การเเบ่งเขตการใช้ประโยชน์ชายหาด (Beach Zoning)

เหตุผลความจำเป็น

ด้วยการเพิ่มขึ้นของประชากร การพัฒนาของเมืองริมชายฝั่ง ส่งผลให้ต้องใช้พื้นที่และทรัพยากรริมชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น หากปราศจากการควบคุมและวางแผนอย่างรอบครอบ อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติเนื่องจาการใช้ที่กินขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบเสียหายทั้งต่อทรัพยากรและการเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นโดยมนุษย์

การจัดการพื้นที่ชายหาดมีเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ โดยการจัดการให้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้กระบวนการจัดการที่มีการผสมผสานกันระหว่างหน่วยงานและแผนต่างๆที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อนำมาวางแผนการพัฒนาเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พื้นที่ชายหาด

การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาด(Beach Zoning)

การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาด เป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยจำกัดการมองในระดับพื้นที่เล็กๆชายหาดใดชายหาดหนึ่ง โดยมีความหมาย คือ การจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ชายหาดนั้นให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากร หรือหมายถึงการจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์และการสงวนรักษา(สมปรารถนา, 2555) เป็นมาตรการไม่ซับซ้อน นับว่าเป็นมาตรการที่ง่ายที่สุดเพื่อการจัดการพื้นที่ชายหาด

อย่างไรก็ตามการทำ Beach Zoning ขึ้นอยู่หลายปัจจัย ทั้งสภาพปัญหาของชายหาดนั้น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์ ข้อบังคับ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความพร้อมของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น การทำ Beach Zoning สำหรับชายหาดแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ และอาจประสบความสำเร็จในที่หนึ่งแต่ล้มเหลวในอีกที่หนึ่งเนื่องมาจากปัจจัยดังกล่าวก็เป็นไปได้ โดยส่วนมากมาตรการนี้มักถูกดำเนินการโดยหน่วยงานระดับท้องถิ่น โดยอาจบรรจุข้อกำหนด Zoning ให้มีสภาพบังคับอยู่ในข้อบัญญัติท้องถิ่นและผังเมือง

ในต่างประเทศได้มีการทำ Zoning กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะชายหาดท่องเที่ยว สำหรับชายหาดเมือง Long Beach รัฐ California, USA มีการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ชายหาด(รูปที่ 1) โดยระบุเป็น เขตเล่นน้ำ, เขตการขึ้นลง Kite surt, เขตการเล่น Jet ski, เขตการเล่นเรือใบ, ตำแหน่ง Life guard, ตำแหน่งห้องน้ำและห้องอาบน้ำ, ปั่นจักรยาน, ถนน และลานจอดรถ

รูปที่ 1 Zoning ชายหาดแห่งเมือง Long Beach (ที่มา : http://www.sandydan.com/sports/kitesurt)

นอกจากการระบุไว้ในแผนที่แล้ว อาจจัดทำเป็นข้อกำหนดว่าบริเวณใดอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมใดตามตัวอย่าของอุทยาน Great barrier reef ประเทศออสเตรเลีย (รูปที่ 2) โดยได้กำหนดถึงประเภทของกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ในโซนที่มีสีแตกต่างกัน(รูปที่ 3) โดยเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในทะเลเป็นหลัก เนื่องจากอุทยานนี้เป็นแหล่งปะการังที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดของโลก กิจกรรมทางทะเลจึงต้องถูกควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด

รูปที่ 2 แผนที่ Zoning ณ Great barrier reef ประเทศออสเตรเลีย (ที่มา : http://www.gbrmpa.gov.au)
รูปที่ 3 ข้อกำหนดกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ภายในโซนต่างๆ ณ Great barrier reef ประเทศออสเตรเลีย (ที่มา : http://www.gbrmpa.gov.au)

นอกจากการทำแผ่นที่ Zoning การกำหนดกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้หรือไม่ได้ในแต่ละโซน การจัดการชายหาดในต่างประเทศ ยังได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ในเบื้องต้นเพื่อใช้กันในบางประเทศ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อความสมดุลระหว่างธรรมชาติเละการใช้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น (ดัดแปลงจาก FEE,2008 ; Williams,2009)

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s