ท่ามกลางกระเเสวิพากษ์วิจารณ์การเปลี่ยนป้าย “สถานีกลางบางซื่อ” เป็น ” สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” ด้วยงบประมาณ 33 ล้านบาท ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงความเเพงของป้าย เเละความฟุ่มเฟื่อยของรัฐบาล Beach for life ชวนสำรวจกำเเพงกันคลื่นระหว่างกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ราคาป้ายใหม่ “สถานีกลางบางซื่อ” ซึ่งสะท้อนความฟุ่มเฟื่อย เเละ ราคาที่เเสนเเพงไม่ต่างกัน
มูลค่ากำเเพงกันคลื่นเฉลี่ยกิโลเมตรละ 120 ล้านบาท
เเละเเพงที่สุดตกกิโลเมตรละ 175 ล้านบาท
หากใครเกาะติดสถานการณ์กำเเพงกันคลื่น จะพบว่า ในช่วงหลังเพิกถอนกำเเพงกันคลื่นออกจาก EIA ปี 2556 มูลค่าโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยที่กิโลเมตรละ 120 ล้านบาท หากเป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได เเละ 80 ล้านบาท หากเป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบหินเรียง
จากข้อมูลมูลค่ากำเเพงกันคลื่นในประเทศไทย มีอย่างน้อย 3 พื้นที่ที่ราคาสูง เเละมีความน่าสนใจ
- กำแพงกันคลื่นหาดบางปู จ.สมุทรปราการ มูลค่าต่อกิโลเมตร 175 ล้านบาท นับว่าเป็นกำเเพงกันคลื่นที่เเพงที่สุดเท่าที่มีมา

- กำเเพงกันคลื่นหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการฯ มูลค่าต่อกิโลเมตร 151.72 ล้านบาท

- กำเเพงกันคลื่นหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการ มูลค่าต่อกิโลเมตร 76.66 ล้านบาท ถึงเเม้ไม่เเพงเท่ากำเเพงกันคลื่นหาดบางปู เเละ หาดมหาราช เเต่ก็สะท้อนถึงความล้มเหลวที่ป้องกันเเล้วทำให้ชายหาดหายไป เเละยังกระทบต่อการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล

นอกจากนั้นหากย้อนข้อมูลมูลค่าการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเฉพาะของกรมโยธาธิการฯ จะพบว่า มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะช่วงที่มีการเพิกถอนกำเเพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA มูลค่ากำเเพงกันคลื่นตกเฉลี่ยที่กิโลเมตรละ 117 ล้านบาท จาก 10 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 29 ปี

กรณีมูลค่ากำเเพงกันคลื่นที่เเพงขึ้นอย่างไร้เหตุผล เเละเกิดขึ้นมากมายไม่ต่างอะไรจากปรากฎการณ์ราคาป้าย เเละเสาไฟกินรี ที่รัฐผลาญใช้งบประมาณโดยไม่จำเป็น
