เจาะงบประมาณป้องกันชายฝั่งที่คุณอาจตกใจ !

เมื่อกำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA รัฐก็ใช้เงินแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ด้วยการสร้างกำแพงกันคลื่น

ปี 2556 โครงการกำแพงกันคลื่นถูกเพิกถอนออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA ทำให้กำแพงกันคลื่นระบาดไปทั่วบนชายหาดของประเทศไทย ซึ่งการระบาดของกำแพงกันคลื่นนั้นสะท้อนผ่านการใช้งบประมาณในการป้องกันชายฝั่งที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง Beach for life พบว่า ปัจจุบันกำแพงกันคลื่นมีมูลค่าเฉลี่ยที่กิโลเมตรละ 80-120 ล้านบาท (กำแพงกันคลื่นหินเรียงใหญ่ 80 ล้านบาท กำแพงกันคลื่นคอนกรีตเสริมเหล็ก 120 ล้านบาท) ซึ่งยิ่งเวลาผ่านไปดูเหมือนประเทศไทยจะใช้งบประมาณ ซึ่งคือภาษีประชาชนเพื่อป้องกันชายฝั่งเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ

งบประมาณโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ปี 2566 พบว่า มีการจัดสรรงบประมาณในการป้องกันชายฝั่งจาก 3 กรมหลัก ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการ และ กลุ่มจังหวัด จำนวนรวม 1,798 ล้านบาท โดยเป็นงบในส่วนการศึกษา จำนวน 496 ล้านบาท และงบดำเนินการ จำนวน 1,302 ล้านบาท โดยกรมโยธาธิการฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด 1,156 ล้านบาท คิดเป็น 65 % ของงบประมาณโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทั้งหมด

หากย้อนดูงบประมาณโครงการป้องกันชายฝั่ง 3 กรมหลัก อันได้แก่ กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการฯ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในปี 2564-2566 นั้น จะพบว่า กรมโยธาธิการฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดเกิน 50 % ของงบประมาณจากทั้ง 3 หน่วยงานหลักรวมกัน นั้นหมายความว่า กรมโยธาธิการฯ กลายเป็นหน่วยงานหลักในการป้องกันชายฝั่ง เมื่อดูจากสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละหน่วยงาน

เมื่อนำงบประมาณเฉพาะของกรมโยธาธิการฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด และมีการดำเนินการเฉพาะการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นอย่างเดียวนั้น จะพบว่า ระหว่างปี 2554-2566 งบประมาณในการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการฯ มีงบประมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภายหลังจากการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการหรือกิจการที่ต้องทำ EIA สัดส่วนของประมาณในแต่ละปีของกรมโยธาธิการเพื่อใช้สร้างกำแพงกันคลื่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญ

และหากย้อนดูมูลค่าของกำแพงกันคลื่น โดยอ้างอิงข้อมูลมูลค่ากำแพงกันคลื่นเฉพาะของกรมโยธาธิการฯ ซึ่งถือว่าเป็นกรมหลักที่ก่อสร้างกำแพงกันคลื่นจะพบว่า มูลค่ากำแพงกันคลื่นต่อกิโลเมตรในปี 2534 อยู่ที่ 10 ล้านบาทต่อกิโลเมตร และมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ และสูงอย่างก้าวกระโดดภายหลังจากกำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA โดยพบว่า ปี 2561 มูลค่ากำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการฯ ตกกิโลเมตรละ 117 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 29 ปี

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลเฉพาะส่วนของงบประมาณในการป้องกันชายฝั่งของรัฐบาลไทย ซึ่งเมื่อย้อนดูข้อมูลแล้วทำให้เห็นว่าประเทศไทยใช้งบประมาณมหาศาลในการป้องกันชายฝั่ง แต่ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งนั้นกลับไม่ลดลงเลย และมิหนำซ้ำความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนในการสร้างกำแพงกันคลื่นก็ปะทุขึ้นทุกพื้นที่ และงบประมาณในการสร้างก็มามากและกระจายทุกพื้นที่เช่นกัน หากรัฐยังไม่ปรับแนวคิดในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยการใช้งบประมาณสร้างกำแพงกันคลื่นต่อไปเรื่อยๆ ประเทศเราคงถึงคราวอวสานหาดทรายไทย

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s