ชายหาดไม่กัดเซาะชายฝั่ง จะสร้างกำแพงกันคลื่นทำไม ?

Beach for life ชวนสำรวจ 3 ชายหาดที่ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงแต่มีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง

ก่อนจะไปสำรวจชายหาดแต่ละหาด เราต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า จริงๆแล้วธรรมชาติของชายหาดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ในช่วงมรสุมชายหาดจะเกิดการกัดเซาะจากคลื่น มรสุม พายุ ทำให้เราเห็นชายหาดในช่วงมรสุมหดสั้นลง และเมื่อผ่านมรสุมไปแล้วชายหาดจะฟื้นคืนสภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม ซึ่งกระบวนการชายฝั่งนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องตราบที่ไม่มีการรบกวนสมดุลชายฝั่ง

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงชายหาดนั้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงมรสุมกัดเซาะ ผ่านมรสุมเเล้วหาดฟื้นคืนกลับมา ซึ่งธรรมชาติชายหาดก็มีลักษณะเป็นเช่นนี้ ดังนั้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แล้วทำไมจึงต้องมีกำแพงกันคลื่น


ที่ผ่านมานั้น ความเข้าใจเรื่องกระบวนการชายฝั่งในประเทศไทยมีความรู้ความเข้าใจน้อยมาก ทำให้ตลอดแนวชายฝั่งมีโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ หรือเอกชนอยู่ติดประชิดชายหาด โดยเฉพาะถนนเรียบชายฝั่งทะเล ซึ่งมักสร้างบนสันดอนทราย ทำให้ในบางช่วงคลื่นเข้ามาถึงถนน และกัดเซาะถนน การกัดเซาะถนนที่สร้างประชิดชายหาดนี่แหละ ที่เป็นต้นตอทำให้รัฐอ้างเหตุผลในการป้องกันชายฝั่ง โดยการสร้างกำแพงกันคลื่น ประกอบกับในบรรดาโครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบเข็งในตอนนี้ มีเพียงกำแพงกันคลื่นที่ไม่ต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ทำให้เราเห็นกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งของประเทศไทย และหากพิจารณากันจริงๆแล้วชายหาดเหล่านั้นกัดเซาะชายฝั่งจริงๆจนต้องป้องกันด้วยกำแพงกันคลื่นที่มีมูลค่าโครงการต่อกิโลเมตรเกือบ 100 ล้านบาทเลยหรือไม่นั้น ชวนมาสำรวจจากข้อเท็จจริง 3 พื้นที่ชายหาด

1. ชายหาดม่วงงาม จังหวัดสงขลา ชายหาดไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด พบ การกัดเซาะและทับถมสลับกันไป โดยเกิดการกัดเซาะมากที่สุดด้วยอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง 1.946 เมตรต่อปี (การกัดเซาะน้อย 1-5 เมตรต่อปี) และพบการทับถมมากที่สุดในช่วง เม.ย.2558 ถึง ส.ค.2558 ในอัตรา 4.029 เมตรต่อปี ทั้งนี้พบว่าในภาพรวมตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2562 ชายหาดม่วงงามระยะทาง 630 เมตรในหมู่ที่ 7 นี้ ชายหาดเกิดเปลี่ยนแปลงสุทธิในลักษณะของการทับถมในอัตรา 1.929 เมตรต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานสถานภาพชายฝั่งทะเลที่รายงานต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปี 2561 (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2562) ที่ไม่พบข้อมูลการกัดเซาะชายหาดม่วงงามอยู่ในรายงาน(www.Beachlover.net) นอกจากนั้นแล้ว การเก็บข้อมูลสภาพชายหาดตั้งแต่ปี 2563 – ปัจจุบันต่อเนื่อง โดยกลุ่ม Saveหาดม่วงงาม ยืนยันชัดเจนว่าชายหาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง
ในกรณีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดม่วงงาม มีการฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองสงขลา โดยศาลปกครองสงขลาได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในศาลชั้นต้น และมีคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ยืนตามศาลชั้นต้นให้ชะลอการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการ โดยศาลเห็นว่า สภาพชายหาดไม่ได้ถูกกัดเซาะชายฝั่ง และกำแพงกันคลื่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อชายหาด ทำให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว

2. ชายหาดดอนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชายหาดแห่งนี้ ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงเช่นกัน การศึกษาข้อมูลสภาพชายหาดพบว่า ชายหาดมีการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงในปี 2559 ปีเดียวหลังจากนั้นก็มีการทับถมตัวอย่างต่อเนื่องปี เฉลี่ย 3.2 เมตรต่อปี ซึ่งประชาชนในพื้นที่หาดดอนทะเลนั้น เห็นว่าการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นในปี 2559 ก็จริง แต่หลังจากนั้นชายหาดก็ไม่กัดเซาะชายฝั่งอีก ตัวอย่างชายหาดที่มีการสร้างกำแพงกันคลื่นใกล้เคียงนั้นสร้างผลกระทบต่อชายหาดรุนแรงทำให้ประชาชนในพื้นที่นำข้อมูลสภาพชายหาด และความเห็นของประชาชนที่มรการสำรวจข้อมูลโดยองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี ซึ่งพบว่า ประชาชน 155 คนไม่เห็นด้วยกับโครงการจากการสำรวจ 195 คน ทำให้ท้ายที่สุดกรมโยธาธิการและผังเมือง ต้องยกเลิกโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดดอนทะเล ไปในวันที่ 28 สิงหาคม 2564 และปัจจุบันชายหาดดอนทะเล ไม่พบสภาพการกัดเซาะชายฝั่ง และชุมชนได้ร่วมกันฟื้นฟูสภาพชายหาดโดยการรักษาพืชชายหาด

3. ชายหาดมหาราช จังหวัดสงขลา ชายหาดแห่งนี้ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งในปี 2558 เพียงปีเดียว ชายหาดมหาราชระยะทาง 1.9 กิโลเมตรเกิดเปลี่ยนแปลงสุทธิในลักษณะของการทับถมในอัตรา 0.431 เมตรต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นชายหาดที่มีเสถียรภาพ (น้อยกว่า 1 เมตรต่อปี) ตามเกณฑ์ที่ระบุไว้โดยกรมทรัพยากรธรณีและยึดถือปฏิบัติมาถึงกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2562) โดยพบว่าการกัดเซาะที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมของปี 2558 (ค.ศ.2015) นั้น กระบวนการทางธรรมชาติของชายหาดได้คืนสภาพหาดให้กลับมาสมดุลอีกครั้ง หากเป็นการกัดเซาะในลักษณะถาวรจะส่งผลให้ชายหาดสูญเสียสมดุลอย่างถาวรและไม่สามารถฟื้นคืนสภาพกลับมาได้

จากข้อเท็จจริงการกัดเซาะชายฝั่งจากชายหาดทั้ง 3 แห่ง ที่เราชวนไปสำรวจจะพบว่า ชายหาดมีการกัดเซาะชายฝั่งในช่วงมรสุมบางฤดูการที่รุนแรง แต่ไม่กระทบต่อทรัพย์สิน และโครงสร้างสาธารณูปโภคของรัฐแต่อย่างใด และเมื่อผ่านมรสุมไปชายหาดสามารถฟื้นฟูสภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิมด้วย ใน 3 กรณีหลังจากการกัดเซาะชายฝั่งหาดมีการงอกสะสมเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น ชายหาดที่มีการเปลี่ยนแปลงชายหาดเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการโครงสร้างแข็งมาป้องกันชายฝั่งแต่อย่างใด แต่ควรปล่อยให้ธรรมชาติได้ปรับสมดุลตามธรรมชาติ และเรามีหน้าที่ค่อยติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เเต่หากเราสร้างกำเเพงกันคลื่น หรือ รบกวนสมดุลชายฝั่ง การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวจะกลายเป็นการกัดเซาะชายฝั่งถาวรทันที

อ้างอิงข้อมูล

– ชายหาดม่วงงาม https://beachlover.net/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%95-%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%a1-3-5/
https://beachforlifeorg.wordpress.com/2021/11/02/save-%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%a1-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b9%89-%e0%b8%9a%e0%b8%97

– ชายหาดดอนทะเล https://beachlover.net/%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a7-%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/

– ชายหาดมหาราช https://beachlover.net/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%ad/

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s