10 ชายหาด ที่ถูกเปลี่ยนเป็นกำเเพงกันคลื่น ปี 2563-2564

Beach for life
จัดอันดับ 10 ชายหาดที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นกำเเพงกันคลื่น ในช่วงปี 2563 – 2564

ชายหาดที่ถูกจัดอันดับนี้ เดิมมีสภาพเป็นหาดทราย สวยงาม หลายชายหาดเป็นหาดท่องเที่ยวของจังหวัด บางพื้นที่เป็นชายหาดชุมชน ที่ใช้ประโยชน์ในการจอดเรือ ทำประมงริมชายฝั่ง เเต่ถูกรัฐสร้างกำเเพงกันคลื่นทับบนชายหาด จนไม่เหลือสภาพหาดทรายดังเดิม เเละเกิดการกัดเซาะต่อเนื่อง 

นอกจากประเด็นเรื่องการเปลี่ยนเเปลงสภาพชายหาดเป็นกำเเพงกันคลื่นเเล้วนั้น ยังพบว่า มูลค่าต่อกิโลเมตรของกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได เฉลี่ยกิโลเมตรละ 100,000,000 บาท หากเป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบหินเรียง ตกเฉลี่ยกิโลเมตรละ 80,000,000 บาท
นั้นหมายความว่า นอกขากเราจะเสียชายหาด สูญเสียภูมิทัศน์ที่งดงามเเล้ว ยังต้องเสียงบประมาณมหาศาลเพื่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

Beach for life  ขอพาไปดู 10 ชายหาด ในช่วงปี 2563-2564  ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นกำเเพงกันคลื่น จนไม่เหลือสภาพหาดทรายอีกต่อไป

1. หาดเกาะเเต้ว อำเภอเมือง จ.สงขลา
โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดบ่ออิฐ – หาดเกาะเเต้ว อ.เมือง จ.สงขลา โดยกรมเจ้าท่า ความยาว 3,450  เมตร  เป็นโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นในลักษณะเรียงหินใหญ่ เเละ มีงานปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหลังกำเเพงกันคลื่น
หาดเกาะเเต้วเเห่งนี้ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นกระทบต่อเนื่องจากเขื่อนกันทรายเเละคลื่นปากร่อนน้ำนาทับ เเละเขื่อนกันคลื่น จำนวน  ตัว  อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะต่อเนื่องจนถึงถนน การกัดเซาะหาดทรายในเเทบนี้ถือว่าเป็นมหากาฬ ที่เมื่อสร้างโครงสร้างเสร็จปุ๊บก็กัดเซาะทันที ทำให้มีโคสร้างป้องกันเกิดขึ้นเรื่อยตลอดเเนวชายหาด จนท้ายที่สุดกรมเจ้าท่า ทุ่มงบ สร้างกำเเพงกันคลื่นยาว 3 กิโลเมตร เพื่อป้องกัน
เเต่สิ่งที่ตามมาคือ การกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่องมาจนถึงหาดในเขตตำบลเขารูปช้าง เเละทำให้สภาพหาดเเห่งนี้หายไปอย่างถาวร

2. หาดทรายเเก้ว  อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
หาดทรายเเก้ว หรือหาดเเก้ว นั้น เรียกได้ว่าไท่เหลือสภาพชายหาดที่อดีตเคยเป็นหาดกว้าง ทรายสีขาวดุจเเก้ว อีกต่อไป เมื่อมีโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นบริเวณหาดเเห่งนี้ 4 โครงการต่อเนื่อง ตั้งเเต่บริเวณหน้าบ้านพักพลเอกเปรม ยาวไปทางด้านเหนือเกือบ 3 กิโลเมตร

3. หน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหสัดสงขลา
หาดเเห่งนี้อาจเรียกได้ว่า หาดกัดเซาะเพราะ รัฐสร้างกำเเพงกันคลื่น บริเวณนี้ย้อนประวัติการกัดเซาะชายฝั่งไป พบว่า ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งรุนเเรง เเต่เมื่อมีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบเรียงหินระยะที่ 1 ของกรมโยธาฯ ทำให้เกอดการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่อง จนเกิดโครงการระยะที่ 2 เเละ 3 ต่อมา ปัจจุบันหาดเเห่งนี้ได้เปลี่ยนสภาพจากหาดทรายขาว กลายเป็นกำเเพงหินยาวตลอดเเนวชายหาดปากคลองระวะ ถึง บ้านหน้าสตน เเละจุดสิ้นสุดกำเเพงกันคลื่นในปัจตุบันได้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งรุนเเรงเเละบ้านเรือน สวนมะพร้าว ที่ดินของประชาชนเกิดการกัดเซาะเสียหายเพราะกำเเพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการ

4. หาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กรมโยธาธิการได้ดำเนินการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น 3 ระยะโครงการ โดยมีลักษณะเป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได เเละมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหลังกำเเพงกันคลื่น กำเเพงกันคลื่นหาดมหาราชในระยะที่ 2 นั้น ถือได้ว่าดป็นกำเเพงกันคลื่นที่เเพงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ มูลค่าเฉลี่ย 152 ล้านบาทต่อกิโลเมตร เเละล่าสุดในพื้นที่โครงการระยะที่ 3 นั้น ตั้งอยู่บริเวณที่จอดเรือของชาวประมง เเละหาดบริเวณนั้นไม่ทีการกัดเซาะชายฝั่งเเต่อย่างใด

5. ราไวย์ อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
หาดทรายของชุมชนที่ปัจจุบันถูกเเทนที่ด้วยกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได ซึ่งเมื่อน้ำขึ้นจะมีสภาพชายหาดให้เห็น จะพบเห็นหาดทรายในช่วงน้ำลงต่ำสุดเท่านั้น

6. ท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ที่นี่ถือได้ว่าชายหาดถูกเปลี่ยสภาพจากหาดทรายกลายเป็นกำเเพงหินไปโดยสมบูรณ์ ชาวประมงในพื้นที่บอกว่า หาดที่ไม่กัดเซาะชายฝั่งรุนเเรง เเต่กรมเจ้าท่ามาสร้างกำเเพงกันคลื่นทำให้หาดทรายหายไป เเละทีาสำคัญคือ มาสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบหินเคลือบน้ำยา เเละ เเบบตอกเสาเข็มเเล้วนำทรายกลบทับ เเต่โครงสร้างทั้งสองพังเสียห่ยภายใน 1 ปี ทำให้ต้องวางหินเรียงใหญ่ตลอดเนว กลายเป็นการก่อสร้างที่ไม่มีประสิทธิภาพเเละกระทบต่อชุมชนท่าบอน

7. ปากเเตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา กรมโยธาธิการได้ดำเนินการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบเรียงหิน เเละเเบบขั้นบันได จากหาดทรายขาว ปัจนุบันกลายเป็นกองหิน เเละเกิดการกัดเซาะด้านเหนือของโครงสร้างต่อไป

8. ชะอำใต้ จังหวัดเพชรบุรี กรมโยธาฯ ดำเนินการสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได ปัจจุบันไม่เหลือสภาพชายหาดอีกต่อไป พบเห็นหาดหาดได้ตอนน้ำลงเท่านั้น

9. หาดบ้านเพ จ.ระยอง กรมโยธาฯ ดำเนินการสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได ปัจจุบันไม่เหลือสภาพชายหาดอีกต่อไป พบเห็นหาดหาดได้ตอนน้ำลงเท่านั้น

10. หาดสมบูรณ์ จ.สุราษฎร์ธานี พื้นที่ชายหาดสมบูรณ์นั้นไร้การกัดเซาะชายฝั่งรุนเเรง เเต่กรมโยธาเลือกดำเนินการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น ความยาว 970 เมตร ตลอดเเนวชายหาดบริเวณนั้นไม่มีบ้านเรือน หรือ ถนนสายสำคัญตัดผ่าน จนเป็นเหตุให้ป้องกัน

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s