Beach for life จัดรายการ Beach Talk ชวนคุยเรื่องหาดทรายในหัวข้อ “กำเเพงกันคลื่นไปต่อหรือพอเเค่นี้ ?” โดยคุยกับ ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ได้ติดตามการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น เเละงบประมาณรายจ่ายปี 2564 เเละร่างรายจ่ายงบประมาณปี 2565 ซึ่งข้อมูลรายจ่ายงบประมาณนี้จะสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า หน่วยงานต่างๆจะให้กำเเพงกันคลื่นได้สร้างต่อ หรือ พอเเค่นี้ ? จาก Live ในเพจทำให้ Beach for life เรียบเรียงเนื้อหาจากการพูดคุยมีสาระใจความดังนี้
สถานการณ์การก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นในประเทศไทย
หากพูดถึงสถานการณ์ภาพรวมของการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในประเทศไทย เราจะพบว่าฝั่งอ่าวไทยจะมีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นค่อนข้างเยอะกว่าฝั่งอันดามัน เนื่องจากชายฝั่งอ่าวไทยมีลักษณะเป็นเส้นตรง ไม่เหมือนฝั่งอันดามันมีลักษณะเป็นกระเปราะ ซึ่งการเป็นกระเปาะทำให้ความเสียหายจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นไปลุกรามบานปลายไปชายหาดอื่นๆใกล้เคียง ในภาพรวม 3000 กว่ากิโลเมตร ของประเทศไทย โดยการดูจากภาพถ่ายดาวเดียม ประกอบกับการสำรวจภาคสนาม ซึ่งเราลงเก็บข้อมูลปลายปี 2562 พบว่ามีโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น 179 ตำแหน่ง ใน 23 จังหวัด หรือก็คือในทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล โดยมีระยะทางตามแนวชายฝั่งรวม 164.67 กิโลเมตร

หากเราเจาะลึกลงไปในเเต่ละชายหาด ซึ่งอยากยกตัวอย่างชายหาดสัก 2 จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เเละจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นจังหวัดที่พิเศษเพราะมีงบประมาณก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ จึงเลือก 2 จังหวัดยนี้มาเป็นตัวอย่าง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวชายหาดประมาณ 250 กิโลเมตร ถ้าดูในแผนที่ดาวเทียมจะพบว่า กำแพงกันคลื่นมันกระจุกตัวอยู่บริเวณหัวหิน และอีกตำแหน่งคือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งหากเราเอากำแพงกันคลื่นวิเคราะห์พบว่า ตลอดแนวชายฝั่ง 250 กิโลเมตร มีกำแพงกันคลื่น 15 % ตัวอย่างกำแพงกันคลื่นในจังหวัดประจวบฯ เช่น หาดปราณบุรี ที่ได้พูดถึงผลกระทบอยู่บ่อยๆในสื่อต่างๆ อ่าวน้อย ซึ่งมีการฟ้องร้องกันในชั้นศาลปกครองเพชรบุรี ต่อมาคือ อ่าวประจวบ เป็นกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง อีกพื้นที่หนึ่งคือ ทุ่งประดู่ กำแพงกันคลื่นยังสร้างไม่เสร็จ แต่โครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นที่ทุ่งประดู่ มีผลกระทบต่อชาวบ้าน จึงมีการฟ้องร้องกัน พื้นที่ที่กล่าวมาเป็นกำแพงกันคลื่นที่หยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพว่านี่คือกำแพงกันคลื่นหลายๆรูปเเบบที่หน้าตากเเตกต่างกันไป เป้าหมายของการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น คือ เพื่อการป้องกันพื้นที่ด้านหลังกำเเพงกันคลื่นให้ปลอดภัย เเต่สิ่งที่ตามมาในเชิงผลกระทบคือ การกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่องเเบบโดมิโน่ รวมถึงการสูญเสียพื้นที่ชายหาดหน้ากำเเพงกันคลื่นไป

ชวนดูกำแพงกันคลื่นหาดต่างๆ ทั่วประเทศไทย
- หาดชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นแบบขั้นบันไดขั้นเดียว ซึ่งยังสร้างไม่เสร็จ
- หาดพยูน จ.ระยอง ซึ่งเป็นกำแพงกันคลื่นแบบท่อซีเมนต์ธรรมดาวางอย่บนชายหาด
- หาดบางสัก จ.พังงา ซึ่งอย่างกรณีหาดบางสัก ดูเหมือนจะไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอะไร แต่ก็มีกำแพงกันคลื่น
- หาดดงตาล สัตหีบ จ.ชลบุรี มีงบปี 2564-2565 ก็น่าจะมีการสร้างต่อ ซึ่งหาดดงอ่าวน่าจะโดนขลิบด้วยกำแพงกันคลื่นทั้งหมดแล้ว
- หาดกระทิงลาย จ.ชลบุรี เป็นลักษณะของอิลักโตรโครน่าจะเป็นที่แรกๆที่มีการใช้อิลักโตรโครท
- หาดทรายรี จ.ชุมพร
- หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต ที่มีทางลาดลงไปและมีกำแพงแบบตั้งตรง

- หาดจอมเทียน พัทยา มีกำแพงกันคลื่น และกำลังจะมีการเติมทราย เหมือนหาดพัทยา เร็วๆคงจะมีการดำเนินการ
- แหลมตาชี จ.ปัตตานี เป็นแบบหินทิ้ง
- แหลมงู เกาะลันตา จ.กระบี่ กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได
- บางเนียน จ.พังงา เมื่อก่อนเป็นหาดทรายที่สวย แต่เมื่อรีสอร์ทแห่งหนึ่งเริ่มทำกำแพงกันคลื่น ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง จากนั้น รีสอร์ทที่เหลือก็เริ่มก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นบ้าง เมื่อทำกำเเพงกันคลื่นเเบบตั้งตรง ทำให้คลื่นสะท้อนกลับ เเละโครงสร้างกำเเพงกันคลื่นที่ทำมีเสถียรภาพต่ำ จึงเป็นที่มาที่ทำให้มีการวางหินหน้ากำเเพงกันคลื่นเพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับโครงสร้างกำเเพงกันคลื่น
- หาดเทพา จ.สงขลา เป็นของเอกชนเเห่งหนึ่ง เป็นลักษณะกำเเพงกันคลื่นตั้งตรง
- หาดปากบารา จ.สตูล ทางทิศใต้ของลาน 18 ล้าน ตรงใกล้ทางขึ้นเรือไปเกาะหลีเป๊ะ
- หาดชลาทัศน์ เป็นกำแพงกระสอบทราย ซึ่งอยู่คู่หาดชลาทัศน์มา 10 ปีแล้ว
- หาดนางทอง เขาหลัก
- หาดคุ้งวิมาน จ.จันทรบุรี ทราบว่าทางหน่วยงานก็กำลังจะมีโครงการซ่อมแซมกำแพงกันคลื่นอันเก่าเพราะชำรุดเสียหาย
- บางปู จ.สมุทรปราการ กำแพงกันคลื่นตัวนี้เป็นกำแพงที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงสุด เท่าที่มีข้อมูลคือ 172 ล้านบาท ซึ่งเขาตั้งใจที่จะโปรโมทการท่องเที่ยวด้วยโดยมีการทำลานกิจกรรม ทางจักรยาน เป็นพื้นที่สาธารณะในการพักผ่อนหย่อนใจของคน และด้านหน้ากำแพงกันคลื่นก็มีหินเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับกำแพงกันคลื่น
- หาดนพรัตน์ธารา จ.กระบี่ เป็นกำเเพงกันคลื่นลักษณะเกเบี้ยน
- หาดบาเฆะ จ.นราธิวาส การวางหินทิ้ง
- เกาะยาวน้อย จ.พังงา
- หาดสวนสน จังหวัดระยอง เป็นกำแพงแนวดิ่ง
- เกาะสุกร จังหวัดตรัง กำแพงกันคลื่นนี้ยังสร้างไม่เสร็จ และกำลังจะมีโครงการต่อไป

ที่กล่าวมาคือกำแพงกันคลื่นที่สร้างเสร็จเเล้ว และหลังจากนี้จะพาไปดูกำแพงกันคลืนที่ยังสร้างอยู่ในปัจจุบัน
- หาดเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา ก่อสร้างโดยกรมเจ้าท่า ระยะทาง 3 กิโลเมตรกว่า เเบบเรียงหินใหญ่
- หาดบางเพล
- หาดทรายเเก้ว ชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบเเนวดิ่ง สร้างโดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
- หาดปากน้ำแขมหนู ลักษรณะขั้นบันได โดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
- หาดมหาราช จังหวัดสงขลา เป็นกำเเพงกันคลื่นเเบบขั้นบันได ความยาว 3 เฟส รวม 1,300 เมตร
- ปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นลักษณะหินเรียงใหญ่ ก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
- หน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นชายหาดที่ต่อเนื่องจากปากเเตระ โดยมีปากคลองระวะ เป็นตัวกัน มีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเเบบเรียงหินใหญ่ โดยกรมโยธาธิการเเละผังเมือง
- หาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ทั้งหมดนี้คือโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นที่เกิดขึ้นบนชายหาดทั่วทั้งประเทศไทย อันนี้เป็นบางส่วนของการก่อสร้างทั้งหมด ถ้าไม่เรียกว่า “กำเเพงกันคลื่นระบาด” เราก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร เพราะมันเต็มไปหมดทั่วชายหาดในประเทศไทย
ผศ.ดร สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง
งบประมาณก่อสร้างกำแพงกันคลื่น
ประเด็นต่อมาที่สำคัญเเละสืบเนื่องจากการก่อสร้าง คือ งบประมาณในการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น ซึ่งถ้ามาดูในงบประมาณล่าสุดคือ ปี 2564 เพื่อป้องกันการกัดเซาชายฝั่งจาก 3 กรม จะพบว่า ในจำนวน 80 โครงการ มีโครงการตั้งใหม่ด้วยงบ 2564 จำนวน 18 โครงการ 327 ล้านบาท คิดเป็น 18.84 % โดยทั้ง 18 โครงการมีเพียงโครงการเดียวที่ไม่ใช่กำแพงกันคลื่น คือ โครงการซ่อมบำรุงหัวหาดที่หาดพัทยา ที่เหลือ กำแพงกันคลื่นทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เราอาจตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเพราะการถอดกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA หรือไม่ ? เราถึงไม่เห็นโครงสร้างอื่นเลยในงบประมาณรายจ่ายปี 2564

นอกจากประเด็นงบประมาณที่สะท้อนเเต่โครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นเเล้วนั้น ยังพบว่า การรับฟังความคิดเห็นประชาชนในโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งะนั้น จะพบว่าทางเลทอกที่ให้กับประชาชนั้นมีเเต่ กำเเพงกันคลื่น โดยเทคนิควิธีคือ ให้รูปเเบบที่เเตกต่างกันออกไป เช่น กำแพงกันคลื่นแนวดิ่ง กำแพงกันคลื่นขั้นบันได กำแพงกันคลื่นแบบเรียงหิน กำแพงกันคลื่นแบบกระสอบ กำแพงกันคลื่นแบบเกเบี้ยน เเต่เมื่อพิจารณาเเล้วจะพบว่ารูปเเบบทั้งหมดนั้นคือกำเเพงกันคลื่นทั้งสิ้น จากข้อมูลในพื้นที่ต่างๆที่กำลังกำแพงกันคลื่น เช่น หาดหน้าสตน จ.นครศรีธรรมราช มี 5 ทางเลือก ก็เป็นกำแพงกันคลื่นทั้งหมด หาดม่วงงาม หาดมหาราช จ.สงขลา ก็เป็นกำแพงกันคลื่น หรือ หาดสมบูรณ์ หาดสำเร็จ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางเลือกที่ให้ชาวบ้านก็เป็นกำแพงกันคลื่นทั้งหมด ซึ่งอันนี้เป็นข้อสังเกตที่เราพบในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หากหน่วยงานจะทำให้ถูกต้อง เขาควรจะให้ทางเลือกที่หลากหลาย และให้ข้อมูลที่เป็นข้อดี ข้อเสียของแต่ละโครงสร้างในมิติต่างๆให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างรอบด้าน และมองประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก และชั่งน้ำหนักให้รอบด้าน

ในกรณีของหาดชลาทัศน์ เมื่อปี 2557 การรับฟังความคิดเห็นในตอนนั้น มีทางเลือกที่หลากหลายมากถึง 7 ทางเลือก เช่น ปล่อยไว้ไม่ทำอะไร เติมทราย เติมทรายและหัวหาด เติมทราย หัวหาด และโดมปะการังใต้น้ำ และวันนั้นมีการเสนอมาตรการที่ 8 ที่เป็นการรื้อโครงสร้างเดิมและเติมทราย เขาก็รับไปศึกษาและก็นำเสนอผลว่าไม่ต่างอะไรกับการเติมทรายอย่างเดียว และท้ายสุดประชาชนสงขลาก็เลือกการเติมทราย ซึ่งอันนี้ก็ทำให้ประชาชนมีทางเลือก และได้ฟังข้อดีข้อเสียของมาตรการ รูปแบบโครงสร้างแต่ละแบบซึ่งทำให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูล และมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น หรืออย่างกรณีหาดม่วงงาม จ.สงขลา กลายเป็นกำแพงกันคลืนหมดเลย ซึ่ง ก่อนที่จะมีโครงการมันมีคำถามหลักๆว่า จริงแล้วหาดม่วงงามกัดเซาะชายฝั่งหรือไม่ หากเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรงจริง คนม่วงงามอยากได้หาดทราย มาตรการแบบไหนที่จะทำให้ได้หาดทรายคืนมา ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเรามีคำถามแบบนี้ และตีโจทย์ให้แตก ไม่ปักธงตั้งเอาไว้ เราก็จะได้มาตรการที่หลากหลาย ที่ไม่ใช่แค่กำแพงกันคลื่น เราอาจเห็นการเติมทราย การปักไม้ หรือมาตรการอื่นๆ ซึ่งเป็นมาตรการที่ทำให้ได้ชายหาดกลับคืนมา เพราะประชาชนม่วงงามต้องการชายหาด และชายหาดไม่ได้กัดเซาะรุนแรงจนต้องทำกำแพงกันคลื่น ดังนั้น คงต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะไปหามาตรการที่หลากหลายมากเพียงพอ และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน สอดคล้องกับพื้นที่ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นทางเลือกให้กับประชาชน ไม่ใช่การสร้างกำแพงกันคลื่นไปเรื่อยอย่างที่ผ่านมา ซึ่งอันนี้เป็นข้อสังเกตในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ผ่านมาของหน่วยงาน
ในส่วนประเด็นงบประมาณต่อมาที่น่าสนใจ คือ งบประมาณปี 2563 ซึ่งวิเคราะห์ไว้เป็นรายจังหวัด จากข้อมูลมีข้อสังเกต จุดที่น่าสนใจหลายแห่ง และเป็นเหตุผลว่าทำไมกรณีตัวอย่างในช่วงต้น ถึงพูดถึงแต่พื้นที่ชายหาดในจังหวัดสงขลาและนครศรีธรรมราชเหตุผลเป็นเพราะ จ.สงขลา จ.ชุมพร จ.นครศรีธรรมราช เป็น 3 จังหวัดที่มีงบประมาณปี 2563 จาก 2 หน่วยงานคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่า ลงไปในจังหวัดเหล่านี้เพื่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเยอะที่สุด จังหวัดสงขลา พบว่ามีงบประมาณ รวมประมาณ 450,000,000 บาทในงบประมาณปี 2563 ดังนั้นเราจึงเห็นว่าสงขลาจึงมีเรื่องราวที่ถูกพูดถึงค่อนข้างมาก ซึ่งจากราฟจะพว่า 15 จังหวัดจาก 23 จังหวัดมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทั้งหมด

ลองมาดูงบประมาณต่ออีกนิดหนึ่ง หากเราเอาโครงการป้องกัชายฝั่งโดยเฉพาะกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการและผังเมือง ในปี 2533-2561 มาวิเคราะห์ดูเราจะพบว่า งบประมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีช่วงก้าวกระโดด ซึ่งจะพบว่า ในระยะเวลา 29 ปี สร้างแล้ว 45 กิโลเมตร และในช่วงปี 2557 หลังจากถอดประกาศกำแพงกันคลื่นออกจาก EIA งบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในปี 2534 มูลค่าก่อสร้างกำแพงกันคลื่น 10 ต่อกิโลเมตร และในปี 2561 มูลค่าการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น 117 ล้านบาท ต่อ 1 กิโลเมตร อันนี้ต่อให้คิดเรื่องอัตราเงินเฟ้อ 5 %ต่อปี แล้วก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้ค่าเงินเพิ่มขึ้นได้มากขนาดนี้ ซึ่งอันนี้เป็นข้อสังเกตว่าทำไมเรายิ่งมีค่าก่อสร้างที่แพงขึ้น

ซึ่งจากข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมาทำให้เราเห็นเเนวโน้มว่า การเติบโตของระยะทางก่อสร้างเป็นอย่างไร ค่าราคาต่อหน่วยยังเพิ่มขึ้นเเบบก้าวกระโดด คำถาม คือ คุ้มหรือไม่ การหยุดหรือชะลอออกไป เอาเฉพาะที่จำเป็นดีกว่าหรือไม่ เพราะนั้นหมายถึงว่า เราจะไม่สูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อความไม่จำเป็น ในการสร้างกำแพงกันคลื่นบนชายหาด
จากข้อมูลของ “ข้อมูลการสร้างกำแพงกันคลื่นชายฝั่งทะเล” หากดูจากกราฟจะเป็นงบประมาณตั้งแต่ปี 61 ซึ่งต้องอธิบายก่อนว่ามูลค่าของเงินในอดีตกับมูลค่าของเงินในปัจจุบันมันไม่เท่ากัน จากกราฟเป็นงบประมาณที่คิด ณ ปีที่สร้าง โดยโครงสร้างการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งมีมา 29 ปี จะเห็นได้ว่ากระโดดมากๆเริ่มตั้งแต่ปี 57 มูลค่า 10 ล้านบาทต่อ 1 กิโลเมตร แต่เมื่อเทียบกันในปี 61 มูลค่า 117 ล้านบาทต่อ 1 กิโลเมตร หากคิดในแง่ของเศรษฐศาสตร์แล้วราคาก้าวกระโดดขึ้นไปอย่างมากและไม่เป็นปกติเมื่อคิดตามอัตราเงินเฟ้อ 5% ต่อปี
ทางออกคืออะไร กำเเพงกันคลื่นควรไปต่อหรือพอเเค่นี้ ?
สิ่งที่น่าคิด คือ ที่ทำมาตลอด 20 กว่าปี บอกชัดว่าการเเก้ไขปัญหาด้วยโครงสร้างป้องกันายฝั่ง โดเฉพาะกำเเพงกันคลื่น ไม่ประสบความสำเร็จ เราควรจะหยุดก่อนหรือไม่ ? หากว่าเรายังใช้วิธีการเดิม ๆ ผลมันก็จะออกมาในรูปแบบเดิม ฉะนั้น เราต้องเปลี่ยน mindset ก่อน อย่างเรื่องการเติมทรายมันก็ใช้เวลาในการที่จะพูดกันจนรับกันได้ แต่ไม่ใช่ว่ามันจะทำไม่ได้เลย
เราอาจจะต้องมองปัญหาให้ออกก่อนว่าตัวการใหญ่ที่ทำให้เกิดการกัดเซาะ คือ เขื่อนป้องกันทรายปากร่องน้ำ ที่ทำให้เกิดการกัดเซาะ สามารถจะหาวิธีการถ่ายเทตะกอนทรายจากฝั่งที่ถูกดักไว้จากเขื่อนกันทราย ให้สามารถข้ามไปอีกฝั่งได้มันก็จะไม่ทำให้เกิดการกัดเซาะและเราก็ไม่จำเป็นต้องทำกำแพงกันคลื่นด้วยซ้ำ ทำได้แทนที่จะเอาทรายในบริเวณเขื่อนกันทรายเเละคลื่นไปทิ้งนอกชายฝั่ง
เมื่อก่อนที่หน่วยงานไม่ยอมรับและไม่ยอมทำความเข้าใจกับการถ่ายเททราย แต่เมื่อชาวบ้านแสดงจุดยืนเรื่องการถ่ายเททรายกับผู้กำหนดนโยบาย มีการฟ้องคดีกัน อย่างคดีสะกอม ทำให้หน่วยงานเเละฝ่ายนโยบายของรัฐเข้าใจ เเละเริ่มการถ่ายเททรายมากขึ้น

ประเด็นต่อมา คือ เวลาเราพูดการกัดเซาะชายฝั่ง มีเรื่องหนึ่งที่เราทุกคนต้องเข้าใจกันก่อน คือ “กัดเซาะแบบชั่วคราวควรใช้มาตรการแบบชั่วคราว” หรือวิธีการให้เหมาะกับสภาพของหาดชั่วคราวกับสภาพของหาดชั่วโคตร การที่จะนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามา บางครั้งหน่วยงานก็ตามไม่ทันทำให้ปิดโอกาสในการที่จะหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการที่จะแก้ปัญหาในเรื่องที่เรากำลังพูดกันอยู่ ซึ่งก็มีความเห็นที่อยากจะเสนอว่ามันคงต้องเริ่มจากการเปลี่ยน Mindset ของหน่วยงานว่าควรจะมี การจัดระเบียบโครงสร้างหรือแนวปฏิบัติต่อนโยบายอาจจะปรับใช้จากความเห็นที่เสนอบนสไลด์ข้างต้นก็ได้ ว่าในการที่จะวางโครงสร้างแบบชั่วคราวแต่ไม่ได้แปลว่าทุกที่จะต้องใช้รูปแบบชั่วคราวเหมือนกัน แต่จะต้องมีการวินิจฉัยแล้วว่าแบบไหนควรใช้กับพื้นที่ตรงไหน ให้หน่วยงานท้องถิ่นรับผิดชอบดูแลติดตามปัญหาไปก่อนหรือไม่ ในลักษณะแบบนี้ก็อาจจะไม่ต้องทำตัวรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เพราะเป็นแบบชั่วคราวแต่จะต้องชั่วคราวจริง ๆ ทำแล้วก็ต้องมีการรื้อถอนออกจึงจะเรียกว่าชั่วคราว อาจจะเป็นแนวคิดหนึ่งที่ผลนั้นจะสมประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้และสามารถทำได้จริง แต่ถ้ามันติดปัญหาอย่างไรก็ควรที่จะมาคุยกัน หาทางลงร่วมกัน มิใช่การปิดประตูทางออกหรือปักหมุดไปแล้วว่าทำไม่ได้ เช่นนี้มันก็จะไม่มีการหาเเนวทางอื่น ๆ ฉะนั้นหน่วยงานต้องเริ่มจากการเปิดประตูความเป็นไปได้เสียก่อน !

ยกตัวอย่างเช่น การใช้โครงสร้างยิ่งใหญ่อลังการเป็นงบประมาณหลัก 100,000,000 บาท ทิ้งลงไปบนชายหาดโดยที่ยอมรับว่าจะมีผลกระทบตามมา เลยทำโครงสร้างปิดทั้งชายหาดไปซะเลย ซึ่งจะเห็นได้จากเคสของมหาราช อ่าวน้อย เป็นต้น แล้วเรื่องอะไรจะต้องจ่ายเงิน 100,000,000 ล้าน เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นปิดถนนตั้ง 2 กิโลเมตร แทนที่จะซ่อมถนนที่ถูกกัดเซาะเฉพาะจุดซึ่งอาจใช้งบประมาณน้อยกว่า
ในส่วนของแนวคิดที่ก้าวหน้ามาก ๆ ซึ่งควรจะมีมา 10 ปี แต่ก็ยังไม่มี คือ “กำหนดมาตรการระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล” ตัวอย่างในรูปที่เห็นคือที่หาดดวงตะวันซึ่งเป็นโครงสร้างของถนนซึ่งเป็นทางตัน โครงสร้างพื้นฐานตั้งอยู่ประเทศไทยฝั่งมากจนได้รับผลกระทบจากคลื่นในฤดูมรสุมอาการที่มีโครงสร้างวางอยู่ประเทศไทยฝั่งแบบนี้มันทำให้คลื่นไม่สามารถที่จะ Exercise ตามธรรมชาติของมันได้เลย
ในต่างประเทศอย่าง อย่างที่ศรีลังกายังมีแนวถอยร่น 100 เมตร กลับกันถ้าเทียบกับความสามารถของประเทศไทยกลับไม่ได้มีการนำมาใช้

นอกจากระยะถ่อยร่นเเล้ว เรื่องที่ยังต้องพูดเเละเรียกร้องกันต่อ คือ “การนำกำแพงกันคลื่นกลับเข้าสู่กระบวนการ EIA” ความสำคัญของการที่จะต้องเอากลับมาคือเพื่อนำมาบังคับใช้กับกำแพงกันคลื่นที่เป็นแบบชั่วโคตรที่สำคัญคือจะต้องมีประชาชนอยู่ในนั้นด้วยเพราะการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA นั้น สามารถทำให้ประชาชนทราบถึงผลกระทบและการที่จะเยียวยาผลกระทบนั้นอย่างไร เพราะจาก 7 คดีที่มีการฟ้องร้องกันนั้นโดย 3 ใน 7 เป็นคดีเกี่ยวกับกำแพงกันคลื่น ได้แก่ คดีอ่าวน้อย เมื่อสิงหาคม 2559 คดีหาดม่วงงาม เมื่อพฤษภาคม 2563 และคดีหาดมหาราช เมื่อกันยายน 2563 เพราะฉะนั้นนำกระบวนการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA กลับมาไม่ใช่เพื่อให้มีการหยุดการสร้าง แต่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน เป็นการสร้างหลักประกันสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เเละชั่งน้ำหนักถึงความคุ้มค่า สมประโยชน์มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากดำเนินโครงการก่อสร้างไป

ส่วน “การใช้มาตรการอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบแทนการสร้างโครงสร้างต่อไปเรื่อย ๆ ” โดยการปรับแก้รูปแบบหรืออาจจะปรับแก้ผลกระทบท้ายน้ำ ผลกระทบด้านหน้า การลดผลกระทบโดยรวมหรือแม้แต่การลดผลกระทบด้านข้าง โดยการออกแบบโครงสร้างให้สอดรับกับธรรมชาติในการปะทะของคลื่น เพื่อที่จะลดการ Reflection ให้ได้มากที่สุด ดังนั้น ก่อนที่จะโครงสร้างชายฝั่งทะเลควรจะต้องตอบ 3 คำถามนี้ให้ได้ก่อนว่า ข้อ 1 เหตุผลความจำเป็น ข้อ 2 โดยการแสวงหาแนวทางเลือกทั้งหมดหาทางออกทางรอด และข้อ 3 แนวทางที่จะสามารถรักษาธรรมชาติของชายหาดเดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อที่จะให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด สามารถที่จะประสานทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียเข้าด้วยกันได้และส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนจริง ๆ มันควรจะถึงเวลาแล้วที่เราต้องปักหมุดใหม่ เจตนารมณ์ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อที่เราจะได้เก็บชายหาด 3,000 กว่ากิโลเมตรนี้ไว้ให้ลูกหลานได้ดูชมด้วยสัมผัสของตนเองไม่ใช่จากสมุดภาพหรือนิทรรศการหาดทราย มันควรจะหยุดได้แล้วกับการทำแบบเดิม แล้วสร้างปัญหาใหม่ แต่แก้ไขด้วยวิธีการเดิม ๆ ที่ก็รู้ว่าไม่ตอบโจทย์ ทั้งที่สามารถศึกษามาตรการทางเลือกอื่น ๆ ได้อีก
ทั้งหมดนี่ เป็นสถานการณ์ของชายหาดโดยเฉพาะกำเเพงกันคลื่น รวมไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับกำเเพงกันคลื่น เเละทางออกว่า เราควรจะจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล จัดการการกัดเซาะชายฝั่งอย่างไร ให้เกิดความยั่งยืน
บันทึกการพูดคุยโดย วาณีฎา วงศ์ปราณี อาสาสมัคร Beach for life