แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด ฉบับที่ 1

กลุ่ม Beach for life และเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด ซึ่งเกิดจากการรวมตัว ขององค์กรต่างๆ 94 องค์กร ที่เห็นพ้องร่วมกันว่า การดำเนินการในการป้องกันชายฝั่งที่ผ่านมาของรัฐบาลนั้น สร้างปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลโดยหน่วยงานต่างๆที่มีอำนาจนั้น เลือกใช้มาตรการป้องกันชายฝั่งด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรม โดยเฉพาะการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นและได้ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยกลับทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกันนั้น ได้เกิดกระแสการคัดค้านโครงการของรัฐในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากภาคประชาชนและชุมชนในหลายพื้นที่ชายหาด

ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและความขัดแย้งภายในชุมชนจากการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ผ่านมา ล้วนเป็นผลพวงจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล กล่าวคือ การให้กรมโยธาธิการและผังเมือง มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ตาม มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 กรกฎาคม 2534 และ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 ทำให้กรมโยธาธิการและผังเมืองกลายเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่ง อีกทั้ง การเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากกิจการหรือโครงการที่ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ตามประกาศแนบท้ายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปี 2556 ทำให้หลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนและชุนชนนั้นหายไป ทำให้โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ขาดการตรวจสอบความโปร่งใสและความถูกต้องของโครงการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กรมโยธาธิการและผังเมือง อาศัยช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นบนชายหาดในประเทศไทย จนเกิดการระบาดของกำแพงกันคลื่นอันเป็นเหตุให้ชายหาดไทยถูกทำลายจนอยู่ในภาวะวิกฤต

จากข้อมูลการใช้งบประมาณในการป้องกันชายฝั่ง ด้วยการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมเจ้าท่า และกรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่าหลังการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) มีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้น 125 โครงการทั่วทุกชายหาดในประเทศไทย ใช้งบประมาณในการดำเนินการรวม 8,487,071,100 บาท โดยกรมเจ้าท่าดำเนินการโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น จำนวน 18 โครงการ งบประมาณ 1,792,171,000 บาท ในส่วนกรมโยธาธิการฯ ดำเนินการโครงการกำแพงกันคลื่น 107 โครงการ ใช้งบประมาณ 6,694,899,400 บาท รวมระยะทางการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเฉพาะของกรมโยธาธิการ 70.413 กิโลเมตรตลอดแนวชายฝั่ง จากตัวเลขการใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนให้เห็นว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กลายเป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นมากที่สุดต่อเนื่องทุกปี แต่ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุในการทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่พี่น้องประชาชนภายในชุมชนที่กรมโยธาธิการฯเข้าไปดำเนินโครงการ

นอกจากนั้นโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการฯ ยังสะท้อนความไม่จำเป็นในการใช้จ่ายงบประมาณ เช่น กรณีชายหาดมหาราช ชายหาดม่วงงาม จังหวัดสงขลา หาดแม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหาดดอนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งชายหาดไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง เป็นเพียงการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวในช่วงมรสุมบางฤดูกาล และชายหาดสามารถฟื้นฟูคืนสภาพกลับได้ แต่กรมโยธาธิการฯกลับดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ในกรณีชายหาดม่วงงาม ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งชะลอโครงการกำแพงกันคลื่นหาดม่วงงามไว้ ด้วยเหตุผลที่สภาพชายหาดไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดม่วงงามโดยกรมโยธาธิการฯ จึงไม่มีความจำเป็น หรือแม้แต่กรณีชายหาดดอนทะเล ที่กรมโยธาธิการต้องเพิกถอนโครงการด้วยเหตุผลสภาพชายหาดไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง และชุมชนมีมติไม่ต้องการโครงการดังกล่าว ทั้งหมดนี้ เป็นกรณีตัวอย่างที่ชัดเจน ถึงความไม่จำเป็นของกำแพงกันคลื่นที่ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการฯ

โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการฯ ที่ผ่านมานั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชายหาด ทำให้ชายหาดนั้นหายไปอย่างถาวร ดังที่เกิดขึ้นกับชายหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี หาดปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หาดแหลมเสด็จ จังหวัดจันทบุรี หาดทรายแก้ว จังหวัดสงขลา หาดหน้าสตน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น ชายหาดเหล่านี้ได้รับความเสียหายจากโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการฯ ทั้งสิ้น และเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่องเป็นเหตุให้ต้องก่อสร้างกำแพงกันคลื่นต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งในหลายพื้นที่ที่มีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในพื้นที่ชายหาดท่องเที่ยว เช่น    หาดชะอำ หาดปราณบุรี ได้สร้างความเสียหายให้การท่องเที่ยวริมชายฝั่งทะเล ส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลงเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการร้านค้าในแถบหาดท่องเที่ยวนั้นรายได้สูญลงอย่างชัดเจน​

​จากปัญหาที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า การเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และ การให้อำนาจกรมโยธาธิการฯ ซึ่งไม่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาชายฝั่งทะเลที่มีความซับซ้อนและเป็นพลวัตินั้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรหาดทราย ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรสำคัญของชุมชน ในฐานะเป็นพื้นที่แห่งชีวิต เป็นพื้นที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และพื้นที่แห่งความสุขของประชาชนที่ใช้ประโยชน์ทรัพยากรหาดทราย เมื่อหาดทรายถูกทำลายด้วยกำแพงกันคลื่นจากกรมโยธาธิการฯ วิถีวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการมีหาดทรายได้ถูกทำลายไปด้วย 

กลุ่ม Beach for life และ ภาคีเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด 94 องค์กร ขอเรียกร้อง ต่อรัฐบาลให้ดำเนินการ 3 ข้อเรียกร้องสำคัญนี้ เพื่อคุ้มครองและปกป้องชายหาดจากการถูกทำลายด้วยกำแพงกันคลื่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง

1. ขอให้คณะรัฐมนตรีมีคำสั่งแก้ไขมติคณะที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่  30 กรกฎาคม 2534 และ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 ที่ให้อำนาจกรมโยธาธิการและผังเมืองในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า กรมโยธาธิการฯไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพิสูจน์ชัดเจนแล้วว่า กรมโยธาธิการฯ สร้างความเสียชายหาดต่อทรัพยากรชายหาด ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการสร้างกำแพงกันคลื่น เพื่อทำลายชายหาด 

2. ขอให้คณะรัฐมนตรีมีคำสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเอาโครงการกำแพงกันคลื่นกลับมาเป็นโครงการที่ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังเดิม เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิให้แก่ประชาชนและชุมชน รวมถึงเพื่อให้เกิดกระบวนการและกลไกในการตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชนก่อนดำเนินการโครงการกำแพงกันคลื่น

3. ขอให้คณะรัฐมนตรี มีคำสั่งให้มีการฟื้นฟูสภาพชายหาดที่ได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น โดยเฉพาะหาดท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย เพื่อฟื้นฟูชายหาดให้กลับมาดังเดิม 

กลุ่ม Beach for life และ ภาคีเครือข่ายทวงคืนชายหาด 94 องค์กร ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการตามข้อเสนอที่ทางกลุ่ม Beach for life และเครือข่ายฯ เรียกร้องโดยเร็วที่สุด เพื่อคุ้มครองพื้นที่หาดทรายซึ่งเป็นทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำลังถูกคุกคามและทำลายการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการและผังเมือง

ลงชื่อองค์กรเครือข่าย

1. มูลนิธิภาคใต้สีเขียว

2. Greenpeace Thailand 

3. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม(ENLAW) 

4. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

5. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ 

6. Thai Climate Justice For All (TCJA)

7. มูลนิธิป่า-ทะเล เพื่อชีวิต

8. มูลนิธิอันดามัน

9. สถาบันพัฒนาชาติพัฒนา(ภาคตะวันออก)

10. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้

11. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)

12. WeMove ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย

13. กลุ่มรักษ์เขาชะเมา

14. เครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล

15. เครือข่ายทรัพยากรแร่และสิ่งแวดล้อมภาคใต้

16. กลุ่มประมงพื้นบ้านดอนทะเล อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 

17. กลุ่มรักษ์หนองน้ำบ้านดอนทะเล อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

18. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา 

19. วิสากิจชุมชนเพื่อสังคมแปรูปอาหารทะเลบ้านม่วงกลวง จ.ระนอง 

20. วิสากิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนตำบลม่วงกลวง จ.ระนอง 

21. กลุ่มฅนรักทะเลและชายหาดปากน้ำปราณจ.ประจวบคีรีขันธ์

22. พรรคก้าวไกล ปีกงานชาติพันธุ์ ภาคใต้

23. คณะก้าวหน้า จังหวัดปทุมธานี 

24. สภาประชาชนภาคใต้

25. เครือข่ายประชาชนรักษ์หาดม่วงงาม(Saveหาดม่วงงาม) อ.สิงหนครจ.สงขลา 

26. กลุ่ม Saveหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จ.สงขลา 

27. ศูนย์​สร้างจิตสํานึก​นิเวศวิทยา​

28. YOUTH SOUTH WATCH 

29. คณะก่อการล้านนาใหม่ NEO LANNA

30. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

31. สมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อม จ.ชุมพร

32. กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำน้ำตกทุ่งยอ จ.ชุมพร 

33. กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลบ้านคันธุลีอ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 

34. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและสัตว์น้ำชายฝั่งบ้านคันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

35. สมาคมประชาสังคมชุมพร

36. เครือข่ายคนรักษ์อ่าว จ.ชุมพร

37. สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเกาะลันตา จ.กระบี่ 

38. เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนลุ่มน้ำหลังสวน จ.ชุมพร 

39. เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดเพื่อสันติภาพ(Permatamas)

40. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล 

41. กลุ่มสองล้อรักษ์ชายหาด จังหวัดสตูล 

42. เครือข่ายเกษตรอัตลักษณ์สตูลสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

43. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล 

44. กลุ่มรักษ์บ้านพรุควนกาหลง

45. เครือข่ายพลเมืองติดตามสภาพชายหาด 

46. กลุ่มเยาวชนรักษ์หาดบางหลิง อ.เทพา จ.สงขลา 

47. กลุ่มเยาวชนรักษ์หาดตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี 

48. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์

49. เครือข่ายกลุุ่มอนุรักษ์ฯบางสะพานจ.ประจวบคีรีขันธ์

50. กลุ่มพัฒนาเกษตรอินทรีย์บ้านกรูด-บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

51. กลุ่ม SAVE หาดแม่รำพึงบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

52. กลุ่มฅนเกาะทุ่งนางดำ จ.พังงา 

53. เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จ.สงขลา 

54. เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน

55. กลุ่ม Saveนาบอน จ.นครศรีธรรมราช 

56. สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ จ.สงขลา 

57. สมาคมความมั่นคงทางด้านอาหารอันดามัน 

58. สมาคมประมงพื้นบ้านท้องถิ่นระยอง 

59. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านสวนกง อ.จะนะ จ.สงขลา 

60. ประธานอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านจังหวัดชุมพร 

61. สมาคมพลเมืองนครนายก 

62. เครือข่ายศิลปินเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จ.สตูล 

63. กลุ่มศึกษาชุมชนและทรัพยากรปาตานี PATANI RESOURCES 

64. PATANI BARU 

65. ชมรมอนุรักษ์ฯ ม.อ ปัตตานี

66. สัตว์ไรนิ 

67. กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ (Law Long Beach)

68. Southren human rights hub

69. ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (NEC CLUB)

70. Civil Society Assembly For Peace

71. สมาคมผู้เฝ้ามองแห่งเมืองเพื่อสร้างสรรค์สังคม (THE LOOKER)

72. SAIBURI LOOKER

73. เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดสตูล

74. “รักจัง สตูล” (เครือข่ายสมัชชาคนสตูล)

75. สมาคมผู้บริโภคสงขลา 

76. เครือข่ายบัณฑิตอาสาปาตานี(PAGNET)

77. สมาคมอาสาสร้างสุข

78. เครือข่าย​เฝ้าระวังติดตาม​แผน​พัฒนา​ปา​ตานี​

79. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต

80. กลุ่มรักษ์เขาโต๊ะกรัง จ.สตูล

81. เครือข่ายชุมชนรักอ่าวปากบารา จ.สตูล 

82. ชมรมชาวเลอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล

83. กลุ่มฮักเชียงคาน 

84. กลุ่มฮักแม่น้ำ 

85. เครือข่าย ทสม.จ.สตูล

86. ดร.จาตุรงค์ คงแก้ว ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 

87. ผศ.นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม มศว องครักษ์

88. นางสาวจตุพร ปัญจขันธ์ 

89. นายวิชา จันทรากุล 

90. นายสมพล จีนพรชัย

91. นายวิโรจน์ น้อยสำเนียง ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ

92. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.)

93. We a tinybluedot (อาสาสื่อสาร climate)

94. สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมสังคม(SYSI)

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s