Environment Checklist Sea wall and Revetment ทางรอด หรือ ทางร่วง ?

ในเดือน กรกฎาคม 2564 รมต.วราวุธ ศิลปอาชา ได้ประกาศให้ การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นวาระเเห่งชาติ เเละได้ให้กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง นั้น ดำเนินการจัดทำ Environmental Checklist For Seawall and Revetment โดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 เพื่อทดแทนการทำให้กำแพงกันคลื่นนั้นต้องกลับไปทำการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA) จาถึงเวลานี้ Environmental Checklist For Seawall and Revetment ก็ยังไม่แล้วเสร็จ และมีโอกาสที่จะล่าช้าไม่สามารถประกาศได้เร็วๆนี้อย่างแน่นอน Beach for life จึงอยากชวนไปไล่เรียงดู Timeline และเหตุผลที่ Environment checklist Sea wall and Revetment อาจเป็นทางร่วงมากกว่าทางรอด

Environmental Checklist For Seawall and Revetment คือ อะไร ?

Environmental Checklist For Seawall and Revetment คือ รายการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล (Environmental Checklist For Seawall and Revetment) (ฉบับร่าง) เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการทบทวนรายการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด ดำเนินการประกาศโดยอาศัย มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

Environmental Checklist For Seawall and Revetment ที่เเท้งก่อนคลอด !

การผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการ Environmental Checklist For Seawall and Revetment นั้น เกิดขึ้นก่อนการประกาศวาระการกัดเซาะชายฝั่งเป็นวาระเเห่งชาติ เสียอีก โดย ได้มีการว่าจ้างจัดทำคู่มือในการจัดทำรายการข้อมูลด้านสิ่งเเวดล้อมเเละคู่มือคณะกรรมการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม สำหรับโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นนั้น ตั้งเเต่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 โดยกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง ผ่านมา จนถึงวันนี้ การผลักดันมาตรการ Environmental Checklist For Seawall and Revetment ตาม มาตรา 21 เเห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งนั้น เพื่อเสนอออกเป็นกฎหมายนั้น ล่าสุด Environmental Checklist For Seawall and Revetment นั้นไม่สามารถประกาศใช้ได้เนื่องจาก ไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมถึงการเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบนั้นแก่ประชาชนและนำผลนั้นมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน ตามแนวทางปฏิบัติของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนดให้หน่วยงานรัฐที่จะเสนอร่างกฎหมายปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎหมายที่ต้องจัดทำการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ซึ่งการจัดทำ Environmental Checklist For Seawall and Revetment ไม่ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงที่กล่าวมาทำให้ ต้องกลับไปดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายที่กำหนดก่อน จึงเสมือนว่า การดำเนินการที่พยามจะประกาศ Environmental Checklist For Seawall and Revetment ถูกทำแท้งก่อนที่จะคลอดออกมา ซึ่งทำให้หลังจากนี้ประชาชนต้องรอต่อไป เพื่อให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายจนกว่าจะแล้วเสร็จ ครบถ้วน ซึ่งคาดว่าคงใช้ระยะเวลาอีกนาน

เท่ากับว่า ณ เวลานี้ กำเเพงกันคลื่นยังคงระบาดโดยไร้มาตรการทางกฎหมายที่จะควบคุมผลกระทบสิ่งเเวดล้อม

ซึ่งนั้นหมายความว่า ณ เวลานี้ การก่อสร้างกำแพงกันคลื่น จึงไม่จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังเดิม  ถึงแม้ว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะชี้แจงว่า ที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองงบประมาณ ก่อนเสนองบประมาณของหน่วยงานต่างๆไปยังสำนักงบประมาณในโครงการป้องกันชายฝั่งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า และกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งเป็น 3 กรมหลักในการดำเนินงานป้องการชายฝั่ง แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการกลั่นกรองนี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดการบูรณาการกันในเชิงงบประมาณ ไม่ให้เกิดความทับซ้อนของโครงการระหว่างหน่วยงาน และเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการก่อนของบประมาณต่อไป ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีที่จะให้เกิดการบูรณาการ แต่การที่โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นนั้น ไม่ต้องทำ EIA การตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการฯ จึงไม่ได้เป็นการตอบโจทย์ของการทำให้โครงการของรัฐนั้นถูกศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยวางหลักประกันสิทธิให้แก่ประชาชน ว่า โครงการที่มีผลกรทะบต่อสิ่งแวดล้อม วิถีชุมชนอย่างร้ายแรง รัฐต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนดำเนินโครงการ ซึ่งในเมื่อโครงการของรัฐ โดยเพราะกำแพงกันคลื่นที่รุกคืบ ระบาด เกิดขึ้นเรื่อยๆ โดยไร้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุม ตรวจสอบให้เกิดความรอบครอบนั้น จึงไม่มี 

การก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงาม ภายหลังจากการที่กำเเพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA

นอกจากนั้น การที่โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นนั้นไม่ได้กำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบที้เกิดขึ้นจากโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น จึงไม่ได้ถูกศึกษาและเยียวยาผลกระทบภายหลังจากการก่อสร้าง ในหลายพื้นที่ที่เกิดการก่อสร้างไปแล้วและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานเจ้าของโครงการก็ไม่ได้ดำเนินใดๆเพื่อบรรเทาหรือจัดการผลกระทบเหล่านั้น แต่หากมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมภายใต้การจัดทำ EIA ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชน ย่อมได้รับการระบุอยู่ในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และสามารถที่จะบังคับให้หน่วยงานเจ้าของโครงการนั้น แก้ไขปัญหาหรือบรรเทาผลกระทบเหล่านั้นได้

กล่าวโดยสรุป Environmental Checklist For Seawall and Revetment ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เตรียมดำเนินการถูกทำให้แท้ง ไม่สามารถคลอดได้โดยเร็วนั้น Environmental Checklist For Seawall and Revetment ยังไม่สามารถทดแทน EIA กำแพงกันคลื่นได้ เนื่องจาก ไม่ใช่หลักประกันสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้โครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต ต้องจัดทำ EIA และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนดำเนินโครงการ

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s