ที่ผ่านมา สถานกาณ์ปัญหาจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น เรามักจะพบว่าจะกระจุกตัวอยู่เฉพาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างโดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา เป็นต้น เเต่อย่างไรก็ตามชายฝั่งอันดามันก็มีสถานการณ์ที่น่าสนใจให้จับตามองเช่นกัน
Beach for life ได้มีโอกาสเเลกเปลี่ยนในเวทีการกัดเซาะชายฝั่งควรถือเป็นสาธารณภัย จัดโดย สภาผู้ชมเเละผู้ฟังรายการภูมิภาคใต้ ThaiPBS ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงเเรมทรายทองรีสอร์ท อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยมีเครือข่ายประมงชายฝั่งเเละชุมชนชายฝั่งที่จับตาติดตามสภานการณ์ชายฝั่งทะเลมาร่วมเเลกเปลี่ยนในเวที จากการพูดคุยระดมสถานการณ์ชายฝั่งทะเลอันดามันในมิติการกัดเซาะชายฝั่ง พบประเด็นสำคัญที่น่าจับตามองดังนี้
สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลอันดามัน
สถานการณ์กากรกัดเซาะชายฝั่งทะเลอันดามัน ความยาวชายฝั่งทะเลอันดามัน รวม 6 จังหวัด ความยาว 1,093 กิโลเมตร ถูกกัดเซาะชายฝั่ง 27.39 กิโลเมตร คิดเป็น 2.46% (ข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2565) โดยไม่รวมพื้นที่เกาะต่างๆในจังหวัดฝั่งอันดามัน ซึ่งมีจำนวนมาก หากพิจารณาสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง รายจังหวัด พบว่า
- จังหวัดสตูล พบการกัดเซาะชายฝั่ง 0.9 กิโลเมตร คิดเป็น 0.19 %
- จังหวัดตรัง พบการกัดเซาะชายฝั่ง 7.75 กิโลเมตร คิดเป็น 5.37 %
- จังหวัดกระบี่ พบการกัดเซาะชายฝั่ง 1.2 กิโลเมตร คิดเป็น 0.59 %
- จังหวัดภูเก็ต พบการกัดเซาะชายฝั่ง 8.1 กิโลเมตร คิดเป็น 4 %
- จังหวัดพังงา พบการกัดเซาะชายฝั่ง 4.5 กิโลเมตร คิดเป็น 1.95 %
- จังหวัดระนอง พบการกัดเซาะชายฝั่ง 5.34 กิโลเมตร คิดเป็น 3.15 กิโลเมตร

สถานการณ์ด้านงบประมาณที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน ปี 2564-2565
พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ทั้ง 5 จังหวัดนั้น มีการตั้งของบประมาณโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปเเบบต่างๆ จาก 2 หน่วยงานหลัก คือ กรมเจ้าท่า เเละกรมโยธาธิการเเละผังเมือง ปี 2565 จำนวน 2 โครงการ เเละ ปี 2566 จำนวน 4 โครงการ (ที่มาจากเล่มงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 เเละ 2566)
- งบประมาณปี 2565
ชื่อโครงการ | พื้นที่/จังหวัด | งบประมาณ | รูปแบบ/ความยาว |
กำแพงกันคลื่นบ้านทุ่งเปลว หาดสำราญ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง | ทุ่งเปลว | 60,000,000 บาท | กำแพงกันคลื่นหินทิ้ง ความยาว 550 เมตร |
กำแพงกันคลื่นหาดแตงโม เกาะสุกร จังหวัดตรัง ระยะที่ 3 | หาดแตงโม เกาะสุกร | 50,000,000 บาท | กำแพงกันคลื่นขั้นบันได ความยาว 600 เมตร |
- งบประมาณปี 2566
ชื่อโครงการ | พื้นที่/จังหวัด | งบประมาณ | รูปแบบ/ความยาว |
กำแพงกันคลื่นบ้านหลังเขา เกาะลิบง | บ้านหลังเขา เกาะลิบง | 75,000,000 บาท | กำแพงกันคลื่นขั้นบันได ความยาว 756 เมตร |
โครงการซ่อมกำแพงกันคลื่น หาดบางศิลา อำเภอละงู จังหวัดสตูล | บางศิลา จ.สตูล | 35,000,000 บาท | กำแพงกันคลื่น ความยาว 367 เมตร |
โครงการเสริมทรายชายหาด หาดหัวหิน จังหวัดตรัง | หาดหัวหิน จังหวัดตรัง | 50,000,000 บาท | เติมทรายชายฝั่ง ความยาว 500 เมตร |
โครงการซ่อมแซมกำแพงกันคลื่น หาดแตงโม เกาะสุกร จังหวัดตรัง(กรมเจ้าท่า) | หาดแตงโม เกาะสุกร | 112,000,000 บาท | ซ่อมกำแพงกันคลื่น 1.5 กิโลเมตร |
จากการตั้งงบประมาณโครงการดังกล่าวนั้น ในงบประมาณ ปี 2566 มีโครงการเสริมทรายชายหาดหัวหิน จังหวัดตรัง ที่เป็นโครงการที่มีข้อสังเกตต่อความจำเป็น เเละความคุ้มค่าในการดำเนินการเนื่องจากสภาพพื้นที่บริเวณนั้น เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์หนาเเน่น เเละไม่ได้เป็นเเหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะต่อการเติมทราย เเละมีลักษณะเป็นหาดหินผสมหาดทราย จึงมีข้อสังเกตว่าโครงการสร้างมีความจำเป็นหรือไม่ เเละจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่อย่างไร ?

สถานการณ์ด้านอื่นๆ
การการร่วมกันระดมความคิดเห็นเเละการเเลกเปลี่ยนพูดคุยร่วมกันกับกลุ่มประมงริมชายฝั่ง เเละตัวเเทนชุมชนชายฝั่งต่างๆ ทำให้ได้ความเห็นต่อสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งที่น่าสนใจดังนี้
- ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภาคประชาชน จ.ตรัง สะท้อนว่า พบว่า ในจังหวัดตรัง มีการขุดลอกปากร่องน้ำบริเวณเกาะลิบง ทำให้เกิดตะกอนที่ขุดลอกกระทบต่อพื้นที่ทรัพยากรทางทะเล ได้แก่หญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเน่า ไม่สามารถฟื้นฟูได้ในช่วงระยะเวลา 1 ปี พะยูนได้รับผลกระทบ และปะการัง มีข้อเสนอให้นำเอาดินตะกอนจากการขุดลอกมาถมที่ดินให้เกิดประโยชน์แทนการถมลงสู่ทะเล ปัญหาการกัดเซาะกับการขุดลอกมันมีความสัมพันธ์กันหากกรมเจ้าท่านำทรายที่เกิดจากการขุดลอกมาถมในพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เช่น หาดแหลมขาม ตำบลหาดไม้แก้ว อำเภอสิเกา จ.ตรัง ซึ่งเป็นหาดทรายแล้วมีการกัดเซาะชายฝั่ง จะแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ดี

- คุณแสวง ขุนอาจ กล่าวว่า อำเภอปะเหียน ในพื้นที่ A20-23 ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำหนดไว้นั้น มีความยาว 5.9 กิโลเมตร ไม่พบการกัดเซาชายฝั่งรุนแรง แต่กลับมีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ชาวบ้าน ท้องถิ่นไม่ต้องการกำแพงกันคลื่น
- คุณสุเวทย์ เกตุแก้ว กล่าวว่า พื้นที่เกาะสุกร กำลังมีโครงสร้างกำแพงกันคลื่น และมีกำแพงกันตคลื่นที่ทำไปแล้ว ในปี 2540 มีการก่อสนร้างเขื่อนโดยกรมโยธาธิการ ซึ่งในช่วงสินามิ มีคลื่นขนาดใหญ่เข้ามาทำลายพื้นที่การเกษตรของประชาชน ต่อมาทางหลวงชนบทเข้ามาทำถนนเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยว ซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งถนน จึงมีการทำประชาคม ให้ชาวบ้านเห็นชอบการสร้างกำแพงกันคลื่น ต่อจากของเดิม และล่าสุดมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในพื้นที่เอกชน ซึ่งเอกชนไม่อยากให้ที่ดินเกิดการกัดเซาะชายฝั่งในที่ดินตนเอง และอยากให้มีชายหาด ซึ่งหากทำให้พื้นทีเอกชนเสียสภาพเขาจะฟ้องร้อง ซึ่งชาวบ้านแบราก็ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น เราเห็นด้วยกับการเติมทรายเอาทรายที่ขุดลอกตามปากร่องน้ำต่างมาเติมในพื้นที่กัดเซาะ เราเชื่อว่า วิธีการแบบนี้น่าจะเป็นทางเลือกให้กับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การกัดเซาะชายฝั่งเกาะสุกร นั้น เป็นการกัดเซาะขชายฝั่งตามธรรมชาติ ไม่มีความรุนแรง แต่กลับมีการร้องของโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นโดยท้องถิ่น ทำให้มีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะที่ โดยกรมเจ้าท่า และระยะที่ 2-3 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ยังคงเป็นพื้นที่ที่น่าจับตาต่อการป้องกันชายฝั่ง ถึงเเม้ข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งจะพบว่า การกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้รุนเเรงมากนัก เเต่ชายฝั่งอันดามันก็เผชิญกับโครงการกำเเพงกันคลื่นหลายโครงการโดยเฉพาะจังหวัดตรัง เเละมีความห่วงกังวลต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่อาจจะได้รับความเสียหายจากโครงการพัฒนาของรัฐเช่นกัน
