หาดปะเสวยะวอ กำลังกลายเป็นกำแพงกันคลื่น ?

ชายหาดจากปากร่องน้ำสายบุรี ถึง หาดเเฆแฆ จังหวัดปัตตานี ที่ทอดยาวเป็นเส้นตรง กว่า 17 กิโลเมตร ท่ามกลางความกังวลต่อชายหาดผืนนี้ที่จะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นกำเเพงกันคลื่น หลังจากที่กรมโยธาธิการฯ กำหนดโครงการศึกษาเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดปะเสวยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ชายหาดซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง 17 กิโลเมตรเมตรที่กล่าวมา

จุดเริ่มต้นโครงการศึกษาเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดปะเสวยะวอ มาจากการที่ชายหาดปะเสวยะวอ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อันเป็นผลจากการก่อนสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำสายบุรี เเละเขื่อนกันคลื่นบริเวณต่อเนื่องจากปากร่องน้ำมาทางด้านเหนือ ทำให้จัดสิ้นสุดของเขื่อนกันคลื่น คือ หาดปะเสวยะวอนั้นได้รับผลกระทบเกิดการกัดเซาะชายฝั่งรุนเเรง เเละกินวงความเสียหายเกือบ 1 กิโลเมตร

โครงการศึกษาเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดปะเสวยะวอ เริ่มต้นจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ตำบลปะเสวยะวอ โดยกรมโยธาธิการได้กำหนดเเนวทางเลือกไว้ 11 เเนวทาง โดยเป็นไปตามเเนวทางมาตรการขาว เขียว เทา ซึ่งผลการรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ 1 ปรากฎว่า ประชาชนเห็นด้วยกับโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เเละ เลือกรูปเเบบมาตรการสีเทา คือ การป้องกันด้วยกำเเพงกันคลื่น ร้อยละ 81

ความกังวลเเละข้อสังเกต

ผลการรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 สร้างความกังวลใจต่อกลุ่มนักอนุรักษ์เเละประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่ง เพราะชายหาดปะเวยะวอนั้นเชื่อมต่อกับชายหาดบางเก่า เเละชายหาดน้ำบ่อ ซึ่งเป็นชายหาดที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน หากมีกระบวนการดำเนินโครงการในพื้นที่ชายหาดปะเสวยะวอด้วยรูปเเบบกำเเพงกันคลื่นนั้น เเน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดบางเก่า ซึ่งเป็นหาดใกล้เคียงอย่างเเน่นอน

นั้นหมายความว่า ชายหาดทั้ง 17 กิโลเมตรตั้งเเต่หาดปะเสวยะวอ หาดบางเก่า เเละหาดน้ำบ่อ จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการก่อสร้างหากเกิดการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดปะเสวยะวอได้

นอกจากความกังวลต่อผลกระทบเเล้ว ยังมีข้อสังเกตของรูปเเบบมาตรการเเละเเนวทางที่กรมโยธาธิการฯกำหนดให้ประชาชนเลือกในเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน ที่ขัดเเย้งกับหลักเกณฑ์เเนวทางการดำเนินโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ที่กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งกำหนดให้พื้นที่ชายหาดปะเสวยะวอ ถึง หาดเเฆแฆ ยาว 17 กิโลเมตร นั้นเป็นพื้นที่ใช้มาตรการการปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติ ซึ่งหลักเกณฑ์เเละเเนวทางดังกล่าวถือว่าเป็นหลักเกณฑ์เเนวทางที่ทุกหน่วยงานนั้นถือปฏิบัติร่วมกัน ดังนั้นเเล้ว โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดปะเสวยะวอที่มีการเลือกมาตรการกำเเพงกันคลื่นนั้น จึงขัดกับหลักเกณฑ์เเนวทางที่กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งกำหนดไว้

หาดปะเสวยะวอไปทางไหนต่อ ?

ย้อนกลับไปในโจทย์เริ่มต้นที่หาดปะเสวยะวอนั้นมีการกัดเซาะชายฝั่ง

คงไม่ปฏิเสธว่าหาดปะเสวยะวอนั้นไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า ชายหาดปะเสวยะวอนั้นมีการกัดเซาะชายฝั่งรุนเเรงจริง เเละเป็นผลจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่องน้ำสายบุรี เเละเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง เพราะโครงสร้างเหล่านั้นที่กล่าวมานั้นทำให้เกิดการขัดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทรายที่เคลื่อนตัวจากทิศใต้ไปยังทิศเหนือ เเละทำให้เกิดการเลี้ยวเบนของคลื่นบริเวณด้านท้ายน้ำเขื่อนกันคลื่นตัวสุดท้าย หาดปะเสยะวอ จึงกัดเซาะชายฝั่งรุนเเรง

เมื่อมีการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นจริง เเละรู้ต้นตอของปัญหา ทางเเก้ไขปัญหาก็ควรทำให้ถูกที่ถูกจุดไม่สร้างปัญหาให้ลุกลามบานปลายต่อไปด้วย “กำเเพงกันคลื่น”

ในทางวิชาการ การก่อสร้างเขื่อนกันทรายเเละคลื่น มักมีมาตรการบรรเทาผลกระทบเขียนไว้เสมอ คือ การถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยนำทรายที่ทับถมด้านหนึ่งของเขื่อนกันทรายเเละคลื่น ในกรณีนี้คือบริเวณหาดวาสุกี เคลื่อนย้ายมาเติมบริเวณจุดที่กัดเซาะชายฝั่ง คือ หาดปะเสวยะวอ ซึ่งการดำเนินมาตรการเช่นนี้ คือ การถ่ายเททรายข้ามปากร่องน้ำ ทำให้ลดผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง เเละช่วยทำให้ชายหาดมีสมดุลชายฝั่งใกล้เคียงกับธรรมชาติ

หากดำเนินการถ่ายเททรายอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็ทำให้ชายหาดปะเสยะวอที่ถูกกัดเซาะชายฝั่งนั้น ถูกเเก้ไขปัญหาเเละบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เเละทำให้ชายหาดบริเวณนั้นยังคงเป็นชายหาดตามธรรมชาติ เเต่หากมีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นท้ายที่สุดชายหาดบริเวณนั้นจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นกองหินตลอดเเนวชายหาด เเละเลี่ยงไม่ได้ที่ชายหาด 17 กิโลเมตรของสายบุรี เเละปานาเระจะกลายเป็นกองหิน

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s