาก 4 หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
งบประมาณโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ในพระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2567 พบว่ามี 4 หน่วยงานหลักที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกลุ่มจังหวัด(จังหวัดปัตตานี) รวมทั้งสิ้น 678,753,500 บาท โดยมีการยืนของบประมาณไปในร่าง พรบ ร่ายจ่ายงบประมาณ 2567 จำนวน 709,614,500 แต่มีการปรับลดงบประมาณและตัดงบประมาณออกไปในชั้นกรรมาธิการ ทำให้เหลืองบประมาณในการป้องกันชายฝั่ง จำนวน 678,753,500 บาท
โดยหากพิจารณารายหน่วยงานจะพบ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้รับการจัดสรรงบประมาณรวมมากที่สุด 486,984,000 บาท คิดเป็น 71.7 % รองลงมา คือ กรมเจ้าท่า จำนวน 137,969,500 บาท คิดเป็น 20.3 % รองลงมา กลุ่มจังหวัด(จังหวัดปัตตานี) จำนวน 35,730,000 บาท คิดเป็น 5.3 % และ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 18,568,000 บาท คิดเป็น 2.7 % ดังแผนภาพ
นพระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2567 พบว่า โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ระยะที่ 3 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ถูกตัดงบประมาณที่ขอไว้ทั้งหมดในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 15,000,000 บาท ตามข้อเรียกของกลุ่ม Beach for life ที่ยืนหนังสือถึงกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 โดยอ้างอิงคำสั่งศาลปกครองสงขลาที่มีคุ้มครองชั่วคราว ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ชะลอก่อโครงการดังกล่าวออกไปจนกว่าจะมีคำพิพากษา
Inside งบประมาณป้องกันชายฝั่งในปี 2567 นอกจากตัวเลขที่ปรากฎว่าแต่ละหน่วยงานได้รับการจัดสรรงบประมาณเท่าไร่แล้วนั้น หากพิจารณาลงลึกและตั้งข้อสังเกตในรายหน่วยงานหรือรายโครงการนั้นจะพบว่า มีข้อสังเกตและ Inside 4 ประเด็นดังนี้
นอกจากงบประมาณสำหรับการป้องกันชายฝั่งที่ Beach for life ได้รวบรวมจากการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 แล้วนั้น Beach for life ยังพบว่า กรมเจ้าท่าได้รับการจัดสรรงบประมาณในรายการที่เกี่ยวกับการศึกษาการจัดการปากร่องน้ำและการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น หรือ Jetty บริเวณปากร่องน้ำ จำนวน 4 รายการ ได้แก่
แน่นอนว่า โครงการเขื่อนกันทรายและคลื่นนั้น เป็นโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อชายหาดเป็นอย่างยิ่ง และโครงการที่มีความน่ากังวลที่สุดคือการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณร่องน้ำห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพื้นที่อยู่ห่างจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกรเพียง 3 กิโลเมตร(อ้างอิงบริเวณหน้าอุทยานแห่งชาติหาดวนกร ถึงปากร่องน้ำ) อาจส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งที่กระทบต่อชายหาดบริเวณพื้นที่อุทยานในอนาคต
Author
Beach For Life
แหล่งรวบรวมความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับชายหาด
แบ่งปันสิ่งนี้
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โครงการนี้ ดำเนินการโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรณีพิพาทโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ซึ่งภาคประชาชนได้รวมกันฟ้องคดีตั้งแต่ปี 2564 เพื่อขอให้ศาลปกครองสงขลามีคำพิพากษาเพิกถอนโครงการและคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากระแสการเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่งนั้นมีมากขึ้น และหลังจากกรณีการเติมทรายชายฝั่งหาดพัทยาโดยกรมเจ้าท่าแล้วเสร็จ ทำให้ประชาชนเห็นว่ามาตรการเติมทรายนั้น อาจเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ และทำให้ได้ชายหาดกลับมา Beach for life ชวนสำรวจพื้นที่ชายหาดที่จะมีการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการเติมทรายชายฝั่ง