10 เหตุการณ์สำคัญการต่อสู้เพื่อชายหาดม่วงงาม

SAVEหาดม่วงงาม กลายเป็นเเรงกระเพื่อมสำคัญที่ทำให้สังคมรับรู้ เข้าใจ ผลกระทบของกำเเพงกันคลื่นมากขึ้น เเละเป็นบทเรียน เเรงบันดาลใจให้ชายหาดอื่นๆ

ย้อนกลับไป 2 ปีที่เเล้ว ปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 หลายคนคงจำกันได้ว่ามีปรากฎการณ์ #Saveหาดม่วงงาม เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ทั้งใน Facebook และทวิตเตอร์ เรื่องราวของ #Saveหาดม่วงงาม เกิดขึ้นจากการที่กรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นบนชายหาดม่วงงาม 3 ระยะโครงการ ความยาวรวมกว่า 2 กิโลเมตร งบประมาณเกือบ 200,000,000 บาท การดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการฯ เกิดขึ้นภายใต้คำถามจากประชาชนชาวม่วงงามจำนวนมากเนื่องจากหาดม่วงงามนั้นไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง และโครงสร้างกำแพงกันคลื่นนั้นจะทำให้ชายหาดม่วงงามหายไปและเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง

การดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดม่วงงาม ทำให้ประชาชนชาวม่วงงามเริ่มทำการรณรงค์ปกป้องชายหาดม่วงงามโดยการชูป้าย Saveหาดม่วงงามและติดแฮกแท็ก #Saveหาดม่วงงาม และมีการเรียกร้องให้ชะลอการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยการที่ชาวบ้านไปนอนหน้าศาลากลาง รวมถึงการฟ้องศาลปกครองสงขลา

Beach for life ชวนผู้อ่านย้อนรำลึกเหตุการณ์สำคัญของการต่อสู้ภาคประชาชนในการปกป้องหาดม่วงงาม จากำเเพงกันคลื่น

  • 24 เมษายน 2563 ประชาชนม่วงงาม พบเห็นการดำเนินการขุดชายหาดม่วงงามเเละการนำเหล็กมาปักริมชายหาด รวมถึงป้ายโครงการ ชาวบ้านจึงเริ่มรวมกลุ่มเเละชูป้ายประท้วงริมชายหาด นับเป็นการเริ่มต้นการเคลื่อนไหวครั้งเเรกของประชาชนชาวม่วงงาม ในนามกลุ่ม Saveหาดม่วงงาม
  • 14 พฤษภาคม 2563 ประชาชนม่วงงาม ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสงขลา ขอให้ระงับการดำเนินโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงาม โดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง เเละขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉิน ในวันนั้นศาลปกครองสงขลามีคำสั่งนัดไต่สวนฉุกเฉิน
  • 1 มิถุนายน 2563 ประชาชนชาวม่วงงาม เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดสงขลามเรียกร้องให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ยกเลิกโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงาม เเต่ผู้ว่าราชการจังหวัดกลับไม่มีคำตอบให้คำประชาชนชาวบ้านม่วงงาม ที่มาทวงถาม ทำให้ประชาชนชาวม่วงงาม
  • 2 มิถุนายน 2563 กรมโยธาธิการ จัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนม่วงงามอีกครั้ง โดยหวังจะให้ข้อมูลเเก่ประชาชน เเต่ท้ายที่สุดเมื่อเวทีดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง ประชาชนได้จี้ถามกรมโยธาธิการ จนไม่สามารถตอบคำถามในประเด็นสำคัญๆได้ เช่น หาดทรายจะหายไปหรือไม่หลังจากสร้างกำเเพงกันคลื่น ทำให้ประชาชนม่วงงาม Walk Out ออกจากห้องประชุมทั้งหมด
  • 5 มิถุนายน 2563 หลังจากประชาชนม่วงงามปักหลักรอฟังคำตอบหน้าศาลากลาง เป็นระยะเวลา 4 คืน 5 วันนั้น กรมโยธาธิการได้มีคำสั่งเเจ้งมายังผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในการชะลอการดำเนินการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นออกไปก่อน เพื่อคลี่คลายความขัดเเย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่
  • 30 มิถุนายน 2563 ศาลปกครองสงขลาได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทำให้โครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงามถูกชะลอการก่อสร้างออกไปด้วยคำสั่งศาลปกครองสงขลา โดยศาลได้วินิฉัยในคำสั่งศาลว่า “การก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงาม เป็นการก่อสร้างในพื้นที่ทะเลถือเป็นสิ่งเเปลกปลอมที่สร้างรุกล้ำลงไปในทะเล ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงของชายหาดที่ยากจะฟื้นฟูในภายหลัง”
  • สิงหาคม 2563 อธิบดีกรมโยธาธิการเเละผังเมือง ได้เสนอถอนงบประมาณโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นออกจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564
  • 18 พฤศจิกายน 2564 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งศาลยืนตามศาลชั้นต้น สั่งชะลอโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงามต่อ หลังจากที่มีการขออุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองสงขลาโดยนายกเทศบาลเมืองม่วงงาม(ในสมัยนั้น) เเละกรมโยธาธิการฯ ศาลปกครองสูงสุดได้มีวินิฉัยว่า “กรมโยธาธิการไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อศาลได้ ไม่มีสมเหตุเพียงพอในการให้ดำเนินการต่อศาลปกครองสูงสุดจึงเห็นพ้องคำสั่งศาลปกครองสงขลาให้ระงับโครงการต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอื่น หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด”
  • 9 มิถุนายน 2565 ศาลปกครองสงขลา ลงพื้นที่เดินเผชิญสืบบริเวณริมชายหาดม่วงงาม โดยมีทนาย ผู้ฟ้องคดี เเละผู้บริหารเทศบาลเมืองม่วงงาม ชี้เเจงข้อเท็จจริงต่อศาล โดยทั้งหมดได้ยืนยันข้อเท็จจริงต่อศาลว่า ชายหาดม่วงงามไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง เเละประชาชนไม่ได้ต้องการโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการเเละผังเมือง

การต่อสู้ของประชาชนม่วงงาม ตลอด 2 ปี ที่ผ่านมา เป็นการต่อสู้ที่ต่อเนื่อง เเละใช้ข้อมูล เหตุผลทางวิชาการในการพิสูจน์ต่อสังคม เเละกระบวนการยุติธรรม จนทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงในสองนัยยะที่สำคัญ คือ การสร้างเเรงกระเพื่อมทางสังคมทำให้สังคมนั้นรับรู้ เรียนรู้ เข้าใจต่อปัญหาการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน เเละ ขบวนการต่อสู้ของประชาชนม่วงงามในการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อปกป้องรักษาทรัพยากรหาดทรายนั้น ทำให้ศาลนั้นใช้ข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจมากขึ้น กรณีม่วงงามที่ประชาชน นักวิชาการ ทนาย เเละผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เรียบเรียงข้อมูลนำส่งสู่ศาลเพื่อพิสูจน์ประเด็นการกัดเซาะชายฝั่ง จนทำให้ศาลเชื่อได้ว่าหาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง เเละหักล้างข้อมูลของกรมโยธาธิการได้นั้น เป็นการยืนหยัดโดยใช้ข้อมูล เเละทำให้เห็นพลังของประชาชนที่ใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการปกป้องสิ่งเเวดล้อม จนนำมาสู่ความยุติธรรมทางสิ่งเเวดล้อมได้

เเต่อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ของประชาชนม่วงงามในโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงาม ยังไม่ไปถึงเส้นชัย ประชาชนม่วงงามต้องออกเเรง ลงเเรง ร่วมด้วช่วยกันในการยืนหยัดต่อศาล เเละสังคมว่าชายหาดม่วงงามควรเป็นไปในทิศทางไหน เเละท้ายที่สุด หากการปกป้องชายหาดม่วงงามสำเร็จทั้งในกระบวนการของศาล เเละการที่ชุมชนมีความเข้มเเข็งมากพอที่จะกำหนดเจตจำนงของชุมชน สามารถส่งต่อทรัพยากรหาดทรายอันงดงามเเละอุดมสมบูรณ์ไปยังคนรุ่นหลังได้ นั้นคือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนม่วงงาม

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s