จดหมายเปิดผนึก “กำเเพงกันคลื่นต้องทำ EIA”

จดหมายเปิดผนึกถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม

เรื่อง ขอให้นำเอาโครงการประเภท “กำเเพงกันคลื่น” กลับมาเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม(EIA) โดยเร็วที่สุด

สืบเนื่องจากสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยที่ปัจจุบันมีการก่อสร้างโครงสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหรือกำแพงกันคลื่น(Sea wall) จากหน่วยงานของรัฐ ในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทยหลายโครงการ โครงสร้างกำแพงกันคลื่นนั้น เป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมที่สร้างติดประชิดชายฝั่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชายฝั่งไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่ผลกระทบของกำแพงกันคลื่นนั้น จะทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งด้านท้ายน้ำของโครงสร้าง และคลื่นที่เข้ามาปะทะกำแพงกันคลื่นจะกระซากทรายหน้ากำแพงกันคลื่นออกไป จากการติดตามโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเหล่านั้น พบว่า ตั้งแต่ปี 2556 ที่มีการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยมีเหตุผลเพื่อให้เกิดความคล่องตัวของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การตื่นเขินของร่องน้ำ เป็นต้น เมื่อโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ทำให้เกิดการโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 74 โครงการ ระยะทางรวม 34,875 เมตรตลอดแนวชายฝั่ง งบประมาณรวม 6,967,853,620 บาท (ข้อมูลการรวบรวมเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมืองและกรมเจ้าท่า ระหว่างปี 2557-2562 รวบรวมโดยกลุ่ม Beach for life) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น พบว่า หลายโครงการเป็นโครงการที่ไม่มีความจำเป็นในการดำเนินการก่อสร้าง และอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากกว่าผลดีที่อาจจะได้รับจากการดำเนินโครงการ และมิหนำซ้ำโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในหลายพื้นที่นั้นอาจไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง กล่าวคือ เมื่อสร้างเสร็จในพื้นที่หนึ่ง กำแพงกันคลื่นจะส่งผลกระทบทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในด้านท้ายน้ำ ซึ่งทำให้เป็นเหตุต้องสร้างกำแพงกันคลื่นต่อไปเรื่อยๆ ประกอบกับการกระแสการเคลื่อนไหวของประชาชน และนักวิชาการที่มีความห่วงกังวลต่อการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ตลอดไปถึงการเกิดกรณีพิพาทที่มีการฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ยุติการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นริมชายหาด เช่น กรณีหาดอ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรณีชายหาดม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และจากกรณีชายหาดม่วงงาม ทำให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในกรณีชายหาดม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งชี้ให้เห็นว่า โครงสร้างกำแพงกันคลื่น คือสิ่งแปลกปลอมบนชายหาด การก่อสร้างกำแพงกันคลื่นนั้นมีผลกระทบต่อชายหาด และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นั้น ได้ตรวจสอบพบว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ชายหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่าการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดมหาราช ระยะที่ 2 จ.สงขลา ไม่สอดคล้องกับสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนและไม่สอดคล้องกับการทำหน้าที่ของรัฐในการจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุและป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นตามหน้าที่และอำนาจที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2560 จึงมีมติเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พิจารณาทบทวนโครงการก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างริมทะเล เช่น กำแพงริมชายหาด ต้องจัดทำ EIAทั้งนี้ โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในอดีตนั้น เคยเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามขั้นตอนทางกฎหมายที่กำหนดให้เจ้าของโครงการต้องปฏิบัติ ซึ่ง การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหลักพึ่งระวังไว้ก่อน เป็นหลักประสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่จะเป็นการประเมินผลกรทบที่อาจจะเกิดขึ้นในมิติต่างๆ และมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ และมาตรการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ดังนั้นกระบวนการจัดทำ EIA จึงเป็นหลักประกันต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากากรดำเนินโรงการจะได้รับการป้องกันแก้ไข หรือมีมาตรการลดผลกระทบให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และเป็นหลักประกัดว่าประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียจะได้มีส่วนร่วมในโครงการอย่างแท้จริง การประกาศเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยให้เหตุผลเพื่อให้เกิดความง่ายต่อการดำเนินการของรัฐ สามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างทันท่วงทีนั้น จึงสามารถเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักเพียงพอในการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA เพราะด้วยการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลนั้นปัจจุบันใช้เวลานานกว่า 1 ปี กว่าจะดำเนินการ ถึงแม้ไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)

ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานั้น Beach for Life และประชาชนผู้ที่ห่วงใยต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหาดทราย ซึ่งกำลังถูกคุกคามและทำลายจากกำแพงกันคลื่น ซึ่งเป็นผลจากการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำรายงานการปะเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น จึงมีจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 1 ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(คุณวราวุธ ศิลปอาชา) ให้พิจารณานำเอาโครงการประเภทกำแพงกันคลื่นทุกขนาด (SEA WALL) เป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังเดิม โดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการหยุดยั้งการระบาดของกำแพงกันคลื่น เพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของท่านโดยตรง และสะท้อนให้เห็นว่าท่านไม่ได้มีเจตนาปล่อยปะละเลยให้เกิดการระบาดของกำแพงกันคลื่นจนทำลายชายหาดของประเทศไทย เพราะการนำโครงการประเภทกำเเพงกันคลื่น กลับมาทำ EIA คือ การสร้างหลักประกันสิทธิให้กับสิ่งเเวดล้อมเเละชุมชน ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ Beach for Life และประชาชนผู้มีหัวใจรักสิ่งแวดล้อม จะร่วมติดตามการติดตามการทำงานของท่านในการตามข้อเรียกร้องของเรานี้ อย่างใกล้ชิด

ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกได้ทาง เเบบฟอร์มนี้ https://forms.gle/GhTaAQkrSStMh8yy5#จดหมายเปิดผนึก#กำเเพงกันคลื่นระบาด#กำเเพงกันคลื่นต้องทำEIA

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s