หาดท่าบอน Story : มรดกบาปที่รัฐทิ้งไว้ให้ชุมชน

ช่วงมรสุม 1-2 ปีที่ผ่านมา ชายหาดท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา นับว่าเป็นชายหาดที่ถูกกล่าวถึงว่าเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงอย่างที่คนในชุมชนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เคยประสบพบเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน !

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับชายหาดท่าบอน คือ อะไร เป็นสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ชุมชนต้องประสบกับการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ที่คลื่นปะทะและกระโจนเข้าสู่บ้านเรือน สวนมะพร้าว และสุสานบรรพบุรุษแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน

ย้อนกลับไปปี 2562-2563 กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมีการอ้างว่ามีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงจึงขอให้กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาออกแบบโครงการป้องกันชายฝั่งตลอดแนวชายหาดท่าบอนความยาว 5.34 กิโลเมตร งบประมาณรวม 134 ล้านบาท โดยได้สรุปรูปแบบโครงการที่ใช้ดำเนินการ 3 รูปแบบ คือ

1. โครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงใหญ่ ความยาว 340 เมตร

2. โครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเคลือบน้ำยา(อิลักโตรโคส) ความยาว 135 เมตร

3. โครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบเข็มผืด หรือ ความยาว 5.34 กิโลเมตร ถือเป็นรูปแบบโครงสร้างหลัก

โดยก่อนหน้ามีการก่อสร้างนั้น สภาพชายหาดท่าบอน มีสภาพพบการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นเป็นการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวในบางฤดูที่มีมรสุมรุนแรงพัดผ่าน แต่เมื่อผ่านมรสุมชายหาดสามารถคืนสภาพได้ตามปกติ

นายชอบ ประชาชนในพื้นที่ท่าบอน เล่าว่าเมื่อก่อนใช้ชายหาดในการจอดเรือ ชายหาดก่อนกรมเจ้าท่ามาดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชายหาดกว้างกว่า 60 เมตร จากแนวต้นไม้ถาวร และชาวบ้านใช้ชายหาดระแวงนี้ในการจอดเรือเป็นหลัง เมื่อดำเนินการก่อสร้างกรมเจ้าท่าได้ทำโครงสร้าง 3 แบบ หน้าบ้านนายชอบ เป็นแบบเข็มผืด ซึ่งก่อสร้างแบบเว้นช่องให้จอดเรือได้ ในปีแรกหลักโครงการก่อสร้างเสร็จก็ยังเห็นชายหาดอยู่ โครงสร้างทั้งหมดถูกฝั่งไว้ใต้ทราย แต่เมื่อต้นปี 2562 ช่วงมรสุมโครงสร้างที่ก่อสร้างไว้ไม่สามารถป้องกันคลื่นได้ มิหนำซ้ำ คลื่นกระโจนข้ามกำแพงกันคลื่นเข้ามาในแผ่นดิน จนบ้านเรือนได้รับความเสียหาย

คำบอกเล่าของชาวบ้านท่าบอน สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่กลุ่ม Beach for life ลงพื้นที่สำรวจ โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ของกรมเจ้าท่า บริเวณช่วงโครงการโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเคลือบน้ำยา(อิลักโตรโคส) ความยาว 135 เมตร และ โครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบเข็มผืด หรือ ความยาว 5 กิโลเมตรกว่า พังเสียหาย ไม่สามารถป้องกันชายฝั่งได้

โครงการในช่วงที่เป็นรูปแบบหินเคลือบน้ำยา บริเวณหน้าวัดท่าบอน ความยาว กรมเจ้าท่า ได้ขึ้นป้ายงานแล้วเสร็จ เมื่อวันที่เดือนกันยายน 2563 แต่ปรากฎว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เพียง 5 เดือน โครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเคลือบน้ำยา พังเสียหายอย่างรุนแรง สภาพน้ำยาผสานแตกหัก และไม่สามารถป้องกันคลื่นได้

ในขณะที่ช่วงโครงการกำแพงกันคลื่นรูปแบบเข็มผืด ที่มีการตอกเสาเข็มฝั่งไว้ใต้ทรายทำให้คลื่นเข้ามาปะทะและกระโจนข้ามกำแพงกันคลื่น สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน สวนมะพร้าวของประชาชนได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากโครงการกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่า ตลอดระยะทาง 5 กิโลเมตร

นายสมชาย พงศ์พิทักษ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 และ นาย วิชาญ เมืองจันทร์บุรี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลท่าบอน เปิดเผยว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องมานาน 2 ปี หลังจากกรมเจ้าท่าก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแล้วเสร็จ คลื่นก็กัดเซาะชายฝั่งพื้นที่ตำบลท่าบอน ระยะทางยาว 9 กิโลเมตร โดยการอ้างผลประชาพิจารณ์จากชาวบ้าน

ส่วนบริเวณพื้นที่วัดท่าบอน ที่มีการสร้างกำแพงกันคลื่นไปแล้ว แต่ปีนี้คลื่นแรงข้ามพนังจนกัดเซาะชายฝั่งกินพื้นที่หาดทราย จนถึงบริเวณที่มีโกฐบรรจุอัฐิจนเริ่มเอียง และใกล้จะพังลงมาแล้ว ซึ่งผู้นำชุมชนบอกว่า กรมเจ้าท่า ได้สร้างกำแพงกันคลื่นกัดเซาะมาแล้ว 2 ปี โดยอ้างว่าผลการทำประชาพิจารณ์ ทั้งที่ชาวบ้านไม่เห็นด้วย

หลังจากภาพความเสียหายจากกำแพงกันคลื่นที่ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่สามารถป้องกันชายฝั่งได้ ถูกนำเสนอออกไปต่อสาธารณะ ต่อมากรมเจ้าท่า ปรับแก้ไขรูปแบบโครงการบริเวณวัดท่าบอน จากกำแพงกันคลื่นแบบหินเคลือบน้ำยาผสาน มาเป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง แต่ยังคงเหลือบริเวณโครงการกำแพงกันคลื่นแบบเข็มผืดที่ยังไม่มีการปรับแบบแก้ไขโครงการ และยังเกิดความเสียหายต่อชายหาด และทรัพย์สินของประชาชนอย่างต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน

กรณีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ของกรมเจ้าท่า สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวในการป้องกันชายฝั่งด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมของกรมเจ้าท่าสิ้นเชิง และยังสะท้อนให้เห็นว่า “เมื่อรัฐดำเนินการแล้วเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงวิถีชีวิตของชุมชน ชุมชนคือผู้ที่ต้องรับมรดกบาป และต้องทนทุกข์อยู่กับปัญหาที่ก่อขึ้นจากโครงการของรัฐที่ลงไปดำเนินการในพื้นที่ของชุมชน” กรณีท่าบอน ถือเป็นบทเรียนราคาแพง ทำให้เห็นว่า เมื่อรัฐไม่ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ในโครงการกำแพงกันคลื่นแล้วเกิดผลกระทบต่อชุมชน ชุมชนไม่สามารถที่จะเรียกร้องหรือได้รับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนหรือชุมชนจากรัฐได้

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s