โครงสร้างป้องกันชายฝั่งในประเทศไทย

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ “กำเเพงกันคลื่น” ในสื่อบ่อยๆเเละอาจคุ้นตากำเเพงกันคลื่นที่วางตัวตามชายฝั่ง เเต่จริงเเล้วในประเทศไทยนั้นมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอยู่หลายรูปเเบบที่ถูกนำเอามาใช้เพื่อการป้องกันชายฝั่ง

โครงสร้างป้องกันชายฝั่งในประเทศไทยที่เป็นโครงสร้างเเข็งที่ถูกนำมาใช้อย่างเเพร่หลาย มีอยู่ 3 ประเภทหลัก คือ เขื่อนกันคลื่น กำเเพงกันคลื่น เเละรอดักทราย

Beach for life ได้รวบรวมข้อมูลพบว่าโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ทั้ง 3 รูปเเบบ จากการสำรวจด้วย Google Eearth ปี 2565 มีก่อสร้างกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • กำเเพงกันคลื่น หรือ Seawall เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่วางตัวติดประชิดชายฝั่ง ขนานกับชายฝั่ง ในประเทศไทยพบว่ามีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น 530 จุดตลอดเเนวชายฝั่ง (ข้อมูลอ้างอิง www.Beachlover.net) เเละโครงสร้างกำเเพงกันคลื่น เป็นโครงสร้างที่ปัจจุบันไม่ถูกกำหนดให้ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA) ก่อนการดำเนินโครงการ ในช่วงระหว่างที่กำเเพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA กลุ่ม Beach for life ได้รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานหลัก 2 กรม คือ กรมโยธาธิการเเละกรมเจ้าท่า พบว่า มีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นในช่วงการปลดล็อกไม่ต้องทำ EIA จำนวน 125 โครงการ ใช้งบประมาณ 8,400 ล้านบาท (ปี 2558-2566)
  • เขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง หรือ Break Water เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่วางตัวนอกฝั่ง ขนานไปกับชายฝั่ง โดยมักจะวางมีระยะห่างระหว่างกัน ส่วนมากเเล้วเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง ถูกสร้างโดยกรมเจ้าท่า เป็นหน่วยงานหลัก ในประเทศไทย พบว่า มีการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง จำนวน 467 ตัว ตลอดเเนวชายฝั่ง จากการรวบรวมข้อมูลจำนวนเขื่อนกันคลื่นพบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีเขื่อนกันคลื่นมากที่สุด ปัจจุบันเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งหากจะมีการดำเนินการต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อมก่อนดำเนินการ(EIA)
  • รอดักทราย หรือ Groin เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่วางตัวตั้งฉากกับชายฝั่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดักตะกอนที่เคลื่อนตัวตามเเนวชายฝั่ง ในประเทศไทยพบว่า มีรอดักทรายทั้งสิ้น 93 ตัว โดยมีการก่อสร้างจาก 2 หน่วยงาน คือ กรมเจ้าท่า เเละกรมชลประทาน

โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง เป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมที่ออกเเบบเพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เเต่อย่างไรก็ตามการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งเเต่ละรูปเเบบนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพชายหาด ลักษณะชายหาด ระบบนิเวศวิทยา เเละวิถีชีวิตของชุมชนทั้งสิ้น ทั้งนี้การใช้มาตรการโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาเเละออกเเบบอย่างรอบครอบ เพื่อให้การใช้โครงโดยโครงสร้างเเต่ละประเภทมีประสิทธิภาพในการป้องกันชายฝั่ง เเละส่งผลกระทบต่อชายหาดน้อยที่สุด

ชวนเพื่อนๆสำรวจโครงสร้างป้องกันชายฝั่งว่าทั้งหมดกระจายอยู่หาดไหนบ้างทางลิงค์นี้

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s