แถลงการณ์เครือข่ายภาคประชาชนและนักวิชาการ 63 องค์กร เพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน

สืบเนื่องจากสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างเนื่อง โดยมีสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ภัยทางธรรมชาติ และ การคุกคามจากมนุษย์ การกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย ปัจจุบันสาเหตุหลักมาจากการแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของหาดทราย ด้วยโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล และ การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่ไม่คำนึงถึงระบบธรรมชาติของทะเล ส่งผลให้หาดทรายเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงต่อเนื่อง

เมื่อพิจารณาแล้ว ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่กล่าวมานั้น มีต้นตอของปัญหาจากการดำเนินนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมีปัญหาเชิงนโยบายที่เห็นได้อย่างประจักษ์ชัดเจน ดังนี้

  1. การเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment – EIA) ทำให้เกิดการระบาดของกำแพงกันคลื่นในหลายพื้นที่ชายหาด จากข้อมูลที่มีการรวบรวมมาพบว่า ตั้งแต่ปี 2556 – 2562 หลังการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA มีโครงการกำแพงกันคลื่นทั้งหมด 74 โครงการ ระยะทางรวม 34.875 กิโลเมตรตลอดแนวชายฝั่ง งบประมาณรวม 6,967,853,620 บาท การเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA เป็นการทำลายหลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจนเป็นคดีความ ไม่น้อยกว่า 3 คดี ได้แก่ คดีอ่าวน้อย คดีหาดม่วงงาม และคดีหาด มหาราช ซึ่งคดีเหล่านี้ล้วนมีมูลเหตุสำคัญมาจากการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  2. การที่รัฐไม่ส่งเสริมความรู้ในการจัดการชายฝั่ง และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการทรัพยากรชายหาด เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ และร่วมกำหนดเจตจำนงของตนในการจัดการทรัพยากรชายหาดอย่างแท้จริง
  3. การกำหนดมาตรการที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ เช่น การกัดเซาะชายฝั่งเพียงชั่วคราว ในช่วงมรสุม แต่รัฐเลือกดำเนินมาตรการถาวร เช่น กำแพงกันคลื่น ในพื้นที่ชายหาดที่มีการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะสั้น
  4. การที่รัฐไม่สนับสนุนและผลักดัน มาตรการอื่น ๆ ซึ่งเป็นมาตรการในการฟื้นฟูชายฝั่ง ปรับสมดุลให้แก่ธรรมชาติ เช่น การเติมทราย การถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ การกำหนดแนวถอยร่น การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์เพื่อคุ้มครองชายฝั่ง เป็นต้น รวมถึงการรื้อถอนโครงสร้างที่ไม่จำเป็นเพื่อให้ชายฝั่งได้ฟื้นฟูสภาพ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และมีการติดตามผลของมาตรการเหล่านี้อย่างชัดเจน
  5. ปัญหาอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ทับซ้อนกันในการแก้ไขปัญหา ทำให้หลายพื้นที่ชายหาดมีมาตรการป้องกันชายฝั่งที่ทับซ้อนกัน เกิดความไม่เป็นเอกภาพ และไม่มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

ปัญหาเชิงโครงสร้างและนโยบายที่กล่าวมานี้ คือ ต้นตอของปัญหาที่ก่อให้การกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทย เครือข่ายภาคประชาชนและนักวิชาการที่ได้ติดตามการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีความเห็นร่วมกันว่า เพื่อการฟื้นฟู แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทยอย่างยั่งยืน รัฐต้องเร่งดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

  1. เรียกร้องให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาทบทวนการนำเอาโครงการหรือกิจการประเภท กำแพงคลื่น กลับเข้าไปเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment – EIA) เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการกำแพงกันคลื่นต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนชายฝั่ง
  2. รัฐต้องผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการชั่วคราว ที่สามารถรื้อถอนได้เมื่อผ่านมรสุมไปแล้ว อย่างที่ปรากฏชัดเจนในหลายพื้นที่ชายหาดของประเทศไทยว่า การกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว การใช้มาตรการชั่วคราว ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน
  3. รัฐต้องส่งเสริม และผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาด เช่น การเติมทราย การกำหนดแนวถอยร่น การรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่จำเป็น เพื่อให้หาดทรายได้ฟื้นคืนสมดุลชายฝั่ง โดยที่มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชายฝั่ง
  4. เพื่อให้ประชาชนและชุมชนชายฝั่งสามารถกำหนดเจตจำนงตนเองในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายหาดอย่างสมดุลและยั่งยืน การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับชายหาด สิทธิชุมชน และการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ บำรุงรักษาทรัพยากรชายหาด จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องดำเนินการ ด้วยปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกพื้นที่ชายฝั่งล้วนมีประชาชน และชุมชนชายฝั่งที่อิงอาศัยใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  5. ต้องสร้างกลไกระดับจังหวัด และระดับนโยบายที่บูรณาการหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดนโยบายและกลั่นกรองโครงการต่างๆของภาครัฐ และให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการกำหนดนโยบายเพื่อการจัดการ บำรุงรักษา ตลอดจนใช้ประโยชน์ชายหาด เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ ฟื้นฟู และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

ทั้ง 5 ข้อเรียกร้องนี้ เป็นทางออกเพื่อการหยุดยั้งวิกฤตการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลพวงจากการดำเนินนโยบายของรัฐ เครือข่ายภาคประชาชน และนักวิชาการ จำนวน 63 องค์กร ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับร่วมกันหารือ และพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวโดยด่วน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน

เเถลงการณ์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563
ในงานเสวนา “ทางออกการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระดับนโยบาย”
ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ลงชื่อเครือข่ายประชาชน กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม และนักวิชาการ

  1. กลุ่ม Beach for life
  2. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
  3. กลุ่มสองล้อรักษ์ชายหาด จังหวัดสตูล
  4. เครือข่ายประชาชนรักษ์หาดม่วงงาม (Saveหาดม่วงงาม) จังหวัดสงขลา
  5. เครือข่ายเทใจให้เทพา
  6. กลุ่มเด็กรักหาดสวนกง
  7. กลุ่มเยาวชนรักษ์หาดบางเก่า จังหวัดปัตตานี
  8. กลุ่มเยาวชนรักษ์หาดตาโล๊ะกาโปร์ จังหวัดปัตตานี
  9. เครือข่ายพลเมืองสงขลาติดตามสภาพชายหาด
  10. เครือข่ายประชาชนรักษ์หาดมหาราช จังหวัดสงขลา
  11. สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ
  12. กลุ่มเยาวชนรักษ์หาดบางหลิง
  13. ห้องทดลองนักกิจกรรม( Act Lab)
  14. สงขลาฟอรั่ม
  15. ขบวนการอีสานใหม่
  16. กลุ่มนักกฎหมายอาสา Law Long Beach
  17. คณะก้าวหน้า จังหวัดสงขลา
  18. กรีนพีซ แห่งประเทศไทย
  19. เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
  20. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
  21. อาจารย์ธีรวัฒน์ ขวัญใจ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  22. มูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)
  23. เครือข่ายเขียนอนาคตประเทศไทย
  24. เครือข่ายพื้นที่นี้ดีจัง
  25. เครือข่าย SparkU ใต้ใช่เลย
  26. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา
  27. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคใต้
  28. เครือข่ายบัณฑิตปาตานี(Patani Graduate Network)
  29. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า
  30. วิศรุต เหล็มหมาด
  31. ณัฐธิดา สุขี
  32. ปพิชญา นวนแดง
  33. ชนัตตา บิลม่าหลี
  34. ณัฐกุล แสงเงิน
  35. สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  36. กลุ่ม EEC Watch
  37. สมาคมประมงพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี
  38. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดชลบุรี
  39. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดชลบุรี
  40. กลุ่มโกงกาง
  41. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
  42. กลุ่มพะยอมเก๋า ม.รังสิต
  43. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
  44. กลุ่มประชาธิปไตยไทบ้าน
  45. ภาคีนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  46. สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม
    48 กลุ่มสะพานดาว ม.เกษตรศรีราชา
  47. กลุ่มสิงห์ภูพานเสรี
  48. กลุ่ม Landers-แลนเด้อ
  49. ราษฎรใต้
  50. กลุ่มเด็กเปรต
  51. กลุ่ม Trang against dictatorship – TAD
  52. กลุ่มนิสิตเพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยทักษิณ
  53. กลุ่มกระบี่ไม่ทน
  54. กลุ่มปันรัก
  55. มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ
  56. อารยา สุขสม อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  57. ธัญภา ยิ้มบุญลือ นักศึกษา
  58. วัชรีภรณ์ เกริกไกรศรี
  59. นวพร สุขเกษม นักศึกษา
  60. เมธาวี เกิดชูชื่น
  61. นิจนิรันดร์ อวะภาค นักวิชาการอิสระ
  62. สหกรณ์ประมงพื้นบ้านชุมชนบาลาเซาะห์เก้าเเสน
  63. เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายเเดนใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ-permatamas

Published by Beach for life

บรรณาธิการกลุ่ม Beach for life

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s