กำเเพงกันคลื่นมีประโยชน์ เเต่เพียงมันถูกสร้างเเบบมีความถี่โดยที่ไม่ได้มีการศึกษาอะไรก่อนเลย ความถี่นี้จึงสะสมเป็นความเสียหายอย่างรุนเเรง ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านสิ่งเเวดล้อม เเละ คุณภาพชีวติคน
ผศ.ดร.อารยา สุขสม คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
23 จังหวัดของประเทศไทย มีพื้นที่ชายหาด 3,151 กิโลเมตร เเต่มีกำเเพงกันคลื่นไปเเล้ว 530 โครงการ 190 กิโลเมตร เเละมีเเนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การมีอยู่ของกำเเพงกันคลื่น ไม่สามารถหยุดการกัดเซาะได้ ในหลายๆพื้นที่ปรากฏชัดว่า กระทบต่อชายหาด เเละไม่มีประสิทธิภาพ เพราะไม่สามารถป้องกันชายฝั่งได้ !
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 กลุ่ม Beach for life เเละเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการประกาศให้โครงการประเภทกำเเพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA) ด้วยเหตุผลทางวิชาการที่พิสูจน์ชัดเจนเเล้วว่ากำเเพงกันคลื่นสร้างผลกระทบต่อชายหาด ระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เเละชุมชนชายฝั่งอย่างมาก ภายใต้ห้วงเวลาที่รัฐปล่อยให้กำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA ต่อมาสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับข้อเสนอดังกล่าว และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบร่างเพื่อนำเอาโครงการกำแพงกันคลื่นกลับมาทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)
เเละล่าสุดในวันที่ 24 มกราคม 2566 กลุ่ม Beach for life เเละเครือข่ายองค์กรต่างๆที่เฝ้าติดตามประเด็นการกัดเซาะชายฝั่ง ได้จัดเวทีเสวนา “กำเเพงกั้นคลื่นต้องทำ EIA” ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเชิญนักวิชาการ ทนายความ หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม และประชาชนที่สนใจร่วมพูดคุยเเละทำความเข้าใจกับข้อเรียกร้องกำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA โดยมี (1.)ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (2.)ผศ.ดร.อารยา สุขสม คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ (4.)ทนายความ ส.รัตนมณี พลกล้า มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (5.)คุณสุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธินิติธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม เเละ (6.)คุณประสิทธิชัย หนูนวล มูลนิธิภาคใต้สีเขียว ร่วมเสวนาพูดคุย

ในช่วงเเรก ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลเเละร่วมพูดคุยกับพี่น้องชาวบ้านที่ได้เข้าร่วม โดยระบุว่า เเม้ว่าโครงการสร้างกำเเพงกั้นคลื่นจะต้องศึกษาผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อม (EIA)ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะสร้างไม่ได้ เเต่มันจะเป็นตัวการันตีว่าชาวบ้านจะได้รับรู้ถึงข้อมูลที่ถูกต้องของผลกระทบ ณ ตอนนี้เมื่อไม่ต้องทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อม (EIA) เมื่อหน่วยงาน (ก) มาทำ ก็จะกลายเป็นว่าหน่วยงาน (ข) มาเเก้ เเละหน่วยงาน(ค)มาเเก้ต่อ เเต่เมื่อไหร่ที่โครงการถูกบรรจุลงในการศึกษาผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อม เเละมีการประกาศว่า ถ้ามีผลกระทบเกิดขึ้นหน่วยงานไหนจะต้องมารับผิดชอบเเละมีการรับผิดชอบอะไรบ้าง อย่างเป็นระบบ เพราะงั้นการมีอยู่ของ (EIA) ไม่ได้เป็นตัวยืนยันว่ามันจะเกิดขึ้นได้หรือเกิดขึ้นไม่ได้ มีผลกระทบหรือไม่มีผลกระทบ เเต่ผลกระทบนั้นจะถูกนำมาเเสดงเป็นชุดข้อมูลให้กับคนในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเเละชัดเจน โดยตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการด้วยวิธีการสร้างกำเเพงกั้นคลื่นชายหาดก็เกิดการกัดเซาะเพิ่มขึ้น เเละเราก็สร้างต่อ
เเละได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “เราจะไม่มีทางเปลี่ยนเเปลงอะไรได้เลยถ้าหากเรายังเลือกทางเดินเดิม ทางเดียวคือการหาหนทางใหม่เเล้วก้าวเดินต่อไปอย่างกล้าหาญ”

ผศ.ดร.อารยา สุขสม คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ได้เริ่มต้นพูดคุยในช่วงเเรกของเสวนาว่า“กำเเพงกันคลื่นโดยตัวมันเองมันมีประโยชน์ เเต่เพียงเเค่ว่ามันถูกสร้างเเบบมีความถี่โดยที่ไม่ได้มีการศึกษาอะไรก่อนเลย ความถี่ในส่วนตรงนั้นมันเลยเกิดเป็นการสะสมจนเป็นความเสียหายอย่างรุนเเรง ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านสิ่งเเวดล้อม เเละ คุณภาพชีวตคน” เเละในกรณีของทางกฎหมายเองทางด้านเรื่องของสิทธิ ปัจจุบันเราได้มีการใช้รัฐธรรมนูญไทยฉบับปี 2560 ซึ่งในเรื่องของสิ่งเเวดล้อมทางรัฐธรรมนูญก็ได้ให้มีความคุ้มครองในเรื่องของสิทธิของประชาชนในการที่จะอยู่ในสภาพสิ่งเวดล้อมที่ดีเเละมีคุณภาพ หมายความว่ากฎหมายได้ให้อำนาจไว้กับประชาชนว่า ประชนมีสิทธิในเรื่องอะไรบ้าง เเละโดยอย่างยิ่งในเรื่องของสิ่งเเวดล้อม ทั้งในด้านของการเปดโอกาศให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆของรัฐ ที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม เรื่องของกำเเพงกั้นคลื่นถือเป็นโครงการที่รัฐจำเป็นต้องทำเพื่อเป็นการพัฒนาประเทศอย่างน้อยก็เพื่อเป็นการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งไม่ให้พื้นที่ฝั่งถูกกัดเซาะไป รวมถึงเป็นการป้องกันทรัพย์สินเเละชีวิตของพี่น้องประชาชนบริเวณริมชายฝั่งด้วย เเต่ ณ วันนี้ในทางวิศวกรรมมันมีหลายโครงสร้าง ทั้งโครงสร้างเเข็ง เเละ ไม่ใช้โครงสร้างเเข็ง เช่น การเติมทราย เพราะงั้นการก่อสร้างที่เกิดขึ้นมักมาจากความต้องการของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น เเต่เมื่อหน่วยงานภาครัฐได้มีการตัดสินใจที่จะก่อสร้าง หน่วยงานภาครัฐก็จะต้องมีกฎหมายที่จะให้ตัวเองมีอำนาจในการสร้าง เเต่สิ่งที่อยู่เหนือกว่ากฎหมายที่ให้รัฐมีอำนาจในการสร้างคือ รัฐธรรมนูญที่ได้ให้การคุ้มครองสิทธิของประชาชน ที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของรัฐ
ในมาตรา 58 ได้ระบุว่า การดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใด ดำเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใด ของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้อง ดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความ คิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน บุคคลเเละชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้เเจ้ง เเละเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการดำเนินการ ในการดำเนินการ รัฐต้องระมัดระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งเเวดล้อม เเละความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด เเละต้องดำเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายเเก่ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมเเละโดยไม่ชักช้า

เสียงสะท้อนจาก นักเคลื่อนไหวภาคประชาชน คุณประสิทธิชัย หนูนวล มูลนิธิภาคใต้สีเขียว ได้สะท้อนว่า “การใช้ทรัพยากรของประเทศนี้เกือบทุกประเภทควรจะต้องมีการกลั่นกรอง เเต่ที่ผ่านมาระบบการกลั่นกรองของเรามักจะมีปัญหา ” ในมุมทางระบบนิเวศน์ไม่ว่าจะเป็นทาง ทะเล เเม่น้ำ หรือ ป่า มันจะมีความอ่อนไหวของตัวมันเอง เมื่อมีการถูกเเปรเปลี่ยนสภาพมันจะส่งผลกระทบกันเองต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะโดยตัวระบบเศรษฐกิจของไทยรวมถึงทั่วโลกเองเนี้ยมันได้ถูกยึดโยงอยู่กับความสมบูรณ์ของทรัพยากร เมื่อเวลาที่เราไม่ได้เอาเรื่องของทรัพยากรเข้ากระบวนการกลั่นกรอง (EIA)เราก็มักจะมองไม่เห็นในมิติด้านผลกระทบ เเละประเทศของเราจะอ่อนเเอมากในเรื่องของการประเมินผลกระทบ หากการทำ EIA มันทำให้กระบวนการก่อสร้างล้าช้า ผมมองว่ามันไม่ใช่ข้ออ้าง เพราะถ้าหากเราทำโดยไม่ได้กลั่นกรองผลกระทบมันก็จะมากกว่า ยาวนาน เเละครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบที่มากกว่า
และได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “สิ่งที่สังคมต้องตระหนักร่วมกัน ณ วันนี้ คือถ้าเรื่องที่เกิดกับการจัดการทรัพยากรเเล้วไม่มีกลไกลการกลั่นกรอง มันก็จะเกิดหายนะขึ้นเเล้วหายนะที่เกิดขึ้นจากทรัพยากรอย่างต่อเนื่องมันจะส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่นเสมอเพราะว่าประเทศเเห่งนี้ระบบเศรษฐกิจได้ผูกโยงกับความอุดมสมบรูณ์ของทรัพยากรอยู่”
เช่นเดียวกับ คุณสุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธินิติธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม ที่กล่าวว่า ความท้าทายของหน่วยงานทั้ง กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งซึ่งมีหน้าที่ดูเเลชายหาด เเละมีหน้าที่ปกป้องดูเเลสิ่งเเวดล้อมให้คงอยู่เเละสมบูรณ์ เเต่ที่ผ่านมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ไหน ? เมื่อไปดูภารกิจเเละหน้าที่หลักของทางกรมเเล้วก็พบว่า คือเรื่องปัญหาการกัดเซาะ นั้นหมายความว่าภาครัฐเองก็เห็นเเล้วใช่ไหมว่าปัญหาการกัดเซาะนั้นมันมีมาอย่างยาวนาน เเละต้องมาศึกษาการวิจัยรวมถึงหามาตราการในการเเก้ไขปัญหา เเละสิ่งที่พี่น้องทำอยู่ก็ถูกต้องตามหลักรัฐธรรมนูญคือการไปเรียกร้อง ไปพูดคุยเรื่องที่รัฐจัดการไม่ดีทำให้ชายหาดหายไป นั้นหมายความว่ารัฐควรมีมาตราการจัดการที่ดีกว่านี้ทั้งมีมาตราการป้องกันคือ (EIA) มีมาตราการตรวจสอบสิ่งที่ทำมาเเล้วเเละควรมีการเยียวยาหรือเเม้กระทั่งหากจำเป็นต้องมีการรื้อถอนโครงสร้าง ก็เป็นไปตามมาตรา 43 ของหลักรัฐธรรมนูญ
คุณสุภาภรณ์ ได้สรุปไว้ว่า “ รัฐเองมักจะใช้คำว่าความล่าช้าของการศึกษาผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อมมาถอดถอนระบบการป้องกันหรือการศึกษาผลกระทบเเละอ้างว่าเป็นกฎหมายซึ่งกฎหมายบางตัวไม่ได้หมายความว่ามันคือความเป็นธรรม”

ทนายความ ส.รัตนมณี พลกล้า มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ได้ระบุว่า “ เมื่อไม่มี (EIA)มันก็จะเหลือเเค่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในชุมชน เเต่ปัญหาคือการเผยเเพร่ข้อมูลข่าวสารมักไม่ทั่วถึง เพราะงั้นขั้นตอนในการดำเนินโครงการต่างๆทั้งนี้เมื่อมีเเค่เวทีรับฟังความคิดเห็น เเต่ไม่มีชุดข้อมูลอื่นๆให้ได้อ่านได้ดู ถามว่ามันจะเหลือเครื่องมืออะไรให้ได้ช่วยเหลือพี่น้องไหม” ดังนั้นการทำ ( EIA) จึงจำเป็นต้องมี เเละเราจะได้ฟังชาวบ้านจริงๆในพื้นที่เป็นอย่างไรมันจะไม่ใช่เเค่เรื่องที่เราจะเอาเเค่ความเห็นของหน่วยงานหน่วยงานนึงโดยที่ไม่รู้ว่าจริงๆเเล้วเป็นคนที่มีความเชียวชาญพอเรื่องหาดพอรึปล่าว หรือมีความรู้เเค่โครงสร้าง ดังนั้นการมี(EIA)จึงเป็นอีกเครื่องมือนึงที่จะมาช่วยกลั่นกรองว่าควรสร้างหรือไม่สร้าง

ท่ามกลางการเสวนา มีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับ โครงการกำแพงกันคลื่นที่ต้องกลับมาทำ EIA โดยมีความกังวลจากนักวิชาการ และ ประชาชนถึงนิยามของกำแพงกันคลื่น ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนฯ ประกาศไว้ในร่างทบทวนให้กำแพงกันคลื่นกลับมาทำ EIA ซึ่งท้ายที่สุดขอช่วงเสวนา ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้ระบุว่า ในมุมมองของทางด้านวิศวกร จะเรียกกำเเพงกันคลื่นว่ากำเเพงกันคลื่น Sea wall คือ โครงสร้างที่วางประชิดชายหาดเเละมีหน้าที่ป้องกันชายฝั่งทะเลโดยที่น้ำจะต้องวิ่งมาถึงกำเเพงกันคลื่น กรณีน้ำวิ่งมาไม่ถึงกำเเพงกันคลื่นเราเรียกว่ากำเเพงกันดิน กำเเพงกันดินมีหน้าที่กั้นดินจากอีกฝั่งนึงไม่ให้มันเทไปอีกฝั่งนึง เพราะฉะนั้นโครงสร้างของมันได้ถูกออกเเบบให้รับน้ำหนักดินจากอีกฝั่งนึงเอาไว้ให้ได้ เเต่กรณีกำเเพงกันคลื่น คือ ฝั่งนึงรับเเรงคลื่นส่วนอีกฝั่งก็รับอีกเเรงเพราะงั้นเเค่การออกเเบบก็ไม่เหมือนกันเเล้ว เพราะฉะนั้นกำเเพงกั้นคลื่นควรจะเป็นกำเเพงกั้นคลื่นโดยตัวมันเองอยู่เเล้วไม่ควรจะมาใช้คำว่ากำเเพงติดเเนวชายฝั่งนี่คือปัญหาในเรื่องของการนิยามซึ่งเมื่อได้ไถ่ถามไปที่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้คำตอบว่าต้องการจะล้อกับคำประกาศนิยามใน 2556 เพราะในปี 2556 ได้ใช้คำว่ากำเเพงประชิดเเนวชายฝั่ง นั้นหมายความว่ามันมีปัญหามาตั้งเเต่ปี 2556 ถึงเเม้จะทราบถึงปัญหาเเต่ก็ยังจะกลับไปใช้คำนิยามเหมือนเดิมอีก กำเเพงกันคลื่นควรจะเป็นกำเเพงกันคลื่นโดยตัวมันเองอยู่เเล้ว มันต้องไม่ใช้ดุลพินิจในการตัดสินเเละไม่ควรใช้คำพูดที่กำกวม

บทสรุปของเวทีกำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA
หลังจากการเสวนาเเละเปิดเวทีให้ประชาชนเเลกเปลี่ยนร่วมกัน ทุกภาคส่วนจึงเห็นพ้องร่วมกันในเชิงวิชาการว่า “กำแพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำ EIA” เนื่องจากผลกระทบของกำเเพงกันคลื่นที่มีต่อชายหาด ระบบนิเวศ เเละคุณภาพชีวิตของประชาชน การนำเอากำเเพงกันคลื่นกลับมาทำ EIA เพื่ออลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชายหาด ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเป็นหลักประสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ รวมถึง เรียกร้องให้สำนักงานนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติ มีความจริงใจเเละกล้าหาญที่จะนำเอากำเเพงกันคลื่นกลับมาทำ EIA ตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด
