ชัยชนะประชาชน ยกเลิกกำเเพงกันคลื่นหาดดอนทะเล เเละอนาคตที่ต้องไปต่อ

คำว่า “หาดดอนทะเล” คงเป็นชื่อชายหาดที่ไม่คุ้นหูสำหรับใครหลายคน เเละเชื่อว่า หลายคนคงได้ยินชื่อชายหาดแห่งนี้เป็นครั้งเเรก

หาดดอนทะเล เป็นชายหาดเล็กๆ ในชุมชนตำบลคันธุลี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างที่เกริ่นมาว่าหาดดอนทะเลเเห่งนี้ไกลจากการรับรู้ของผู้คน เพราะเป็นชายหาดของชุมชนที่ชาวประมงในตำบลคันธุลี ใช้ประโยชน์ชายหาดในการหาหอย จอดเรือ เเละพักผ่อน มีส่วนของชายหาดดอนทะเล ที่ชุมชนช่วยกันสรรค์สร้างตลาดหนองน้ำดอนทะเล เพื่อหวังว่าจะเป็นตลาดของชุมชน เเละเก็บรักษาสภาพเเวดล้อมชายหาดบริเวณนั้นไว้

ถึงเเม้หาดดอนทะเล อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะห่างไกลการรับรู้ของผู้คน เเต่ก็ไม่เเคล้วที่จะมีกำเเพงกันคลื่น เกิดขึ้นที่หาดเเห่งนี้

โครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดอนทะเล โดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง ความยาว 1,238 เมตร ตลอดเเนวชายหาดดอนทะเล มูลค่าโครงการกว่า 70,000,000 บาท โดยมีลักษณะเป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบเรียงหินใหญ่ที่วางทับชายหาดดอนทะเลตลอดทั้งเเนวชายหาด

การก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดดอนทะเล นำมาซึ่งคำถามมากมายจากชุมชน ทั้งเรื่องความจำเป็นในกาก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเพื่อป้องกันชายฝั่ง เนื่องจากชายหาดดอนทะเลไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง มีการทับถมของตะกอนทรายทำให้หาดงอกไปเฉลี่ย 3.8 เมตรต่อปี เเละบริเวณพื้นที่ชายหาดนั้นไม่มีบ้านเรือนของประชาชนเเต่อย่างใด ดังนั้นกาก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นโดยอ้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งนั้น จึงเป็นสิ่งที่ขัดเเย้งต่อสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เเละผลกระทบของกำเเพงกันคลื่นต่อชายหาดดอนทะเล เนื่องจากหาดใกล้ๆ ดอนทะเล คือ หาดสำเร็จ นั้น มีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบเดียวกันกับหาดดอนทะเล ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่อง เเละชายหาดที่เคยเป็นพื้นที่หาหอยของชุมชน กลายเป็นกำเเพงกันคลื่น ไร้ชายหาดอย่างที่เคยเป็นในอดีต ทำให้ประชาชนตำบลคันธุลี เริ่มตั้งคำถามเเละออกมาเรียกร้องไม่ให้มีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดดอนทะเล

การเคลื่อนไหว เเละคัดค้านกำเเพงกันคลื่นหาดดอนทะเลเริ่มต้นขึ้นจากบทเรียนเชิงประจักษ์ของหาดสำเร็จ ชุมชนเริ่มศึกษาข้อมูลตามสื่อต่างๆ เเละทำหนังสือเรียกร้อฝต่อหน่วยงานให้ทบทวนนเลิกโครงการ ประกอบกับสร้างกระเเสสาธารณะในการรณรงค์ยกเลิกกำเเพงกันคลื่นหาดดอนทะเล มีการอภิปรายในสภาผู้เเทนราษฎร ถึง 3 ครั้งโดย สมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร 3 คน ได้เเก่ สส.ธีรภัทร พริ้งศุลกะ พรรคประชาธิปัตย์ สส. กัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี เเละ สส.ประเสริฐพงศ์ ศรนุวัตร พรรคก้าวไกล

ประชาชนดอนทะเล ได้ใช้กลไกลสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี ในการอภิปรายเพื่อให้ทบทวนโครงการมจนท้ายที่สุดทางองค์กรบริหารส่วนตำบลคันธุลี ได้มีการสำรวจความเห็นประชาชนต่อโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดดอนทะเล จำนวน 195 คน ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลคันธุลี ผลการสำรวจ ประชาชนไม่เห็นด้วยกับโครงการ จำนวย 155 คน เเละเห็นด้วยกับโครงการ 40 คน ทางองค์กรบริหารส่วนตำบลคันธุลี ได้ทำหนังสือขอยกเลิกโครงการโดยให้เหตุผลถึงสถานการณ์ สภาพชายหาดที่ไม่กัดเซาะชายฝั่ง เเละ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ถึงกรมโยธาธิการเเละผังเมือง

ต่อมาภายหลังจากการทำหนังสือของท้องถิ่น เเละกระเเสการเคลื่อนไหวของประชาชนดอนทะเล ทำให้ในวันที่ 28 สิงหาคม 2564 กรมโยธาได้มีหนังสือถึงสำนักงบประมาณ ขอยกเลิกโครงการเเละคืนงบประมาณกลับไปยังสำนักงบประมาณ ทำให้ โครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดดอนทะเลถูกยกเลิกโครงการอย่างเป็นทางการ

นี่คือที่มาเเละชัยชนะของชายหาดดอนทะเล Beach for life ชวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกองค์คาพยบของการเคลื่อนไหวยกเลิกโครงการหาดดอนทะเล มาพูดคุยในรายการ Beach Talk เพื่อถอดบทเรียน เเละมองไปข้างหน้าร่วมกันจากชัยชนะหาดดอนทะเล

คุณประภาส วัตถุ ตัวแทนชุมชนดอนทะเล

หาดกัดเซาะในระดับต่ำ อบต. บอกต้องสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ผมเป็นคนในพื้นที่ เมื่อปี 2559 มีมรสุมใหญ่ทำให้หาดดอนทะเลมีสภาพที่ถูกกัดเซาะ หลังจากนั้นชายหาดก็ฟื้นฟูตัวเองขึ้นมา เเละไม่กัดเซาะอีก ในครั้งแรกหลังจากที่ได้ทำประชาพิจารณ์ เราได้รับทราบแต่ข้อมูลด้านที่ดีของกำเเพงกันคลื่น แต่เมื่อเขื่อนหาดสำเร็จที่ใกล้ๆหาดดอนทะเลสร้างเสร็จและมรสุมกลับมาอีกครั้ง มันกลับกลายเป็นว่าหาดที่อยู่ตรงหัวและท้ายของเขื่อนถูกกัดเซาะจนเป็นเวิ้งและเกิดความเสียหายต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านหาดสำเร็จ เนื่องจากพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะจากผลกระทบของเขื่อนกันคลื่น ทำให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยที่สำคัญที่เป็นแหล่งทำกินของชาวบ้าน และหลังจากที่ชาวบ้านได้ศึกษาหาความรู้เองอีกด้านหนึ่ง ในครั้งที่ 2 ชุมชนก็ไม่เอาเขื่อนกันคลื่นอีก

 ชุมชนเราดวงดี เพราะมีประชากรที่ดี มีผู้ให้คำปรึกษาทางกฎหมายที่ดี มี ส.ส. ที่ดี มีองค์ความรู้ในเรื่องกำแพงกันคลื่นกับหาดทรายจาก Beach for lifr และทุกฝ่ายที่มาได้ถูกจังหวะเวลาทำให้ชาวบ้านมีพลังมากพอที่จะแสดงจุดยืนในการคัดค้านโครงการกำเเพงกันคลื่นหาดดอนทะเล

วันนี้บรรลุวัตถุประสงค์การปกป้องหาดดอนทะเล ขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องร่วมอ่าวไทย พลังของเรา ถ้าเราไม่สู้ก็ยากที่จะก้าวไปขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 เราต้องเข้มแข็ง อย่าฟาดฟันกันเอง เปลี่ยนจากศัตรูให้เป็นมิตร จากมิตรให้เป็นมิตรยิ่งกว่า เราจะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันช่วยเหลือกันได้

คุณกรรณิการ์ แพแก้ว สื่อพลเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ การรวมพลังของชุมชนที่พยายามหาความรู้ และได้รับการเรียนรู้จนเผยแพร่ความรู้ออกไปนอกชุมชนและการจัดกิจกรรม การบวชต้นไม้ บวชชายหาด เพื่อที่จะรักษาชายหาดไว้ เกิดจากพลังของชุมชนเกือบทั้งหมด แม้การเคลื่อนไหวจะทำได้ยากในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 แต่ชาวบ้านก็พยายามรักษาหาดทรายที่ทอดยาวสวยงามนี้กับวิถีชีวิตการหาหอยเสียบ หอยขาว เราซึ่งอยู่แถวกาญจนดิษฐ์ที่ไม่มีหาดทรายเหมือนบ้านดอนทะเล เเต่ก็รู้สึกว้าวมากที่ที่นี่มีชายหาดสวย

พอมีปรากฏการณ์ของหาดดอนทะเล นำมาสู่การพูดคุยกันของประชาชนในหลายองค์กรในจังหวัด เเละระดับภาคใต้ ได้ยกเรื่องของการกัดเซาะชายฝั่งมาพูดคุยในระดับภาคใต้และมีข้อตกลงร่วมกัน คือ การทวงคืน EIA กำแพงกันคลื่น  การกระจายอำนาจให้ชุมชนมีบทบาทในการอนุรักษ์พิทักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ เรียกร้องการบูรณาการของหน่วยงาน อย่างกรณีของหาดดอนทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้บอกอย่างชัดเจนว่าหาดที่นี่เป็นหาดที่สมดุลทั้งยังสมบูรณ์ แต่ทำไมถึงมีปัญหาเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในเรื่องของกำแพงกันคลื่นที่เข้ามาได้ อีนนี้สะท้อนการไม่บูรณาการกันระหว่างหน่วยงาน

การระเบิดจากภายใน ของคนในชุมชนทำให้มีองคาพยพจากภายนอก ที่มองเห็นและให้ความสนใจ ชุมชนที่ช่วยกันส่งเสริมเสียง ทำให้เกิดการช่วยเหลือกัน มากขึ้นเข้ามารวมพลังกันมากขึ้น

ดร. ประวีณ จุลภักดี นักวิชาการในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

ในปี 2564 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำแผน ส่งมาให้ผมอภิปรายและเสนอแนะ ดังนั้น นี่คือสิ่งที่ต้องยอมรับว่าโครงสร้างแข็งดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพที่จะป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้

กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน พื้นที่อื่น ๆ ต้องนำแบบอย่างของชุมชนบ้านดอนทะเลมาปรับใช้ เพียงแค่รวมตัวกันรับฟังความคิดเห็นหรือจัดเวทีทำประชาพิจารณ์อย่างเดียวไม่เพียงพอ แม้จะมีผู้ที่เห็นด้วย ผู้ที่ไม่เห็นด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงและโดยอ้อม แต่เมื่อมาอยู่รวมกันสุดท้ายก็จะยกมือเห็นด้วยตามกันไปด้วยความเกรงใจคนกันเอง

ในด้านการแก้ปัญหาของชุมชน ต้องชื่นชมพี่น้องว่าการยืนยันในจุดยืนของชุมชน การศึกษาหาข้อมูล การใช้ข้อมูล การทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญการที่ชุมชนมีการจัดตั้งองค์กร เครือข่ายและพิสูจน์ตนเองด้วยการฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การหาวิธีการอนุรักษ์ชายหาด ให้วิถีชีวิตของชาวบ้านดำเนินต่อไปได้ เป็นก้าวแรกของชัยชนะแล้ว

จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ที่มีการกัดเซาะรุนแรงมีเฉพาะที่ตำบลท่าชนะ ที่ตำบลพุมเรียงและที่อำเภอดอนสัก ตำบลชลคราม นอกจากนั้นไม่มีสภาพของการกัดเซาะ หาดอยู่ในสภาพที่สมดุล พื้นที่อื่น ๆ ไม่ถูกบันทึกอยู่ในสารบบของพื้นที่ที่มีสภาพถูกกัดเซาะ ตามข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แต่ที่ตำบลวังที่มีการสร้างเขื่อนป้องกันกลับไม่มีข้อมูลว่ามีการกัดเซาะ ในขณะที่บางพื้นที่ที่มีการกัดเซาะหาดมีสภาพสมดุลคือเป็นพื้นที่สีเขียว คือลักษณะที่ถูกกัดเซาะเดี๋ยวหาดก็คืนมา ถ้าเราไปสร้างเขื่อนสร้างกำแพงมันก็จะส่งผลต่อธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ที่ตำบลท่าชนะ ตอนนี้กลายเป็นอ่าง นี่คือปัญหาที่เกิดอย่างต่อเนื่อง

สส. ธีรภัทร พริ้งศุลกะ สส.พรรคประชาธิปัตย์

งบประมาณ 70,000,000 บาท กับโครงสร้างแข็ง 1.2 กิโลเมตร ในช่วงเดือนมิถุนายน ชาวบ้านมีเรื่องที่จะร้องเรียนมาที่ผม หลังจากที่ได้ลงพื้นที่และรับหนังสือ ก่อนที่จะนำเรื่องนี้ไปอภิปรายต่อในสภาก็หวังในใจว่าอย่างน้อยที่สุดก็อยากให้โครงการถูกเลื่อนไปก่อน แต่ถ้าอย่างมากที่สุดก็อยากให้โครงการนี้ถูกยกเลิกไปเลย ตอนนั้นยังไม่แน่ใจเพราะเมื่อมีคนที่ไม่เห็นด้วย ก็ต้องมีคนที่เห็นด้วย ทีนี้จะหาทางออกอย่างไรแก่คนที่เห็นด้วย ก็ต้องวิธีอื่น ๆ ในการรับมือ ซึ่งก็มีการใช้วิธีการทางธรรมชาติ ผมก็ได้ขอความช่วยเหลือไปยังกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้ามาช่วยดู  และทาง กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง เองได้ทำกิจกรรมเล็ก ๆ ร่วมกับชาวบ้านดอนทะเลในการปลูกป่าชายหาด ซึ่งวิธีธรรมชาติมันก็ต้องใช้เวลา ทำให้นี่เป็นก้าวแรกในการค่อย ๆ พิสูจน์ต่อไปว่าการแก้ปัญหาการกัดเซาะโดยใช้วิธีการทางธรรมชาติมันทำได้และจะมีการจัดกิจกรรมอย่างจริง ๆ จัง ๆ เพื่อจะเผยแพร่ออกไปสู่ภายนอกด้วย ผลจากก้าวแรกต้องชื่นชมทุกฝ่ายที่ทำให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ อนุรักษ์ธรรมชาติได้ ก็ค่อย ๆ ก้าวทีละก้าว 

ในส่วนประเด็นการทบทวนให้นำเอากำเเพงกันคลื่นกลับมาเป็นโครงการที่ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อมนั้น ทางพรรคประชาธิปัตย์ เเละพรรคก้าวไกล ก็ได้หารือก้น เเละเสนอให้มีการตั้งกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเเนวทางแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน ซึ่งมีการศึกษาเรื่องนี้ด้วย ผมคิดว่า อย่างน้อยที่สุดในวันนี้เรามี commitment ร่วมกันเเล้วว่าทำอย่างไรให้กำเเพงกันคลื่นกลับมาศึกษา
ผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA)อย่างรอบด้าน


สำหรับผมคิดว่า คนที่จะดูแลทรัพยากร ในพื้นที่ได้ดีที่สุดก็คือคนในชุมชน คนในชุมชนจะต้องวางแผนแนวคิดที่จะทำให้ยั่งยืนแก่คนรุ่นเราเองและเพื่อจะเชื่อมไปยังคนในรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย คนในชุมชนต้องหันหน้ามาคุยกัน ฟังคำปรึกษาของทุกฝ่ายเพื่อตกลงกัน เพราะมันจะเป็นความยั่งยืนของชุมชนท่าน

สส. กัญจน์พงศ์ วงสุทธนามณี สส.พรรคก้าวไกล 

ผมอยากตั้งคำถาม EIA กำแพงกันคลื่น เมื่อไหร่จะกลับมา ? ผมอยากให้ทุกคนติดตามเพราะหากได้รับการอนุมัติก็จะกลายเป็นรายงานของสภาผู้แทนราษฎร ในรายงานฉบับนี้จะมีข้อนึงระบุชัดเจนเลยที่ให้ภาครัฐชะลอโครงการแก้ไขปัญหาการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งใช้โครงสร้างและยังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA พร้อมทั้งศึกษาแนวทางในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างริมชายหาดที่ไม่ได้ๆใช้ประโยชน์แล้วและถูกทิ้งร้าง ซึ่งถูกระบุอยู่ในข้อสังเกตของกรรมาธิการ ก็จะยังต้องช่วยผลักดันกันต่อไปกับฝ่ายรัฐบาล

ผมเชื่อว่าชัยชนะของหาดทะเลเป็นชัยชนะที่ดีมาก แต่ผมเชื่อว่าเป็นเพียงชัยชนะในศึกเล็กเท่านั้นเองที่เราจะต้องสู้ต่อเพื่อปกป้องชายหาดที่เหลือของเรา 

ชาวบ้านต้องช่วยกันผลักดัน ช่วยกันส่งเสียงออกมาว่าเราต้องการให้ EIA กลับมาเหมือนปี 2556 แต่ต้อง mark ไว้ว่ากระบวนการ EIA นั้น ต้องทำโดยถูกต้อง กระบวนการ EIA ต้องไม่ผิดฝาผิดตัว ผิดวัตถุประสงค์ 

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือจะต้องนำ คำว่า “การกัดเซาะ” กลับไปอยู่ใน พรบ. ปภ. (พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550) ให้อยู่ในคำนิยามของภัยพิบัติ สิ่งนี้สำคัญอย่างไร? ถ้ามันไม่เข้านิยามภัยพิบัติ ผู้ว่า ฯ ไม่สามารถประกาศเป็นเขตภัยพิบัติได้ ผู้ว่า ฯ ก็นำงบป้องกัน งบเยียวยา งบทดรองของจังหวัดมาใช้ไม่ได้ ทีนี้ จะไม่มีหน่วยงานไหนที่มีทั้งเงิน ทรัพยากร องค์ความรู้เข้ามาช่วยชาวบ้านเมื่อมีปัญหาการกัดเซาะชั่วคราวได้ เมื่อชาวบ้านมีปัญหาที่เกิดจากการกัดเซาะ ก็จะต้องร้องอบต. แล้วอบต.ก็ต้องขอไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองและสุดท้ายกรมโยธาธิการและผังเมืองก็จะนำกำแพง ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งมาลง ลูปมันเป็นแบบนี้ แต่ถ้าเราแก้ที่ตัวกฎหมายให้การกัดเซาะชายฝั่งอยู่ในนิยามจของภัยพิบัติ ผู้ว่า ฯ ก็จะมีอำนาจในการที่จะนำเงินทดรองมาใช้ได้ แก้ปัญหาการกัดเซาะชั่วคราวนั้นได้ จะได้ช่วยกันคิดว่าจะใช้มาตรการชั่วคราวอย่างไรได้บ้างร่วมกับหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งร่วมกับกรม ทช. เป็นต้นถ้ามาตรการชั่วคราวนี้มันใช้ได้ มันแก้ปัญหาได้ ชาวบ้านก็จะไม่ต้อง นำเรื่องไปร้องเรียนอบต. มันก็จะตัดวงจรของลูปนี้ได้

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s