รอดักทราย คืออะไร ?

Beach for life พาเพื่อนๆไปสำรวจเรื่องราวของรอดักทรายในประเทศไทย

เมื่อวันก่อน Beach for life นำเสนอเรื่องการรื้อรอดักทรายบริเวณพระราชนิเวศน์มฤคทายวันไปแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า “รอดักทราย” คืออะไร ทำหน้าที่อะไร วันนี้ Beach for life จะมาช่วยไขข้อสงสัยกัน

รอดักทราย หรือ คันดักทราย เป็นหนึ่งในโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง มีลักษณะคล้ายกำแพงป้องกันคลื่นริมชายฝั่งทะเลแต่สร้างตั้งฉากกับแนวชายฝั่งทะเล เพื่อ ดักตะกอนทรายที่เคลื่อนที่ตามแนวขนานกับชายฝั่งทะเล ทำให้การพัดพาตะกอนทรายช้าลง
รอดักทราย ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนทราย ป้องกันการพัดพาตะกอนทรายออกนอกชายฝั่ง ช่วยลดพลังงานคลื่นและอิทธิพลของกระแสน้ำเลียบชายฝั่งได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจมีรูปร่างแตกต่างกันเช่นเป็นรูปตัว T ตัว I ตัว Y โดยสามารถใช้วัสดุได้หลายประเภท เช่น ไม้ หินทิ้ง คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นต้น

ผลกระทบของรอดักทรายนั้น จะทำให้เกิดการกัดเซาะทางด้านท้ายน้ำ (Downdrift) และทับถม ด้านเหนือน้ำ (Updrift) อาจเกิดอันตรายสำหรับการเล่นน้ำบริเวณใกล้โครงสร้าง และเกิดอันตรายต่อการเดินเรือประมงขนาดเล็ก เนื่องจากกระแสน้ำปั่นป่วนบริเวณใกล้โครงสร้าง ส่งผลเสียต่อทัศนียภาพริมทะเล หากมีคลื่นลมพายุขนาดใหญ่ มักเกิดความเสียหายด้าน บนของคันดักตะกอน ต้องมีการซ่อมแซมเป็นประจำ (www.Beachlover.net)

ปัจจุบันหากจะมีการก่อสร้างรอดักทราย จะต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ก่อนดำเนินการก่อสร้าง เราจึงไม่ค่อนมักเห็นรอดักทรายบริเวณชายฝั่งสักเท่าไหร่ เนื่องจากมีขั้นตอนทางกฎหมายมากมายกว่าจะก่อสร้างได้

ประกาศเเนบท้ายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม ระบุ รอดักทรายเป็นโครงสร้างที่ต้องทำ EIA ตามประกาศ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556

เรารู้จักโครงสร้างรอดักทรายกันแล้วว่าคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไร Beach for life อยากพาเพื่อนไปสำรวจรอดักทรายที่สร้างในประเทศไทยกัน และมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับรอดักทรายที่น่าสนใจ
กรณีแรก รอดักทราย คาบสมุทรตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

  • การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำโกลก และ รอดักทราย เรื่อยมาทางทิศเหนือตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตร บนคาบสมุทรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงบริเวณด้านเหนือรอดักทรายตัวสุดท้าย จนทำให้ที่ดินถูกกัดเซาะชายฝั่ง ไป 18 ไร่ จาก 20 ไร่ ทำให้เจ้าของที่ดินฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองสงขลา และต่อสู้คดียาวนานกว่า 16 ปี จนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาออกมา และได้อ่านคำพิพากษาเมื่อ 10 มิถุนายน 2563 ให้กรมชลประทานชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีจำนวน 2.224 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่ผู้ฟ้องตามส่วนของการชนะคดี กรณีทำให้เห็นว่า ศาลปกครองสูงสุดเชื่อว่าการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นทำให้ที่ดินของผู้ถูกฟ้องคดีหายไป เกิดจากโครงสร้างของกรมชลประทานที่สร้างลงไปในทะเล จนทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง(ข้อมูล http://www.Beachlover.net)
  • กรณีที่สอง ที่เราเคยนำเสนอไปแล้ว คือ การรื้อถอนรอดักทรายจำนวน 3 ตัว หน้าพระราชนิเวศมฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี เรื่องราวนี้เกิดขึ้น จากการที่ คณะกรรมการนโยบายและแผนบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้ประชุม เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 และมีมติที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศชายหาดในพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ ให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ โดยรื้อรอดักทรายจำนวน 3 ตัว คือ ตัวที่ 3 ตัวที่ 4 และ ตัวที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันฯ ร่วมกับใช้มาตรการเสริมอื่นๆที่จำเป็น ซึ่งทำให้กรมเจ้าท่าต้องตั้งงบประมาณในปี 2566 เพื่อรื้อถอนโครงสร้างรอดักทรายบริเวณหน้าพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จำนวน 3 ตัว และฟื้นฟูชายฝั่งด้วยมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมต่อไป

2 เรื่องราวที่นำมาเล่าให้เพื่อนๆฟังเพื่อให้เรารู้จักรอดักทราย ซึ่งเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งกันมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

1. คดีประวัติศาสตร์ “หาดกัดเพราะรัฐสร้าง” คาบสมุทรตากใบ นราธิวาสhttps://beachlover.net/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%9A-%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA/

2. รื้อรอดักทรายพระราชนิเวศน์มฤคทานวัน https://beachforlifeorg.wordpress.com/2022/03/04/%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%80/?fbclid=IwAR2pwnSemug4n9hX_7DorLlKr0QJ294wQnSBMhqswEzvGD_xuTybl8vsz7A

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s