ช่วงบ่าย บนเรือนักรบสายรุ้ง(เรนโบว์ วอร์ริเออร์) ของกรีนพีซ คนไทยที่มีหัวใจต่อหาดทราย มาสนทนา พูดคุย ในหัวข้อ “หาดทราย กับ ความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของมนุษย์
เริ่มต้นเสวนาบนเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ กับตันเรือ ในฐานนะตัวเเทนเจ้าของบ้านได้กล่าวตอนรับ เเละบอกเล่าเรื่องราวของมหาสมุทรที่กำลังเปลี่ยนเเปลงไป…
กัปตันเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ กล่าวต้อนรับ
ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ นี่เป็นเรือลำที่ 3 เรือลำแรกถูกระเบิดที่ประเทศนิวซีแลนด์โดยรัฐบาลฝรั่งเศสในปี 1988 เป็นปีที่เราพยายามที่จะต่อต้านการทดลองนิวเคลียร์ในมหาสมุทรเอเชียแปซิฟิกตอนนั้นพยายามที่จะย้ายคนชนเผ่าแถวนั้นเพราะถูกใช้เป็นหนูทดลอง
ทวีปเอเชียที่ปราศจากมลพิษเป็นแคมเปญที่เริ่มช่วงที่มาเมืองไทยครั้งแรก ลูกเรือที่มาที่เมืองไทยได้พบกับหลายหลายคนที่พยายามจะต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน สิ่งที่เขาเห็นคือประชาชนร่วมกันต่อต้านการใช้พลังงานถ่านหิน
ตอนนี้มหาสมุทรของเรามีภัย 3 อย่าง อย่างแรกคือการใช้พลังงานที่ไม่สะอาดหรือก็คือพลังงานถ่านหิน การเผาไหม้ของถ่านหินทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีปริมาณมากที่สุดจากการเผาไหม้ของพลังงานทั้งหมด ทำให้ชั้นบรรยากาศมีความร้อนมากขึ้น เมื่อมีการเผาไหม้ขึ้นไป 40% จะมีการลงมาที่มหาสมุทรทำให้มหาสมุทรมีความร้อนมากขึ้น และทำให้มหาสมุทรเป็นกรด ทั้งสองอย่างนี้ทำให้เกิดผลเสียหลายอย่าง เช่น ปะการังที่ออสเตรเลียซึ่งเป็นปะการังผืนใหญ่ที่สุดของโลกได้ตายไปประมาณครึ่งนึงแล้ว และ 80% ของปะการังที่อินโดนีเซียก็ได้ตายไปแล้วเช่นกัน และเชื่อว่าปรากฏการณ์นี้ก็เกิดขึ้นที่ประเทศไทยด้วย กรีนพีซเชื่อว่าทรัพยากรเหล่านี้เป็นของทุกคนบนโลก เราควรใช้ทรัพยากรเหล่านี้ให้คุ้มที่สุดเพื่อที่จะรองรับความต้องการของคนทั้งโลก สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือรอนิดนึงเพื่อให้ธรรมชาติได้เกิดการฟื้นตัวได้ อีกเรื่องก็คือขยะพลาสติกมีการคาดการณ์ว่าถ้าเรายังไม่แก้ไขภายใน 2-3 ปีหลังจากนี้ในทะเลจะมีพลาสติกมากกว่าสัตว์น้ำจริงๆแล้วสัตว์น้ำที่มีชีวิตอยู่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ก็มีพลาสติกอยู่ในตัวไปแล้วอาจจะมองไม่เห็น แต่กำลังมีอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทรของเรา ไม่รู้จะพูดยังไงให้เข้าใจแต่ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่างต่อไปมหาสมุทรของเรา จะไม่ช่วยเราอีกแล้ว เราได้เห็นแล้วในข่าวมีเรื่องเกี่ยวกับการอพยพมากมาย อย่างเช่นในแอฟริกามันมีเรื่องของการอพยพแต่ปัญหาก็คือ เรื่องของชั้นบรรยากาศมันเกิดปัญหา มันมีการขาดอาหาร ซึ่งเราไม่สามารถหาทรัพยากรมาช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้
ถ้าเราไม่อยากเห็นทะเลต้องตาย เราต้องไม่ใช้พลังงานถ่านหิน คอสตาริกาเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นตัวอย่างของการใช้พลังงานหมุนเวียน สิ่งที่รู้สึกเศร้าใจคือเรามีเทคโนโลยีเรามีพลังงานลมเรามีพลังงานแสงอาทิตย์ แต่เรายังขาดการตัดสินใจในทางการเมืองที่จะทำให้มันเกิดขึ้นซึ่งเกิดจากความเห็นแก่ตัว ถ้าเราต้องการเก็บรักษาสิ่งนี้ไว้มันก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำ

กล่าวรายงานต่อกัปตันเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์
Dear Mr. Captain
I am Arach Kwanjaroen, representative of Beach for Life members and Songkhla Young Citizens who love Songkhla Beach and appreciate its contributions to our life, habitations and wealth.
For more than 7 years, we have been studying and protected the changing beach affected by the rigid structure.
Today, we Songkhla Young Citizens together with academics who concern with the beach are happy to be onboard of the Rainbow Warrior to share our experiences on Sustainable Beach for Life and Habitations. The resolution we get today will benefit not only Songkhla people but people all over the world who are threatened with the unbalance in nature because of climate change and man-made peril.
เรียน กัปตันเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์
ผมนายอารัช ขวัญเจริญ ตัวแทนกลุ่ม Beach for life พร้อมด้วยพลเมืองเยาวชนและพลเมืองสงขลา ที่มีหัวใจเพื่อหาดทราย เห็นคุณค่าของหาดทรายที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ทรัพย์สิน และที่อยู่อาศัย
พลเมืองเยาวชนและพลเมืองสงขลาเหล่านี้ ได้เฝ้าศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงหาดทราย ร่วมกันปกป้องดูแลหาดสมิหลา-ชลาทัศน์ ชายหาดคู่บ้านคู่มือของจังหวัดสงขลา จากการสร้างโครงสร้างแข็งรูปแบบต่างๆ มากว่า 7 ปี
วันนี้พลเมืองเยาวชนสงขลา พลเมืองสงขลา และนักวิชาการที่ร่วมปกปักษ์รักษาชายหาด ได้มารวมตัวกันบนเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ของกรีนพีซ เพื่อร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน และส่งสารต่อพลเมืองโลก ในประเด็นหาดทรายกับความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เพราะหาดทราย มีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง แต่สถานการณ์หาดทรายทั่วโลกกำลังเผชิญในภาวะวิกฤติอันเป็นผลจากภัยคุกคามที่เกิดจากมนุษย์ที่รุกล้ำพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทำให้หาดทรายเสียสมดุล และภัยธรรมชาติทั้งพายุ มรสุม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การมารวมตัวกันของพลเมืองที่มีหัวใจต่อหาดทราย บนเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ครั้งนี้ จะเป็นสัญญาณที่จะส่งไปถึงพลเมืองโลกให้หันมาให้ความสำคัญในคุณค่าหาดทราย ที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ ทรัพย์สิน และที่อยู่อาศัยไป

บันทึกการสนทนา “เปิดใจสุดขอบฟ้าหาดทราย กับ ความมั่นคในที่อยู่อาศัยของมนุษย์”
สถานการณ์หาดทรายใน ประเทศไทยเเละทั่วโลกที่กำลังเผชิญภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบ
ให้หาดทรายเปลี่ยนเเปลง อย่างรวดเร็ว กระทบต่อที่คุณภาพ
ชีวิต ที่อยู่อาศัยของมนุษยชาติ
เสวนาครั้งนี้จึงสำคัญต่อ
การคงรักษาหาดทราย
เพื่อความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ของมนุษยชาติ
วิทยากร : คุณพรรณิภา โสตถิพันธ์ุ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม /ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ /คุณธารา บำคำสี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉลียงใต้/คุณเพรชเชิซ เอเบเล อีเลชุคกูล ตัวเเทนกลุ่ม Beach for life เเละคุณรุ่งเรือง ระหมันย๊ะ นายกสมาคมรักษ์ทะเลจะนะ
ดำเนินรายการ โดย อภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงาน Beach for life เเละสงขลาฟอรั่ม
นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
พร้อมกันแล้วนะครับ ต่อจากนี้เป็นการเสวนาในหัวข้อ”หาดทรายกับความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยของมนุษย์” สำหรับการเสวนาพูดคุยในครั้งนี้ มีท่านวิทยากร ท่านแรกอาจารย์ พรรณฺภา โสทิพันธ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง อาจารย์ประจำคณะวิศวะกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ คุณธารา บัวคำสี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาตัวแทนเยาวชนกลุ่ม Beach for life นางสาวเพรซเชิซ เอเบเล อีเลชุคกู ท่านสุดท้ายคุณรุ่งเรื่อง ระหมันย๊ะ นายกสมาคมรักษ์ทะเลจะนะ วิทยากรแต่ละท่านจะได้พูดคุยนำเสนอข้อมูลแก่พวกเราในลำดับต่อไป ก่อนจะมีการเสวนานี้มีหลายคนตั้งคำถามกับผมว่า “หาดดทรายกับความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยของมนุษย์เกี่ยวข้องกันอย่างไร” สำหรับอีกประเด้นที่สำคัญคือ ภัยคุกคามความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย ที่ทำให้หาดทรายค่อยๆ พังและหายไป ทำให้เราสูญเสียความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยของเราคืออะไร ทั้งหมดนี้เราจะได้รับฟังจากท่านวิทยากร
คำถามแรกที่ผมอยากจะเปิดให้ได้วิทยากรได้พุดคุยคือ คุณค่าของหาดทรายและทำไมเราต้องมาพูดคุย เสวนากันในประเด็หาดทรายกับความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เริ่มจากอาจารย์พรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม ซึ่งบุกเบิกประเด็นหาดทรายให้สังคมไทยได้ตื่นตัวมาตั้งแต่ปี 2554
อาจารย์พรรณิภา โสตถิพันธุ์(ป้าหนู) : วิทยากร
เมื่อสักครู่ก่อนเริ่มรายการเสวนาเราได้ฟังคุณปีเตอร์ซึ่งเป็นกัปตัน เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ จะเห็นได้ว่าภาพที่คุณปีเตอร์พูดทั้งหมดในเรื่องของเทคนิคทางด้านสิ่งแวดล้อมจะพูดถึงน้ำที่มันอยู่ในน้ำในทะเลแต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างทะเลกับผืนแผ่นดินซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราไม่ค่อยคำนึงถึงหรือคิดถึงสักเท่าไหร่นั่นก็คือ “หาดทราย”

จากการที่ตัวเองเมื่อย้อนหลังไป 20 ปีได้ตามดร.สมบูรณ์ ด้วยความชอกช้ำ เจ็บปวดหลายอย่างเพราะหาดทรายถูกทำลาย โดยเฉพาะที่บ้านหัวหน้าศาลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาเมื่อได้เดินไปสำรวจหาดทรายร่วมกับ ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง เห็นการปลูกสร้างสิ่ง โครงสร้างแข็งซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตอนนั้นป้าหนูอายุ 50 ปี เห็นกำแพงที่ 1 ใช่ที่ใช่ไม่ได้ เขาก็มาสร้างกำแพงที่ 2 และมีกำแพงที่ 3 ยื่นลงในไปทะเลอีก ซึ่งเห็นได้ว่าบทเรียนที่ทำให้หาดทรายของเราต้องหายไป ต้องแคบลง และ ณ ปัจจุบันเราก็ยังเห็นอยู่เยอะ และเราก็เป็นคนเล็กๆ ที่ไม่สามารถวิ่งตามการพังทลายของชายหาดที่มันเกิดขึ้นแบบลักษณะโดมิโน โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย เราจึงตั้งหลักเมื่อปี 2554 เอาหาดบ้านเราก่อน “หาดสมิหลา-ชลาทัศน์” ความยาว 7.8 กิโลเมตร โดยต้นทางที่อยู่ฝั่งเก้าเส้งถึงหาดชลาทัศน์ประมาณ 2 กิโลเมตรกว่า ถูกกระทำเหมือนภาพที่ป้าหนูพูดในตอนแรก มีทั้งก้อนหินที่ถูกระเบิดจากภูเขามาโยนทิ้ง มีทั้งยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว ซึ่งมันเป็นลักษณะของโครงสร้างแข็งเหล่านี้ อาจารย์สมปรารถนาจะพูดให้ฟังอีกครั้งนึง แต่ภาพของมนุษย์คนหนึ่งที่เห็นการกระทำกับหาดทราย แล้วล่าสุดเราซื้อถุงใส่ทรายจากเยอรมันถุงละประมาณ 3-4 พันบาทเป็นร้อยๆถุงวางบนริมหาดสมิหลา พื้นที่ที่สวยที่สุด เป็นพื้นที่นันทนาการที่เรามีการแข่งขันวอลเลย์บอลนานาชาติทุกปี ในขณะที่คนในชุมชนยังไม่รู้เรื่องของระบบนิเวศหาดเพราะเวลาคลื่นกระทบกับโครงสร้างแข็ง จะกระชากเอาเม็ดทรายเม็ดเล็กๆที่ก่อตัวผนึกกำลังกันกลายเป็นผืนทรายผืนใหญ่ออกไป เรายังไม่รู้เรื่องนี้เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมองว่าหน้ามรสุมมันหวังมันพังก็ต้องให้หน่วยงานราชการเอาโครงสร้างแข็งมาลงก่อนเลยทั้งทั้งที่โดยธรรมชาติพอมรสุมผ่านไปธรรมชาติมันจะฟื้นตัวหาดของมันเองมันอาจจะช้าไม่ทันใจพวกเรา แต่มันก็ทำหน้าที่เหล่านี้มาเป็นหมื่นหมื่นปีแล้ว เป็นมรดกทางธรรมชาติที่มีอายุมากกว่ามรดกเมืองเก่าซึ่งตอนนี้คนทั้งเมืองกำลังช่วยกันโอบอุ้มปกปักรักษาแต่เราลืมในส่วนตรงนี้ไป เพราะฉะนั้นวันนี้ก็นับเป็นเรื่องที่ดีที่พวกเราประมาณ 70 คนที่มาเป็นอาสาสมัคร C-site เมื่อเช้าแล้วก็เมื่อวานที่บ้านหนูไปเห็นภาพเด็กๆ Beach for life เชิญหน่วยงานราชการซึ่งเคยขัดเคืองกับเราได้กรณีที่ Beach for life กับสงขลาฟอรั่ม เคยฟ้องศาลปกครองซึ่งเราฟ้องโดยไม่ได้จะเป็นศัตรูกันแต่เราฟ้องโดยให้เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างบรรทัดฐานให้กับชายหาดซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มที่จะส่งใจเข้าใจกัน เวทีเมื่อวานก็ซาบซึ้งมากไม่ว่าจะเป็นกรมเจ้าท่า สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา ที่มาการเทศบาลซึ่งมีน้องผู้หญิงคนหนึ่งที่พึ่งย้ายมาทุกคนก็เห็นแล้วว่า C-site จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เราไม่ได้มองเห็นหาดแค่เก็บขยะแล้วจบมันมีอะไรที่มีจิตวิญญาณที่ลึกซึ้ง ยิ่งวันนี้เราได้เจอกับเดฟปลาโลมาถ้าเรามองด้วยสายตามันเป็นแค่โครงสร้างรูปของปลาโลมาเล็กๆตัวหนึ่งที่อยู่ด้านหน้าเรือลำนี้แต่ที่ลึกซึ้งลงไปในเรื่องราวมันยิ่งใหญ่พอๆกับหาดทรายของเรา ป้าหนูอยากจะนำเรื่องราวของหาดทรายคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีวิชาการปะปนไว้เพียงแค่นี้ก่อน ซึ่งจะนี้อีก 3-4 คนก็จะมีเรื่องเล่าของความพยายามที่เขาพยายามที่จะให้พวกเราให้คนไทยทั้งหมด ถ้าเราช่วยแค่หาดสมิหลาให้เป็นโมเดลที่เราทำอยู่ให้สำเร็จเราจะได้ช่วยหาอื่นๆอีกเยอะเลยที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นที่อ่าวน้อย คลองวาฬ สะกอม และยังมีหาดอื่นอื่นๆที่ป้าหนูยังไม่ได้เอ่ยชื่อ เรามีหาดจำนวนมากในประเทศไทย ขอบคุณค่ะ
นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
ขอบคุณป้าหนูมากครับ จริงๆผมว่าที่ป้าหนูพูดถึงเวลาเราไปที่ชายหาด เราวิ่งผ่านหาดแล้วเรากระโดดลงทะเลแล้วเวลาเราอยู่ในทะเลเรากลับมามองเห็นฝั่งหนึ่งแต่เราไม่เห็นชายหาดเราลืมคุณค่าของชายหาดที่มีหน้าที่มาเป็นล้านล้านปีในการที่จะปกป้องปกปักรักษาแผ่นดินชายหาดมีหน้าที่ที่จะสลายพลังงานเมื่อคลื่นมากระทบกับชายฝั่ง ซึ่งผมคิดว่าเดี๋ยวอาจารย์สมปรารถนา จะได้ลงลึกในเรื่องนี้ ไปสิ่งที่ผมประทับใจในสิ่งที่ป้าหนู คือ การเอาความรู้สึกขึ้นมาก่อน ผมจึงอยากพาให้ทุกคนได้ฟังเรื่องของคุณค่าหาดทรายในฐานะของคนที่ใช้ประโยชน์หาดทราย
คุณรุ่งเรือง ระหมันย๊ะ(บังนี) : วิทยากร
อยากให้ทุกคนทราบก่อนว่าชายหาดไม่ใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง ชายหาดเป็นของพวกเราทุกคนซึ่งเราจำเป็นจะต้องห่วงแหน ผมอยู่ริมชายหาดมาตั้งแต่เล็กๆ วิ่งเล่นบนหาด คิดว่าชายหาดเป็นแค่ชายหาดไม่ได้รู้สึกหวงแหนอะไร แต่พออยู่มาอยู่มา รู้สึกว่าความสัมพันธ์กับหาดทรายค่อยเพิ่มขึ้นๆ และลึกซึ้งขึ้น เพราะว่าด้วยความที่ว่าเราอยู่กับชายหาดเราต้องใช้ ต้องพึ่งหาดทรายทุกวัน เช่น คนทะเลเขาจะพูดว่าทะเลคือชีวิต แต่ความหมายจริงๆแล้วของคำว่า ทะเลนั้น หมายรวมถึงหาดทรายด้วย เพราะว่าหาดทราย เป็นรอยต่อระหว่างทะเลกับแผ่นดิน เวลาทะเลมีความโกรธ คือ ช่วงมรสุม คลื่นจะแรง ซึ่งหาดทรายช่วยกำบังไม่ให้บ้านของเราโดนคลื่นซัดจนพังทลาย หน้าที่ของคลื่นแท้จริงแล้วไม่ได้โหดร้ายเพียงแค่เอาเม็ดทรายไปวางไว้นอกหาดเพื่อที่จะกันคลื่นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อถึงฤดูที่คลื่นลมสงบ คลื่นก็จะนำเม็ดทรายมาเติมหน้าหาด เราเรียกคลื่นนี้ว่า “คลื่นแต่งหาด”
ชายหาดเป็นของเราทุกคน คุณค่าชายหาดที่สำคัญ คือ ชายหาดเป็นที่ฟักไข่ของลูกปูลูกปลา ชายหาดเป็นที่อยู่ของชุมชน เป็นที่ซ่อมเรือ ไว้ทำการประมง ชายหาดทำหน้าที่หลายอย่าง เราอยากให้ทุกคนรักษาหาดทรายไว้ แล้วส่งต่อไว้ให้ลูกหลานได้รู้จักชายหาด ซาบซึ้งกับคุณค่าชายหาดต่อไปให้ได้
บ้านผมอยู่ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตอนนี้ชายหาดก็พังทลายไปเกือบครึ่งแล้ว จากการสร้างเขื่อนโครงสร้างแข็งและสิ่งแปลกปลอมลงบนชายหาดและทะเล ซึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดของมนุษย์ว่าเมื่อมีโครงสร้างสามารถป้องกันได้ แต่จริงแล้วนั้นคือต้นต่อที่ทำให้ชายหาดพังทลาย หลังจากนี้อาจารย์สมปรารถนา คงจะได้เล่าให้ฟังต่อไป

นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
อาจารย์สมปรารถนา น่าจะรับบทบาทหนักในการอธิบายเชิงวิชาการ สิ่งที่คุณรุ่งเรือง เล่าให้พวกเราฟัง ผมรู้สึกว่านี้คือเรื่องของคนใช้หาด อยู่กับหาดทราย จนเห็นธรรชาติของหาดทราย เห็นว่าหาดทรายมีฤดูกาลเป็นของตนเอง บางเวลาทะเลสงบหาดทรายกว้าง เมื่อคลื่นลมแรงทะเลโกรธ หาดหดสั้น แต่มีสันทรายใต้น้ำที่ค่อยกันคลื่น ผ่านมรสุมไปหาดทรายจะกลับมาเหมือนเดิม นี้เป็นระบบธรรมชาติที่คุณรุ่งเรือสังเกตเห็น จากการอยู่กินใช้ชีวิตกับชายหาดทรายมาโดยตลอด
มีคนรุ่นใหม่ในสงขลาที่มานั่งเสวนากับเรา ผมอยากให้น้องเกรซ เพรชเชิซ เอเบเล อีเลชุคกูล ได้เล่าหาดทรายกับชีวิตของน้องเกรซ ยึดโยงสัมผัสกันอย่างไร
นางสาวเพรชเชิซ เอเบเล อีเลชุคกูล (เกรซ) : วิทยากร
เกรซ เป็นตัวแทนจากชมรม Beach for life ชมรมของเราเป็นชมรมที่รวมคนรุ่นใหม่ เยาวชนในจังหวัดสงขลามาทำกิจกรรมเพื่อดูแล ปกป้องหาดหาดสมิหลา ชมรม Beach for life ลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ่อย การเก็บข้อมูลทำให้เราได้เห็นสภาพชายหาดละเอียดขึ้น เกรซรู้สึกว่าชายหาดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของเยาวชนสงขลา เราได้เรียนรู้ว่าระบบนิเวศของหาดทรายเป็นอย่างไร เราได้เห็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงของหาดทราย เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น การเรียนรู้เรื่องหาดทรายทำให้เราได้เรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชายหาด สิทธิชุมชนชายฝั่ง การจัดการชายฝั่ง หาดทรายเหมือนเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ การศึกษาของเรา ที่มันไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน
ชายหาดก็เป็นส่วนหนึ่งในจังหวัดสงขลาทำให้เรารู้สึก เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเจ้าของร่วมกับคนอื่น เราได้มาเห็นปัญหาเราก็รู้สึกอยากแก้ไขในเรื่องตรงนี้ให้มันดีขึ้น เราก็รู้สึกว่านอกจากมันจะเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของเราแล้วสร้างสำนึกพลเมืองให้กับพวกเราด้วย
นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
น้องเกรซอยู่ๆ กระโดดลงไปเรียนรู้เรื่องชายหาดเลย หรือว่ามีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราต้องเข้ามาเรียนรู้เรื่องชายหาด คิดว่าเหมือนโรงเรียนมันก็เรียนในห้องได้ไหม ทำไมต้องเรียนรู้เรื่องชายหาดรู้สึกอะไรที่ทำให้เราอยากมาร่วมในตรงนี้
นางสาวเพรชเชิซ เอเบเล อีเลชุคกูล (เกรซ) : วิทยากร
ก่อนที่จะกระโดดเข้ามาเรียนรู้ตรงนี้ได้ เมื่อก่อนก็เห็นชายหาดเป็นแค่ชายหาดแต่ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งตอนที่ได้มารู้จัก beach for life ไม่มาเห็นว่าตอนที่เขาประชาสัมพันธ์มันมีปัญหาเกี่ยวกับชายหาดเกิดขึ้นด้วยนะเพราะเราเห็นปัญหาเราก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ชายหาดก็อยู่หน้าโรงเรียนของเราแต่ว่ามันมีปัญหาเกิดขึ้นแต่เราไม่เคยได้สนใจกับมัน ทำให้เรารู้สึกว่ามันเป็นทรัพยากรหน้าบ้านของเราทำไมเราถึงไม่ดูแลไม่สนใจ มันก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาศึกษา

นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
แล้วชายหาดก็สร้างการเรียนรู้ให้กับเกรซสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองให้ติดตัวเกรซไปให้มีความรู้สึกว่าทรัพยากรเป็นสิ่งที่เราต้องเข้าไปช่วยดูแลช่วยจัดการความรู้สึกรักบ้านเกิดความรู้สึกรักในถิ่นฐานทรัพยากรของตัวเอง
ฟัง ตั้ง 3 คนที่ใช้ประโยชน์ไปแล้วผมคิดว่าคงมีคนใช้ประโยชน์ใครๆกันใช่ไหมครับ มีใครใช้หาดจอดเรือแบบบ้านบังนีบ้าง หรือว่าใครใช้ชายหาดในการทำอะไรบ้าง พักผ่อนหย่อนใจเที่ยวเล่นกับครอบครัวนั่งกินเหล้า เป็นพื้นที่แห่งความสุข ส่วนใหญ่เราก็ใช้ชายหาด เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ
ผมคิดว่าที่ทั้งสามคนเห็นเหมือนกันก็คือสถานการณ์ของชายหาดที่ถูกกัดเซาะพังทลายไป ให้อาจารย์เป้ช่วยอธิบายว่าทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้นทำไมใช้หาดมันถึงพังทลายไปเรื่อยๆ แล้วมีผลกับพวกเราอย่างไร
ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง (อ.เป้) : วิทยากร
วิทยากรทั้ง 3 คน ได้เล่าในเชิงคุณค่า ความรู้สึกที่มีต่อชายหาดไปแล้ว ถึงเวลาในเชิงเหตุผลบ้าง ในเรื่องของแง่มุมการใช้ประโยชน์คงไม่ต้องกล่าวมากนัก แต่ว่าสิ่งที่ทั้งสามคนกำลังพูดเป็นผลจากการใช้ประโยชน์ของเรา สิ่งที่ผู้ดำเนินรายการพยายามบอก คือ ชายหาดมีภัยที่ทำให้พื้นที่แห่งความสุขของเรามันกำลังจะทำให้เรามีความสุขน้อยลง ในตอนต้นกัปตันได้พูดถึงไปแล้ว ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นภัยอย่างหนึ่งที่คุกคามพื้นที่แห่งความสุข ความจริงแล้วพื้นที่แห่งความสุขนี้ก็มีสมดุลตัวเอง เหมือนที่คุณรุ่งเรือง(บังนี) ได้บอกว่าบางช่วงคลื่นหอบเอาทรายออกไปข้างนอก แล้วบางช่วงก็หอบเอาไว้ข้างใน บางช่วงทะเลโกรธบ้างแต่ว่าสุดท้ายแล้วหาดทรายจะกลับมา ขอใช้ภาษาที่ง่ายกว่านั้น คือ “หาดทรายบางช่วงอ้วนบางช่วงผอม” ทุกปีเราจะได้เห็นหาดที่อ้วนและผอมตราบที่ไม่มีการแทรกแซงสมดุลชายหาด แต่สิ่งที่เราเห็นคือชายหาดถูกรบกวน เมื่อหาดผอมผอมแล้วผอมเลยไม่เคยกลับมาอ้วนอีก หรือหาดทรายอ้วนแล้วอ้วนไปเลย เช่น บริเวณปากแม่น้ำ
ภัยคุกคามหาดทราย แยกได้เพียง 2 ประเภท คือ ภัยคุกคามจากฝีมือของมนุษย์ และภัยคุกคามจากธรรมชาติ ภัยคุกคามจากธรรมชาติเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า คลื่นสร้างหาด คลื่นก็ทำลายหาดเช่นกัน สำหรับบางคนก็เป็นแค่วาทกรรม แต่ความเป็นจริงลองดูไหมว่าถ้าหากทะเลไม่มีคลื่นทะเลนิ่งจะไม่กัดเซาะ แต่ทะเลที่มีคลื่นมันก็จะกัดเชาะแต่ก็จะกลับมาถม ชายหาดมีการเปลี่ยนแปลงตามสมดุล เพราะฉะนั้นคลื่นจะสร้างและทำลาย แต่ก็อยู่ในสมดุลเองตราบเท่าที่ไม่มีอะไรแทรกแซง การแทรกแซงเป็นภัยที่ร้ายแรงกว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ได้
ภัยธรรมชาติ เช่น คลื่น พายุ มรสุม และอย่างหนึ่งที่กัปตันเรือเรนโบว์กล่าวมาแล้วนั้น คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฤดูที่ฝนมันตกฝนหนักขึ้น ฤดูร้อนอากาศก็ร้อนขึ้น แต่สิ่งที่กัปตันได้บอกก็คือตัวมลพิษมันเพิ่มมากขึ้นจนทำให้แก๊สที่ออกนอกโลกมันไม่สามารถปกป้องโลกนี้ได้อีกจนทำให้ท้องทะเลของเรามีอุณหภูมิที่สูงขึ้น จนเกิดเป็นมลพิษและทำให้ระดับน้ำทะเลสูง เมื่อโลกร้อนขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้นมวลของน้ำเท่าเดิมแต่ปริมาตรของน้ำจะเปลี่ยนทำให้น้ำล้นออกมา แต่น้ำทะเลไม่สามารถล้นออกไปนอกโลกได้ ทำให้น้ำค่อยๆขยับตัวสูงขึ้น เราจึงเห็นว่าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น นี้เป็นคำอธิบายสิ่งที่กัปตันได้พูดไว้ข้างต้น อีกประเด็นที่ควรต้องคิดคือ คลื่นวิ่งอยู่บนผิวน้ำ ลองจินตนาการว่าเราอยู่ห่างจากระดับน้ำประมาณ 5 เมตรวันหนึ่งระดับน้ำสูงขึ้นมาอีกครึ่งเมตร คลื่นแต่ก่อนไม่เคยถึงบ้านเราแต่วันดีคืนดีมันถึงบ้านเราก็ด้วยเหตุผลนี้เป็นปัจจัย
ภัยคุกคามที่ร้ายแรง และเห็นผลทันตา คือ ปัจจัยจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น สิ่งที่เราได้จากการสำรวจชายหาดในวันนี้เราได้เห็นการแทรกแซงของมนุษย์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง คือ โครงสร้างแข็งป้องกันชายฝั่ง เป็นเรื่องน่าตลกที่เราพยายามจะสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง แต่กลับกลายเป็นว่าโครงสร้างนี้เป็นเหตุปัจจัยของการกัดเซาะ คำถามคือ เรากำลังป้องกันชายฝั่ง หรือกำลังทำลายชายฝั่ง พอสร้างที่หนึ่งก็มีผลกระทบไปอีกที่หนึ่ง เกิดปัญหาเป็นงูกินหางทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะต่อไป นี่คือการรบกวนสมดุลชายหาด ที่หากเปรียบเทียบ เสมือนเข็มนาฬิกา ตัววัฏจักรของโลกร้อนหรือภัยคุกคามจากธรรมชาติ เป็นเสมือนเข็มสั้น ตอนนี้ 4 โมงดูอีกทีก็ยัง 4 โมง แต่ว่าวัฏจักรอีกอันนึง ที่เกิดจากพวกพายุ คลื่นลมทั่วไป เหมือนเข็มยาว ตอนนี้มันก็ยัง 4 โมง มีกระดิกนิดหน่อย แต่อันที่เร็วมากๆ มันเหมือนเข็มนาฬิกาที่เป็นวินาที คือ ปัจจัยจากมนุษย์ เมื่อไหร่ที่มีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งลงไป ผ่านไป 1 วันเราจะเห็นผลทันที ตัวอย่างง่ายๆ เราไปที่ชายหาดเรานอนลงไป เราจะเห็นว่าฝั่งนึงของเรามีทรายมาติด อีกฝั่งนึงของเราทรายหายไปตัวเราก็จะจมไปครึ่งนึง นี่คือ การแทรกแซงสมดุลชายฝั่ง แต่เมื่อเราลุกขึ้นสักพักชายหาดก็จะกลับมาเหมือนเดิม จะเห็นได้ว่า การแทรกแซงของมนุษย์ คือ เข็มวินาที และมนุษย์คือภัยคุกคามโลกนี้ ไม่ใช่แค่เฉพาะทรัพยากรหาดทราย ทะเลและหลายๆอย่างที่รุนแรงและร้ายแรงขึ้นมาจากฝีมือของมนุษย์

ป็นเรื่องน่าตลกที่สุด เกิดจากฝีมือของมนุษย์แต่เราไม่สามารถควบคุมได้ เพราะฉนั้นภัยคุกคามชายหาดมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ แค่นี้เองอยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นตัวเลขในใจซึ่งมันเกิดจากงานวิจัยที่เป็นระดับชาติ ข้อมูลนี้อาจไม่ได้ถูกพูดถึงมากนัก เว้นแต่ในเวทีวิชาการ แต่อยากจะนำเสนอข้อมูลในวันนี้ ในปี 2100 ชายหาดในบ้านเราจะหายไปอย่างต่ำ 40% และมากที่สุดคือ 70% ความหมายคือ เรามีพื้นที่ชายหาดทั้งประเทศ 100 ตร.กม. พื้นที่ชายหาดคือพื้นที่ที่เราเห็นเป็นหาดทราย เราเอาเนินทรายปัจจุบันคือปีนี้ 40-70% ในปี 2100 จะหายไปเกือบ 100% เราจะไม่มีชายหาดให้เห็น โดยคิดจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อสักครู่เราได้พูดว่าภัยจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเป็นเหมือนเข็มสั้น เดินช้า ลองคิดต่อสิว่าถ้าเป็นเข็มวินาที คือการสร้างโครงสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในอีก 100 ปี ชายหาดจะหายไปแค่ไหน แต่ว่าภัยจากมนุษย์ไม่รู้จะกี่เท่าของเข็มสั้นนี้ เพราะฉนั้นไม่ต้องรอ 100 ปี หาดสมิหลากี่ปีหายไป…? ยิ่งถ้าสวนกงถ้าเกิดมีท่าเทียบเรือขึ้นมา รอไม่ถึง 2 เดือน
นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
หาดสมิหลา-ชลาทัศน์ เพียง 15 ปี สูญเสียพื้นที่ชายหาดไปกว่า 2 กิโลเมตร ตามแนวชายฝั่ง
ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง (อ.เป้) : วิทยากร
ตั้งแต่ปี 2545 ตั้งแต่มีโครงสร้าง 3 ตัวแรก หลังจากนั้นไม่เกิน 4 เดือน ชายหาดถูดกัดเซาะไปกว่า 40 เมตร จากวันนั้นจนถึงตอนนี้ชายหาดพังทลายไปแล้วกว่า 2.5 กิโลเมตร โครงสร้างตัวสุดท้ายที่สร้างป้องกันชายฝั่งอยู่หน้ามหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย นี้เกิดจากการต่อสู้กันเพื่อยุติการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ลองคิดดูว่าถ้าจังหวัดไหนไม่มีพลเมืองที่เข้มแข็งและต่อสู้ทั้งกระสอบทราย ทั้งโครงสร้างรูปร่างประหลาดๆ ชายหาดอาจจะไม่ได้พังทลายแค่ 2.5 กิโลเมตรเท่านั้น อาจถึงนางเงือกไปแล้วก็ได้ ลองจินตนาการกันดูว่า ว่าเข็มสั้น กับ เข็มวินาที อยู่ตลอดเวลา เข็มสั้นหายไป 70% แล้วถ้ามันเป็นเข็มวินาทีล่ะมันจะกี่เท่า คือ เราจินตนาการไม่ออกเลยว่าชายหาดจะหายไปแค่ไหน
นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีชประเทศไทย คงมีข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เราคุยกันผมคิดว่าพี่คงได้รับรู้ข้อมูลมาบ้างแล้ว ฟังอาจารย์สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง มีประเด็นเพิ่มเติมไหม
คุณธารา บัวคำศรี : วิทยากร
อันที่จริงกัปตันได้พูดไปแล้ว เรื่องโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อยากเล่าเรื่องเรื่องนึง เมื่อกี๊นี้ผมหลุดไปว่าปูเสื่อนั่งกินเหล้ากัน นึกถึงตอนที่สมันตอนยังเป็นเยาวชน ยังวัยรุ่นอยู่ ก็ไปอยู่ที่จังหวัดระยอง ตอนนั้นยังไม่มีท่าเรือมตามพุด ชายฝั่งระยองยาวประมาณ 100 กิโลเมตร จากรอยต่อจังหวัดชลบุรียาวไป อ.แกลง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อในภาคตะวันออกเมื่อเทียบกับจังหวัดชลบุรี เหมือนหาดทรายแก้ว
อันแรกที่เราเจอก็คือชาวประมงพื้นบ้านเขาใช้ชายหาดเป็นที่จอดเรือเหมือนคุณรุ่งเรือง(บังนี) แล้วก็มีช่วงที่ กระทรวจการท่องเที่ยวและกีฬา โปรโมทปีแห่งการท่องเที่ยวเพื่อที่จะสนันสนุนให้เกิดการท่องเที่ยว เพราะพัทยา จังหวัดชลบุรีเริ่มแน่นแล้ว ให้มาเที่ยวระยองก่อนที่จะมีท่าเรือ ผมไปเจอชาวประมงคนนึงกับเรือลำเล็กจอดอยู่ห่างจากชายหาด เลยถามว่าทำไมไม่ไปจอดเรือใกล้ๆหาด ลุงเลยบอกว่าหาดมีเจ้าของเเล้ว คือหาดก่อนที่จะเป็นอุทยานจะเป็นพื้นที่ชุมชนชาวประมงชายฝั่ง หลังๆมีนักลงทุนมาทำรีสอร์ททำที่ท่องเที่ยววิธีของเขาก็คือแลกกับเหล้าหนึ่งขวดกับที่จอดเรือ รู้สึกสะท้อนใจว่าจริงๆเหมือนที่ อาจารย์สมปรารถนา เล่าว่าภัยเข็มสั้นช้า ในช่วงชีวิตของเรากว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมันช้า แต่เรื่องพวกการท่องเที่ยว ยังไม่นับการพัฒนาชายฝั่งทะเลที่เข้ามา มีการสร้างท่าเรือน้ำลึก ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใหญ่มาก ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ปัจจุบันถ้าเราไปที่ระยอง เราก็จะไม่เห็นชายหาดที่สวยงาม 100 กิโลเมตร ตอนนี้หายไปหมดแล้ว หาดที่มีอยู่ก็ไม่ใช่หาดทราย สะท้อนให้เห็นว่าส่วนหนึ่ง คือ โศกนาฏกรรมของทรัพย์สินสาธารณะ บางครั้งเราพบว่ามีการแย่งยึดส่วนที่เป็นของทุกคนไว้ ผมคิดว่าภาคตะวันออกก็จะเจอปัญหาหนักเข้าไปอีกเพราะมีการลำเลียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ชลบุรีก็ไปแล้ว ระยองก็ไปแล้ว เอาง่ายๆว่าภาคตะวันออกหาดทรายไม่เหลือแล้ว อาจเหลือแค่เล็กๆ น้อยๆ หรือหาดที่ถูดฟื้นฟูมาเพื่อธุรกิจ

นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
ผมอยากให้อาจารย์สมปรารถนา ช่วยขยายภัยคุกคามเข็มสั้นเข็มวินาทีหน่อยครับ สงขลากำลังมีภัยคุกคามเข็มวินาทีที่ไหนบ้าง ไล่เรียงตั้งแต่ใต้สุดของสงขลา
ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง (อ.เป้) : วิทยากร
แค่สงขลาก็มหาสนุกพอแล้ว อันนี้คือความหมายของคำว่า สงขลามหาสนุก ที่ติดอยู่ที่ตรงนางเงือกมหาสนุก คือ มีปัญหาเยอะมากที่แก้ไม่ได้เพราะคนสงขลาด้วย ไล่ตั้งแต่เทพา โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่ต่อสู้กันอยู่ ถัดจากนั้นก็มีท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่บ้านสวนกง อำเภอจะนะ ท่าเทียบเรือน้ำลึกแห่งที่ 1 อยู่ข้างหลังเรา บริเวณปากทะเลสาบสงขลา สร้างเมื่อปี 2538 สำหรับท่าเรือน้ำลุกสงขลาแห่งที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นเป็นความพยายามที่จะเชื่อมฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน หรือที่เรียกว่า แลนด์บริจ ถัดขึ้นมาจากบ้านสวนกง ถนนนาทับ ถึง เก้าเส้ง หากเราขับรถผ่านเราก็จะรู้สึกตื่นเต้นตลอดเวลา เพราะชายหาดแทบนี้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางจุดหายถนนหายไปเลนนึง บางทีก็หายเลนคู่ เกิดจากการที่สร้างตัวเคลื่อนป้องกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งๆทางด้านเหนือเขื่อนกันทราย แบบโดมิโน่ อย่างที่บอกไปในตอนแรกว่า ให้เราลองนอนไปชายหาดเราจะเห็นว่าทรายหายไปด้านหนึ่ง แต่ว่าตัวเรายาวแค่ 150 เมตร ไม่ได้กระทบอะไรต่อชายหาดมากนัก แต่โครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ มีความยาว 1 กิโลเมตร เพราะฉนั้นโครงสร้างนี้จึงทำให้ทรายหายไป ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ตรงแถวเกาะแต้ว เก้าเส้ง ตอนนี้ชายหาดถูกกัดเซาะเรื่อยๆ เมื่อหาดจุดหนึ่งถูกกัดเซาะเราก็สร้างเขื่อนกันคลื่น กำแพงกันคลื่นป้องกันไปเรื่อยๆ เมื่อกัดเซาะอีกก็สร้างต่อไปอีก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับชายหาดบ้านเกาะแต้ว ปัจจุบันถนนถูกกัดเซาะไปเลนนึง ในอนาคตเราก็อาจจะเห็นโครงการบางอย่างที่เกิดขึ้นบริเวณนั้น อันนี้เดาเอาจากบริบทของพื้นที่จากที่เคยเห็นว่าพอเป็นแบบนี้ปุ๊บก็จะเกิดโครงการ
พอผ่านตัวเก้าเส้งมาเราก็จะเห็นมีโป๊ะทุ้นสีเหลืองส่วนหนึ่งของเป็นมาตรการเติมทรายของกรมเจ้าท่า เติมประมาณเกือบๆ 5 กิโลเมตร ตั้งแต่ปากคลองสำโรงถึงบริเวณหลังสนามกีฬาติณสูลานนท์ ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ นี้ก็เป็นอีกโครงการที่ใหญ่ สำหรับใจกลางเมือง และถือว่าเป็นที่แรกของประเทศไทยที่มีมาตรการเติมทราย หาดพัทยาเคยประกาศว่าจะเป็นที่แรกที่นำมาตรการเติมทรายมาใช้แก้ไขปัญหา แต่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติของทรายและแหล่งทราย แต่จังหวัดสงขลาทำก่อนแล้ว และนี้คือรอบที่ 3 ไม่รู้ว่าควรจะภาคภูมิใจดีไหม !! แสดงว่าสองรอบแรกมันไม่ได้เรื่อง เสียหายไปกับมรสุม จึงทำให้มีรอบที่ 3 เกิดขึ้นมา
อันนี้เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งถัดไปทางเหนือธรรมสถานหาดทรายแก้วโดนมรสุมไปลูกใหญ่ บ้านพังเป็นแถบๆ ตรงด้านหลังของสันทรายธรรมสถานหาดทรายแก้วก็เลยมีโครงการอีกโครงการนึงเพื่อที่จะเอาโครงสร้างป้องกันชายหาด
ถัดไปอีกที่ชายหาดม่วงงาม อำเภอสิงหนคร มีการทำประชาพิจารณ์แล้วมีการเรียกร้องหาโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง จริงๆแล้วผู้มีอำนาจก็จะบอกว่าก็ชาวบ้านเรียกร้อง ถ้าชาวบ้านไม่เรียกร้องโครงการพวกนี้ไม่มีทางเกิดได้แต่ว่าบางทีชาวบ้านที่ไม่ได้เข้าใจในเรื่องราวแบบนี้ เพราะฉนั้นเมื่อตกใจว่าหาดทรายหายไป แล้วบ้านเราจะไหลลงไปในทะเลหรือจะถูกกัดเซาะหรือเปล่า พอตกใจมันก็เรียกร้อง ทั้งๆที่จริงตอนหาดอ้วนไม่ทันคิดว่าตอนผอมพอจะถึงบ้านเรา พออ้วนก็กระเถิบลงไปๆ ทำเป็นที่จอดเรือ ทั้งๆที่ตรงนั้นมันอาจลำอิทธิพลของธรรมชาติก็ได้พอผอม จะเอาคืนบ้างเราไม่ยอมให้แล้วยังจะไปโทษคลื่นลม ธรรมชาติอีก ก็ต้องไปเรียกร้องหน่วยงานให้มาช่วยป้องกันบ้านเรา เป็นการตื่นเต้นตกใจของคนที่อาจจะไม่ได้รู้สมดุลธรรมชาตินี้ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมากซึ่งเขาก็ไม่ได้ผิดอะไรเพียงแต่ว่าข้อความนี้มันไม่ได้ถูกสื่อสารออกไป
ถัดจากชายหาดม่วงงาม เป็นอำเภอสทิ้งพระ ชายหาดในอำเภอสทิ้งพระยังคงอยู่ในสภาพที่ดี แต่เมื่อไหร่ที่บ้านม่วงงามตัดสินใจจะสร้างกำแพงกันคลื่น ชายหาดสทิ้งพระก็จะเอาบ้าง เพราะในบริเวณนี้ตะกอนวิ่งจากแม่น้ำโกลกเมื่อที่พูดไปให้นอนขวางชายหาดพอกระโดดลงเรือปุ๊บนอนเลย เราจะเห็นว่าทรายมันจะติดตัวเราฝั่งขวา ในขณะที่ฝั่งซ้ายจะถูกกัดเซาะหายไป ถ้าหากเราแทรกแซงอะไร บ้านเพื่อนที่อยู่ด้านเหนือก็จะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งเรื่อยไป ถ้าชายหาดม่วงงามทำอะไร ชายหาดสทิ้งพระก็อาจเกิดความเดือดร้อนเพราะการตัดสินใจจากเพื่อนบ้านที่ม่วงามก็ได้ สุดท้ายที่ระโนดก็มีโครงสร้างเต็มชายหาดอยู่แล้ว
นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
เท่าที่ฟังอาจารย์สมปรารถนา จังหวัดสงขลาติดชายฝั่งอ่าวไทย จำนวน 6 อำเภอ เหลืออำเภอสทิ้งพระอยู่อำเภอเดียวที่ยังดูดีอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่บ้านม่วงงาม อำเภอสิงหนคร ตัดสินใจสร้างอำเภอสทิ้งพระก็เตรียมตัวได้
6 อำเภอในจังหวัดสงขลา มีชายหาด 150 กิโลเมตร มีแนวชายหาดที่ทำหน้าที่เป็นแนวกันชนธรรมชาติ ตอนนี้ถูกแทนด้วยเขื่อนหลากหลายรูปแบบ ก็หมดแล้วชายหาดในจังหวัดสงขลา
ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง (อ.เป้) : วิทยากร
โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง บางที่เปลี่ยนคำไปเรื่อย เป็นไม้ เป็นกระสอบทราย แต่ว่าเราลองลงไปดูกระสอบทราย ทรายเฉยๆพอเรากระโดดมันนุ่ม แต่พอยัดมันไปในกระสอบแล้วโดยน้ำเท่านั้นแหละ ไม่ต่างอะไรกับคอนกรีต ถ้าลื่นก็หัวแตก ทั้งๆที่มันเป็นทราย แต่พอทรายยัดใส่กระสอบกลายเป็นคอนกรีต เพราะฉนั้นอย่ามาบอกว่าใช้โครงสร้างอ่อน ไม่มี อ่อนยังไง มันพริ้วไหวไปตามสายน้ำ โครงสร้างเหล่านั้นแข็งยิ่งกว่าหิน บางทีก็ใช้คำพูดที่เลี่ยงไป ใช้โครงสร้างอ่อนเป็นมิตรกับธรรมชาติ
นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
หมดแล้วครับ ผมฟังดูแล้วชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์มีความยาว 7.8 กิโลเมตร เหลืออยู่สัก 4-5 กิโลเมตร ตรงนี้ที่ชลาทัศน์ที่รอดอยู่ แต่ก็ไม่แน่ เมื่อไรที่ภาคพลเมืองไม่เข้มแข็งพอ ดูเหมือนเราจะไม่เหลือหาดทรายที่สมบูรณ์ที่จะเหลือไว้ปกป้องแผนดินเหมือนที่เราเคยมีมาในอดีตเพราะเราถูกแทรกแซงทุกอำเภอแล้ว เราถูแทรกแซงโดยความไม่เข้าใจของมนุษย์ เมื่อไรที่เราสร้างเขื่อนไปที่นึง ก็จะกระทบไปอีกที่นึง แล้วกระทบไปเรื่อยๆจนชายหาดไม่เหลือ
ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง (อ.เป้) : วิทยากร
การกัดเซาะชายฝั่ง นำมาซึ่งความขัดแย้งกันเองในชุมชนด้วย คือ ประเด็นกายภาพดันไปกระทบกับเชิงสังคม บ้านเพื่อนกันเขือนบ้านเราอยู่ติดกันทะเลาะกันอีก เพราะว่าเพื่อนกันเขื่อนเอาตัวเองรอดแต่ตัวเราบ้านไหลลงทะเลเพราะบ้านเพื่อนที่ติดกัน หรือการย้ายทรายปากร่องน้ำ ขโมยทรายบ้านเพื่อน ะไรแบบนี้มันเป็นประเด็นที่กระเพือมไปหมดเลย
นายอภิศักดิ์ ทัศนี : ผู้ดำเนินรายการ
ผมคิดว่าสิ่งที่อาจารย์สมปรารถนา พูดเมื่อสักครู่มีคำที่สำคัญคำนึง คือ “ถ้าเราจะรักษาความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของมนุษย์โดยปกป้องหาดทรายไว้ เราควรทำความเข้าใจระบบนิเวศหาดทราย” เหมือนที่คุณรุ่งเรืองเล่ามา อาจารย์บอกว่ากระโดดลงไปเอาตัวขว้างหาดสิ ! จะได้เข้าใจ
อาจารย์สมปรารถนา เล่าให้เราเห็นภัยคุกคามชายหาด การพังทลายของหาดซึ่งกระทบต่อความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ชีวิตของมนุษย์ และเน้นย้ำให้เราเห็นแนวทางของการอนุรักษ์ คงรักษาพื้นที่หาดทราย โอกาสนี้ผมอยากให้อาจารย์พรรณิภา โสตถิพันธุ์ ได้ขมวดสั้นๆ ก่อนเราจะจบการเสนวนานี้
อาจารย์พรรณิภา โสตถิพันธุ์(ป้าหนู) : วิทยากร
ป้าหนูคิดว่าน่าจะสมควรแก่เวลาที่เราพยามจะให้ทั้งอารมณ์ ความคิด ความรู้ เพื่อนำไปสู่คำตอบว่าหาดทรายกับความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยของมนุษย์มันอยู่ตรงไหน ให้กลับไปคิดที่บ้าน หรือไม่ พอกลับขึ้นฝั่งไปลองคิดต่อว่า หาดทรายกับความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยสัมผัสกันอย่างไรอย่างไร มันใกล้เคียงกับชีวิตเราอย่างไร คิดว่าน่าจะเชื่อมโยงได้แล้ว
คิดว่าพวกเราสี่ห้าคนน่าจะเพียงพอแล้วทั้งวิชาการและอารมณ์ที่เราเปิดในวันนี้นะคะ ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ขอบคุณผู้ฟังทุกคน ดูแววตาแล้วแบบเจ็บปวดตามๆกัน แต่เราก็สู้ๆเพื่อบ้านของเรา ก็ขอปิดในช่วงเสวนาไว้เพียงเท่านี้ค่ะ
