กำเเพงกันคลื่นไม่ใช่ผู้ร้าย กำเเพงกันคลื่น คือโครงสร้างวิศวกรรมอย่างหนึ่ง ที่เราหยิบมันมาใช้ อยู่ที่กระบวนการมากกว่าว่าเราหยิบมันมาใช้อย่างรอบครอบแค่ไหน หากใช้อย่างพร่ำเพลือ ชายหาดไทยก็ไม่เหลือ
อภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ก่อตั้ง Beach for life
ตลอดระยะเวลา 9 ปีเต็ม ที่รัฐเปิดช่องว่างทางกฎหมาย ให้โครงการกำเเพงกันคลื่น เกิดขึ้นบนชายหาด โดยไม่ต้องศึกษาผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อม หรือ EIA ระยะเวลาเพียง 9 ปี เราดำเนินการโครงการกำแพงกันคลื่น 125 โครงการ ใช้งบประมาณกว่า 8,487 ล้านบาท เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นแต่ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยไม่เคยลดลง มีแต่เพิ่มขึ้น และยิ่งสร้างกำแพงกันคลื่นชายหาดยิ่งหายไป และยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนริมชายฝั่ง
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ทางกลุ่ม Beach for life เเละเครือข่ายองค์กร ได้ร่วมจัดวงคุยเวทีเสวนาสาธารณะ “ ชายหาดไทยกำลังหายไป เพราะรัฐสร้างกำเเพงกั้นคลื่น “ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เเละได้มีการเชิญชวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกำเเพงกั้นคลื่น เข้าร่วมพูดคุยเเละเเลกเปลี่ยนข้อมูล สถาณการณ์ ผลกระทบ เพื่อหวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) นาย กอเเชม สะอุ ชาวเลสะกอม (2) นาง ปณิตา คณะรัฐ กลุ่มsaveหาดม่วงงาม (3)นาย อภิศักดิ์ ทัศณี กลุ่ม Beach for life (4)นาย ปฏิภาณ บุญฤทธิ์ ผู้กำกับภาพยนต์เบื้องหลังกำเเพง (5)นาง เฉลิมศรี ประเสริฐศรี มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (6) นาย วรวัฒน์ สภาวสุ นักกีฬาไคท์เซิร์ฟ (7)นาย ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล ประธานชมรมนักข่าวสิ่งเเวดล้อม
การเสวนา ตั้งต้นจากข้อสังเกตชายหาดประเทศไทยกำลังหายไปจริงหรือ ? และท่ามกลางเสียงเรียกร้องของประชาชนในขบวนทวงคืนชายหาดที่นำโดยกลุ่ม Beach for life และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่นที่ดำเนินการโดยรัฐทั่วทุกชายหาดในประเทศไทย กอเเชม สะอุ ชาวสะกอม ตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่น เริ่มต้นพูดคุยในช่วงแรกของเสวนาว่า “ชายหาดสะกอม คือบทเรียนสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่าการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเลทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง และการที่เราให้อำนาจให้กับกรมหรือหน่วยงานที่ไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับทะเล อย่างกรมโยธาธิการมาดำเนินการป้องกันชายงฝั่งคือ จุดเริ่มต้นที่ผิดพลาดที่ทำให้ชายหาดกำลังวิกฤติ ในกรณีหาดสะกอม ประชาชนลุกขึ้นต่อสู้ปกป้องชายหาดจากโครงสร้างแข็ง และโครงการพัฒนาของรัฐ บ่อยครั้งที่เราลุกขึ้นต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากร เรามักถูกตีตราว่า คือผู้ข้างการพัฒนา แต่ในฐานที่เราเป็นมุสลิม ในฐานะคนอิสลามที่ต้องลุกขึ้นต่อสู้กับเรื่องหล่าวนี้ ในคัมภีร์ของศาสนาเราเชื่อว่า พระเจ้าได้เตือนเเละห้ามมนุษย์ในฐานะที่ได้มอบทะเลมอบป่าสันทรายเเละสิ่งต่างๆหลายอย่างที่ท่านทรงมอบให้ว่า อย่าได้เป็นผู้บดทำลายเเผ่นดิน เราจะเห็นได้ว่ามนุษย์มักจะเป็นผู้ทำลายธรรมชาติต่อรองกับธรรมชาติตลอด เเต่เราไม่มีทางเอาชนะพลังธรรมชาติได้ ” เช่นเดียวกับ คุณปริดา คณะรัตน์กลุ่ม Saveหาดม่วงงาม ที่กล่าวว่า “ชายหาดม่วงงามเป็นชายหาดธรรมชาติ ที่ไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง แต่กรมโยธาธิการที่มีอำนาจในการป้องกันชายฝั่งกลับมาทำโครงการกำแพงกันคลื่น แล้วอ้างว่าชายหาดเกิดการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง เราอยากให้กรมโยธาได้ลองหันกลับไปศึกษาในสิ่งที่ทำมาเเล้ว ว่าทำไปเเล้วมันมีผลกระทบอย่างไร เเล้วก็อยากให้ฟังเสียงชาวบ้านให้มากกว่านี้เเละอยากให้ชาวบ้านได้มีส่วนรู้เห็นในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่บ้านของเขา เพราะอย่างกรณีหาดแก้ว อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาที่กรมโยธาธิการไปสร้างกำแพงกันคลื่นไว้ ตอนนี้ชายหาดหายไป ไม่เหลือสภาพชายหาดอีกแล้ว ซึ่งต่างจากม่วงงามบ้านเราที่เราเก็บรักษาชายหาดไว้ได้”
เสียงสะท้อนจากตัวแทนชุมชนผู้ที่เผชิญกับโครงการกำแพงกันคลื่นสองคนที่ได้กล่าวมาข้างต้น สะท้อนให้เห็นปัญหาของการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นโดยรัฐ นายอภิศักดิ์ ทัศนี จากกลุ่ม Beach for life ผู้ที่ติดตามการกัดเซาะชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี สะท้อนว่า “ชายหาดมีความเป็นพลวัต เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้กัดเซาะรุนแรงทุกพื้นที่ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันชายฝั่งด้วยกำแพงกันคลื่นทุกๆชายหาดที่กัดเซาะ พวกเราไม่ได้มีปัญหากับกำเเพงกันคลื่น เเต่เรามีปัญหากับกระบวนการ การเกิดขึ้นของกำเเพงกันคลื่นเเละหน่วยงานที่ไปผลักดันให้เกิดกำเเพงกันคลื่น กำเเพงกันคลื่นไม่ใช่ผู้ร้าย กำเเพงกันคลื่น เป็นเพียงโครงสร้างวิศวกรรมอันนึงที่เราหยิบมันมาใช้ อยู่กระบวนการมากกว่าว่าเราหยิบมันมาใช้อย่างรอบครอบแค่ไหน หากใช้อย่างพร่ำเพลือ ไม่รอบครอบ ชายหาดไทยก็ไม่เหลือ !! กำเเพงกันคลื่นยังมีความจำเป็นในการป้องกันชายฝั่ง เเต่มันต้องถูกใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น ดังนั้น หัวใจสำคัญคือ ให้มันเกิดได้เมื่อจำเป็น และ มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อมหรือ EIA ณ วันนี้รัฐปล่อยให้กำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA เป็นการไม่คุมกำแพงกันคลื่น เราเลยเห็นกำแพงกันคลื่นบาดทั่วชายหาดในประเทศไทย
กลุ่ม Beach for life รวบรวมข้อมูลกำแพงกันคลื่นจาก 2 กรมหลัก คือ กรมโยธาธิการและกรมเจ้าท่าในช่วงหลังจากการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA พบว่า มีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นระหว่างปี 2558-2566 จำนวน 125 โครงการ งบประมาณ 8,487 ล้านบาท โดยกรมโยธาธิการกลายเป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณกว่า 6,694 ล้านบาท เพื่อดำเนินการป้องกันชายฝั่งด้วยกำแพงกันคลื่น 107 โครงการ
เมื่อเราเห็นงบประมาณจำนวนมหาศาลขนาดนี้ โครงการเป็นร้อยโครงการในการป้องกันชายฝั่ง คำถามสำคัญคือ ทำไมเรายังเห็นการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นเรื่อยๆ และชายหาดสูญเสียมากขึ้นๆ ชาวบ้านในพื้นที่ออกมาประท้วงมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าวิธีการ แนวทางที่เราเดินมาถูกต้องจริงๆ การกัดเซาะชายฝั่งต้องลดลง ชายหาดต้องกลับมา และชาวบ้านต้องมีความสุขมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้กลับสวนทางกับการใช้งบประมาณที่มากกมายศาล และผลสุดท้ายปัญหาไม่ลดลง
ปฏิภาณ บุญฤทธิ์ ผู้กำกับภาพยนต์เบื้องหลังกำเเพงกันคลื่น ซึ่งติดตามการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 10 ปี และมีโอกาสได้สัมภาษณ์ ถ่ายทำภาพยนตร์ในห้วงเวลาที่ผ่านมา สะท้อนความเห็นในมุมมองที่เหมือนกับกับคุณอภิศักดิ์ ทัศนี โดยระบุว่า “การก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นในพื้นที่ไหนถ้ามันจำเป็นต้องทำ มันก็ต้องทำนั้นเเหละ เเต่ว่าปัญหา ณ เวลานี้คือ หลายพื้นที่มันไม่มีความจำเป็น แต่กลับมีโครงการกำแพงกันคลื่น ซึ่งเป็นการทำลายธรรมชาติ ด้วย เสียเงินด้วย เราไม่ได้ต้องการคัดค้านว่าไม่เอากำเเพงกันคลื่นอีกเเล้ว เเต่การที่มี EIA มันคือขั้นตอนกระบวนการที่เราจะได้มานั่งคิดวิเคราะห์ดีๆว่าวิธีนี้มันถูกต้องไหม หรือมันมีอีกกี่วิธีกันเเน่ ไม่งั้นเสียเงินไปเเล้วมันไม่ใช่ไม่ได้ผล เเล้วได้รับผลกระทบมากมาย ไม่ว่าจะเสียมากเสียน้อยก็ไม่คุ้ม
นาย วรวัฒน์ สภาวสุ นักกีฬาไคท์เซิร์ฟ ที่คลุกคลีกับชายหาดและทะเล กล่าวระหว่างการเสวนาว่า ถ้าเราเรียนรู้ที่จะยอมรับว่าเราเป็นเเค่จุดเล็กๆเเทบจะไม่มีความสำคัญอะไรเลยเดี๋ยวสักวันก็ตาย เเต่ชายหาดมันก็อยู่ของมันมากี่พันปี ไม่เห็นต้องมีใช้งบประมาณอะไรมาดูเเลตรงนี้เลย
พร้อมทั้งทิ้งท้ายไว้ว่า ตอนนี้เรารวยมากเราเงินเหลือเฟื้อหรอ ถึงต้องเอาเงินมาทำอะไรเเบบนี้ ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องทบทวนสิ่งที่ผ่านมาว่าเราเดินทางมาถูกทางกันแล้วใช่ไหม ?
ด้านนาย ฐิติพัฒธ์ พัฒนมงคล ประธานชชมรมนักข่าวสิ่งเเวดล้อมระบุต่อไปว่า “จุดเริ่มต้นของกรณีกำเเพงกันคลื่นมันก็ไม่ได้ต่างจากข่าวสิ่งเเวดล้อมอื่นๆในสังคมไทย ที่มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เเล้วคนที่อยู่ถัดออกมาหรือคนที่อยู่ในเมืองก็จะรู้สึกว่ามันไกลตัว ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ไม่ใช่บ้านฉัน มันเลยกลายเป็นว่าการเรียกร้องเพื่อการเปลี่ยนเเปลงคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ กรณีนี้กำเเพงกันคลื่นในหลายๆพื้นที่ก็อาจจะมีอารมณ์เเบบนี้ เพราะอย่างที่เกิดอย่างม่วงงามบ้าง เเม่รำพึงบ้าง มันก็อยู่ไกลจากเมืองพอสมควร เพราะงั้นสิ่งนึงที่ต้องพยายามทำรวมถึงสื่อมวลชนด้วย คือ การพยายามสื่อสารไปถึงผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง อย่างเวทีนี้ก็มีนักเล่นเซิร์ฟมา ผู้กำกับหนังมา มันทำให้การสื่อสารประเด็นนี้มันไม่ได้อยู่เเค่เฉพาะกลุ่ม ทำให้เรื่องมันสื่อสารได้กว้างขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ อย่าง 3 เรียกร้อง ก็เป็นการเรีกยร้องเพื่อชายหาดทุกๆแห่งของไทยจะไม่พบเจอกำแพงกันคลื่นอีก
ช่วงท้ายของเสวนา นายอภิศักดิ์ ทัศนี ย้ำว่า “วันนี้ที่เรามาเรียกร้อง หลายหน่วยงานอาจจะเข้าใจว่าเราต้องการรื้อกลไกลโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งจริงๆไม่ใช่เราพยายามจะจัดการโครงสร้างให้มันถูกต้องเเละเพิ่มกระบวนการการเกิดกำเเพงกั้นคลื่นให้มันยากขึ้น เพื่อคนไทยจะได้มีชายหาด เราไม่อยากให้หอศิลป์มีภาพถ่ายชายหาดเเต่อีกใน 10 ปีข้างหน้าเด็กเดินมาบอกว่าเเม่นี้คือชายหาด เราไม่อยากเห็นภาพแบบนั้น เราอยากเห็นชายหาดที่อยู่คู่กับชุมชน อยากเห็นชายหาดจริงๆ ไม่ใช่เพียงภาพถ่ายที่ให้รำลึกถึง แต่หากวันนี้เราปล่อยให้กำแพงกันคลื่นระบาด และ 3 ข้อเรียกร้องไม่ถูกรัฐบาลตอบรัฐ เราคงได้เห็นชายหาดในภาพถ่ายอย่างแน่นอน
